วันอังคารที่ 22 เมษายน 2568
28 ธ.ค. 2567 09:28 | 1337 view
@supakitt
สบส. ออกโรงกำชับโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมรับมือผู้ป่วยฉุกเฉินช่วง 10 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่ 27 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค. 68 ย้ำชัดห้ามปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามนโยบาย UCEP และห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงแรก หากฝ่าฝืนเจอโทษตามกฎหมาย
นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยว่า จากมติของรัฐบาลที่ขยายวันเฝ้าระวังความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 เพิ่มเป็น 10 วัน คือตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นช่วงที่มีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยของผู้ที่มีโรคประจำตัวเพิ่มสูงขึ้น
เพื่อเป็นการรองรับสถานการณ์ดังกล่าว สบส. จึงได้สั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่จากกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และกองกฎหมาย ลงพื้นที่ตรวจสอบและกำชับไปยังสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ ให้เตรียมความพร้อมรับมือผู้ป่วยในช่วง 10 วันอันตราย และปฏิบัติตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (UCEP) อย่างเคร่งครัด โดยต้องไม่ปฏิเสธการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในทุกกรณี และให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยเป็นอันดับแรก หากพบว่าสถานพยาบาลเอกชนแห่งใดปฏิเสธการรักษา หรือเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ป่วยหรือญาติภายใน 72 ชั่วโมงแรก จะดำเนินการตามกฎหมายทันที
ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดี สบส. กล่าวเสริมว่า สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งต้องใช้ระบบบันทึกและประเมินผู้ป่วย UCEP ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) หากผู้ป่วยเข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) จะต้องให้การรักษาพยาบาลอย่างเต็มความสามารถ โดยห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงแรก แต่หากผู้ป่วยไม่ได้มีอาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) จะต้องมีการสื่อสารสอบถามสิทธิในการรักษาพยาบาลกับผู้ป่วยหรือญาติเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด ทั้งนี้ หากพบปัญหาในการวินิจฉัยคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถปรึกษาขอคำวินิจฉัยจากศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของ สพฉ. ผ่านสายด่วน 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับประชาชน หากพบสถานพยาบาลใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย สามารถแจ้งได้ที่ สบส. โทร. 02-193-7000 หรือหากอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ ในวันและเวลาราชการ
สิทธิ UCEP คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดย 6 อาการที่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤต ได้แก่ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ, หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง, ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น, เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง, แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด และอาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
ข่าว
22 เม.ย. 2568 09:34 8 views
ข่าว
22 เม.ย. 2568 09:29 17 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:46 170 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:40 94 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:37 60 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:35 162 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:21 112 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:20 116 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:13 71 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:05 60 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 15:26 211 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 14:59 117 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 14:08 51 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 13:53 199 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 13:36 50 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 13:34 122 views