วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม 2568
17 พ.ค. 2568 11:42 | 64 view
@juthamas
เมื่อนึกถึงประเทศฝรั่งเศส สถานที่ท่องเที่ยวอันดับแรกๆ ที่ต้องนึกถึง คือ หอไอเฟล (Eiffel Tower) ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส มีเอกลักษณ์เป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กที่มีความสูงกว่า 300 เมตร ตั้งตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำแซนกลางกรุงปารีส นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ต้องได้มาเยือนเมื่อมาเที่ยวฝรั่งเศส
หอไอเฟล ถูกสร้างขึ้นในปี 1887 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงาน World's Fair ที่จะจัดขึ้นในปี 1889 และเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการครบรอบ 100 ปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยโครงการของกุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel) ได้รับเลือกจากการจัดการแข่งขันออกแบบอนุสาวรีย์ขึ้นในปารีสเพื่อใช้เป็นทางเข้างาน World’s Fair จากโครงการทั้งหมด 107 โครงการ และถูกตั้งชื่อตามวิศวกรเจ้าของโครงการคือ Gustave Eiffel ในช่วงเวลานั้นการก่อสร้างหอไอเฟลยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก อีกทั้งยังมีการต่อต้านการก่อสร้าง เนื่องจากมีคำกล่าวอ้างว่าหอไอเฟลนั้นไร้ประโยชน์และน่าเกลียด ด้วยรูปร่างที่มีลักษณะแปลกตาเป็นโครงสร้างเหล็กสูงกว่า 300 เมตร แต่ในที่สุดก็ใช้เวลาเพียง 2 ปี หอคอยสูงตระหง่านแห่งนี้ก็แล้วเสร็จในปี 1889 ถือเป็นสัญลักษณ์ของการครบรอบการปฏิวัตและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศสจวบจนปัจจุบัน
ที่มา : https://www.businessinsider.com
ที่มา : https://www.toureiffel.paris
หากย้อนเวลาไป 100 ปี ฝรั่งเศสเป็นพื้นที่ที่มีการปะทุขึ้นของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อฝรั่งเศสและยุโรป เนื่องจากเป็นเหตุการณ์การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงล้มล้างการปกครองโดยกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีมาอย่างยาวนาน สาเหตุในการปฏิวัติมีหลากหลายสาเหตุทั้งจากปัญหาทางการคลังที่บานปลายมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งความพยายามในการแก้ไขปัญหาก็ยังไม่เป็นผล ประกอบกับการที่ฝรั่งเศสเข้าไปมีบทบาทในการปลดแอกอเมริกาและการต่อสู้กับอังกฤษในสงคราม 7 ปี ส่งผลให้สถานการณ์ทางการคลังทรุดลงไปอีก เมื่อสถานการณ์ในฝรั่งเศสไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น อีกทั้งการเพิกเฉยต่อประชาชนที่กำลังเผชิญกับปัญหาความยากลำบาก อาหารขาดแคลนจนทำให้เกิดความไม่พอใจจากการจัดการของทางรัฐบาลกลายเป็นชนวนที่ทำให้การปฏิวัติเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 เป็นเหตุการณ์การทลายคุกบาส์ตีญ ซึ่งใช้ขังนักโทษทางการเมือง ถือเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศสและต่อมากลายเป็น “วันชาติ” ในฐานะที่เป็นวันเปลี่ยนผ่านจากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่
ภายหลังการทลายคุกบาส์ตีญสถานการณ์การปฏิวัติยังคงดำเนินต่อไป ฝ่ายคณะปฏิวัติเริ่มโจมตีชนชั้นสูงและเกิดการลอบสังหารชนชั้นสูง ต่อมาสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งให้ยกเลิกระบบศักดินาและการเก็บภาษีและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ยินยอมลงนามยอมรับคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ.1789 (เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ) และรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1791 ต่อมาผู้นำของคณะปฏิวัติได้ลงมติให้ประหารกษัตริย์เพื่อเป็นการสิ้นสุดของสถาบันกษัตริย์ด้วยระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงถูกตัดสินโทษให้ประหารชีวิตในวันที่ 21 มกราคม 1793 และพระนางมารี อังตัวแนตต์ถูกตัดสินประหารชีวิตในวันที่ 16 ตุลาคม 1793
ที่มา : https://owlcation.com
โดยสรุปแล้ว การปฏิวัติฝรั่งเศสที่หลายคนเข้าใจว่าเกิดขึ้นและจบลงในปี 1789 แท้ที่จริงถูกซ่อนไปด้วยเรื่องราว สถานการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นภายในฝรั่งเศสด้วยความวาดหวังที่ว่าสถานการณ์ของประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนจะดีขึ้น แม้ในท้ายที่สุดภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ใช้เวลานานหลายปีจะมาพร้อมกับการเกิดขึ้นของยุคนองเลือดที่เต็มไปด้วยการก่อจลาจลและการสังหารประชาชนมากมายจากการปกครองของคณะปฏิวัติ แต่การปฏิวัติฝรั่งเศสก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำฝรั่งเศสไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในด้านๆ จนฝรั่งเศสกลายมาเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปเยือนไม่ขาดสาย การเกิดขึ้นของ “หอไอเฟล” นอกเหนือจะเป็นสิ่งที่ต้องนึกถึงเมื่อได้มาเยือนฝรั่งเศสแล้ว ยังถือเป็นสัญลักษณ์ในการระลึกถึงเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศสที่เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์โลก
ข่าว
17 พ.ค. 2568 16:19 15 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:22 78 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:19 46 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:15 61 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:13 54 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:33 66 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:29 70 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:17 82 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 12:28 71 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 12:08 77 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 11:53 101 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 11:48 65 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:58 89 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:50 74 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:12 106 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 09:59 95 views