วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2567
17 ต.ค. 2567 14:03 | 1446 view
@pracha
สนง.ควบคุมโรคอีสานใต้ห่วงช่วงปิดเทอมมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตแล้ว 33 ราย โคราชเป็นแชมป์จมแล้ว 13 ราย วอนผู้ปกครองดูแลบุตรหลานใกล้ชิด
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมเล็ก มีเด็กหลายคนหยุดอยู่บ้าน ไม่มีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเหมือนช่วงที่ไปโรงเรียน อาจชักชวนกันไปเล่นน้ำตามแหล่งน้ำ เช่น ลำคลอง ฝายกักเก็บน้ำ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด หรือจมน้ำเสียชีวิตได้ เตือนผู้ปกครองกำชับและดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด หวั่นตกน้ำ จมน้ำเสียชีวิต สำหรับเด็กเล็ก ให้ยึดหลัก “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” ส่วนเด็กโต ให้ยึดหลัก “ตะโกน โยน ยื่น” ป้องกันการตกน้ำและจมน้ำเสียชีวิต
นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กล่าวถึงช่วงปิดเทอมเล็กนี้ว่า ในช่วงนี้หลายโรงเรียนปิดภาคเรียนแล้ว สิ่งที่น่ากังวลคือ เมื่อเด็กนักเรียนหยุดอยู่บ้าน อาจไม่มีผู้ดูแลเหมือนกับช่วงที่ไปโรงเรียน อาจชักชวนกันไปเล่นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติแล้วเกิดพลัดตก ลื่น หรือจมน้ำเสียชีวิตได้ ฝากเตือนผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก ควรกำชับบุตรหลาน และไม่ปล่อยให้เด็กเข้าถึงแหล่งน้ำตามลำพัง เพราะหากคลาดสายตาเพียงเสี้ยววินาที เด็กอาจจมน้ำเสียชีวิตได้
สำหรับสถานการณ์การจมน้ำเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่ต้นปี คือ 1 มกราคม-30 กันยายน 2567 มีจำนวน 33 ราย จังหวัดที่พบการเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุดคือ จ.นครราชสีมา มีผู้เสียชีวิต จำนวน 13 ราย รองลงมาคือ จ.สุรินทร์ มีผู้เสียชีวิต จำนวน 9 ราย จ.บุรีรัมย์ มีผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย และ จ.ชัยภูมิ มีผู้เสียชีวิต จำนวน 4 ราย ตามลำดับ แหล่งน้ำที่พบมากที่สุดคือ สระน้ำ รองลงมาคือ คลอง และห้วย และพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่จมน้ำเสียชีวิต ไม่เคยผ่านการเรียนทักษะการเอาชีวิตรอดทางน้ำ มากถึงร้อยละ 66.66 และแหล่งน้ำไม่พบอุปกรณ์ที่ไว้ช่วยเหลือคนตกน้ำ มากถึงร้อยละ 86.92 ดังนั้น ทุกคนในชุมชนควรช่วยกันสอดส่องดูแลพื้นที่เสี่ยงร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่โดยจัดหาอุปกรณ์ป้องกันเพื่อไม่ให้บุตรหลานตกน้ำจมน้ำเสียชีวิต
นายแพทย์ทวีชัยกล่าวต่อไปว่า แนวทางการป้องกันการจมน้ำสำหรับเด็กเล็ก และกลุ่มเด็กโต มีดังนี้ สำหรับเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี เราเน้นใช้มาตรการ “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” ดังนี้ 1.อย่าเข้าใกล้ แหล่งน้ำ เพราะอาจลื่นพลัดตกลงไปในน้ำ 2.อย่าเก็บ สิ่งของที่ตกลงไปในน้ำด้วยตนเอง ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยเก็บ 3.อย่าก้ม หรือชะโงกลงไปในแหล่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังน้ำ เพราะอาจหัวทิ่มลงไปใน น้ำได้
ส่วนกลุ่มเด็กโต เน้นห้ามไปเล่นน้ำกันเองตามลำพัง หากพบเห็นคนตกน้ำ ไม่ควรกระโดดลงไปช่วยเพราะอาจจะถูกกอดรัดจากผู้ประสบภัย และอาจจมน้ำ และเสียชีวิตไปพร้อมกัน ควรใช้มาตรการ “ตะโกน โยน ยื่น” ดังนี้ 1.ตะโกน : คือ เรียกให้คนมาช่วย ขอความช่วยเหลือ และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669 หรือ รพ.ใกล้เคียง 2.โยน : คือ การโยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่าปิดฝา ขวดน้ำพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ 3.ยื่น : คือการยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ไม้ เชือก เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ
หากช่วยคนตกน้ำขึ้นมาจากน้ำแล้ว ต้องรีบแจ้งสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669 โดยเร็วที่สุด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร 1422...
ข่าว
28 พ.ย. 2567 15:24 31 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 15:23 23 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 14:44 49 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 14:39 45 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 14:01 34 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 13:55 38 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 13:48 34 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 13:04 39 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 13:02 36 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 12:55 42 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 12:15 93 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 12:13 91 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 12:11 42 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 12:08 57 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 11:54 54 views
ข่าว
28 พ.ย. 2567 11:41 61 views