วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567
4 พ.ย. 2567 15:38 | 917 view
@pracha
“ขุนคลัง” ยันจีดีพีปีนี้โต 2.7% แจ่มแล้ว หลังอ่วมพิษน้ำท่วม-งบอืด ยันรัฐบาลเร่งพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น พร้อมเข็นลงทุนรัฐปูพรมระยะกลาง-ยาว เตรียมถกสรุปแก้หนี้ครัวเรือน รับแบงก์จ่อชงลดเงินนำส่ง FIDF ชูเอาประโยชน์ประเทศเป็นที่ตั้ง หากได้ข้อสรุปพร้อมชง ครม. พิจารณาทันที แนะไทยเร่งปรับตัว ไม่ว่า ทรัมป์หรือแฮร์ริส มงลงนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ
4 พ.ย. 2567 – นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง กล่าวว่า แนวโน้มตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 2.7% นั้น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว เป็นการเติบโตกว่าปีที่ผ่านมาถึง 30% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด และงบประมาณปี 2567 ที่ออกมาล่าช้า ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาจจะเน้นไปที่มาตรการกระตุ้นในระยะสั้นเป็นหลัก เพื่อให้คนที่มีปัญหายังสามารถอยู่รอดได้ ส่วนมาตรการระยะปานกลาง และระยะยาวนั้น ก็ต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วย เพื่อรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว
ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรการระยะปานกลาง และระยะยาวนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องการเร่งลงทุนของภาครัฐเพื่อรองรับการลงทุนใหม่ของภาคเอกชน เช่น โครงการลงทุนด้านโลจิสติกส์ และมาตรการที่จะทำให้ต้นทุนของภาคเอกชนอยู่ในขีดความสามารถที่จะแข่งขันได้ ตรงนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ได้เร่งดำเนินการแล้ว ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้วตามการแถลงนโยบาย ก็ต้องมาติดตาม ประเมินดูว่าตอนนี้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ก็ต้องมาพิจารณาตามสถานการณ์ให้ชัดเจจนว่า จะต้องใส่อะไรเพิ่มเติม หรือต้องปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่
“การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องมานั่งถามกันทุกอาทิตย์ รัฐบาลมีหน้าที่ดูว่าตอนนี้แต่ละส่วนเดินไปถึงไหนแล้ว ส่วนสิ่งที่เราจะต้องกระตุ้น ในความหมายคือ ที่ผ่านมาตรงส่วนไหนอ่อนแอไปหน่อยก็จำเป็นต้องเข้าไปกระตุ้น ทำอะไรที่มันรวดเร็ว เพื่อให้คนที่อยู่สามารถฟื้นและแข็งแรงในการรองรับการเติบโตในระยะปานกลางและระยะยาวต่อไป ดังนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลจะทำต่อจากนี้ จะต้องมาคุยกันว่ามาตรการระยะสั้นมีอะไร เราต้องดูสถานการณ์เศรษฐกิจด้วยว่าช่วงนี้เป็นอย่างไร แล้วค่อยมาพิจารณาปรับเปลี่ยนตามรูปแบบและสถานการณ์ โดยมาตรการระยะสั้นนั้น รัฐบาลมีความพร้อมแล้ว บางเรื่องก็สามารถทำได้ทันที” นายพิชัย กล่าว
ส่วนมาตรการแก้ไขหนี้ครัวเรือนที่ได้มีการหารือกับสมาคมธนาคารไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น จะต้องมีการหารือเพื่อหาข้อสรุปสุดท้ายอีกครั้ง โดยยอมรับว่าสถาบันการเงินอาจจะมีข้อเสนอให้มีการลดเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) จากปัจจุบันที่ 0.46% ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องมาคุยกันอีกที ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลังมองว่า ตราบใดที่สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ ก็พร้อมที่จะพิจารณา
“ผมรอเขามาสรุป ค่อยมาขันน็อต ขันสกรูกันอีกที โดยเรื่องที่แบงก์มีข้อเสนอให้ลดเงินนำส่ง FIDF นั้น ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในทางเลือกด้วย ซึ่งจะต้องมาตกลงกันบนโต๊ะ เอามาคุยกัน ผมจัดการได้ ถ้าเราเห็นด้วย เมื่อสรุปแล้วก็เอาเรื่องนี้ไปเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผมมองว่าตราบใดที่สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ เราก็โอเคอยู่แล้ว้ ส่วนจะมีการหารืออีกเมื่อไหร่ คงต้องรอข้อสรุปจากทุกส่วนก่อน ซึ่งผมไม่จำเป็นต้องนั่งโต๊ะประชุมด้วย ผมถามได้จากทุกฝ่าย และเรื่องนี้ต้องเร่งทำให้จบโดยเร็วที่สุด” รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง ระบุ
สำหรับประเด็นเรื่องการเรื่องตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น นายพิชัย กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นนายโดนัลด์ ทรัมป์ หรือนางกมลา แฮรร์ริส เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ก็มีปัญหาทั้งนั้น เพราะนโยบายของทั้งคู่จะยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศตัวเองมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาสหรัฐมีบทบาทแบบ One Man Show แต่ปัจจุบันมีขั้วอื่น ๆ มา ดังนั้นหลังจากนี้สหรัฐจะต้องมีการปรับแนวนโยบายในการบริหารประเทศ ทำให้มองว่าไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ก็มีปัญหาทั้งหมด แต่ความหนัก และความแรงอาจจะไม่เท่ากัน
ทั้งนี้ ท่ามกลางความรุนแรงของปัญหาสงครามการค้า (เทรดวอร์) ที่อาจจะรุนแรงมากขึ้น ภายหลังผลการเลือกตั้งนั้น ประเทศไทยจะต้องพิจารณาภาพรวมและปรับตัวให้ดี ซึ่งหากปรับตัวได้ดีก็อาจจะได้รับผลประโยชน์ไปด้วย ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าทำได้ค่อนข้างดี สะท้อนจากตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้ประเทศไทยจะต้องพิจารณาใน 2 เรื่องสำคัญ คือ 1. ต้องพัฒนาและสนับสนุนให้เป็นนการผลิตโดยคนท้องถิ่น (Local Content) ซึ่งตรงนี้เป็นแนวทางที่ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับปรุงตัวเอง และ 2. โครงสร้างความเป็นเจ้าของการผลิตจะต้องเป็นของคนไทยด้วย ไม่ใช่แค่การนำเข้ามาประกอบใปนระเทศไทยเท่านั้น
ส่วนกรณีที่มีการประเมินว่าสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนจากการค้าอาจจะรุนแรงมากขึ้นนั้น มองว่า ปัจจุบันเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเริ่มทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตอนนี้ที่การส่งออกมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป หลายประเทศที่เคยใช้เรื่องอัตราเงินเฟ้อเป็นแกนหลักก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เพียงแต่จะดำเนินการแบบเปิดเผยหรือไม่ แต่หลักการคือจะต้องไม่เข้าไปแทรกแซงจนเกิดความผิดปกติ
“ไม่อยากให้มองเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนแค่ระยะสั้น ๆ แค่ 3-6 เดือน หรือ 1 ปี แต่อยากให้มองย้อนหลังแล้วก็มองไปข้างหน้าว่าเราจะไม่เสียเปรียบใช่หรือไม่ ถ้ามองสั้น ๆ บางช่วงเราอาจจะแข็งค่ากว่าคู่แข่ง และบางช่วงก็อาจจะอ่อนค่ากว่า การสู้แบบนี้ไม่ได้ อยากให้มองยาวขึ้นหน่อย เพราะจริง ๆ เรื่องเงินบาทจะแข็งหรืออ่อนค่า มี 2 ประเด็นสำคัญ คือ ถ้าอ่อนค่าก็ต้องไม่น้อยกว่าคู่แข่งเพราะเป็นประเทศส่งออกเหมือนกัน และ 2. ไม่ใช่แค่ค่าเงินบาทที่มีผลต่อดอลล่าร์ แต่เป็นเหมือนกันทุกประเทศ ดังนั้นเวลาค่าเงินต่างกันก็มีโอกาสที่จะเห็นเงินลงุทนไหลกลับประเทศเขา หรืออาจจะมาที่ประเทศเรา แต่วันนี้ไทยมีทั้งสภาพคล่อง มีทุนสำรองเพียงพอที่จะดูแลเรื่องเหล่านี้ได้ ดังนั้นคิดว่าปัญหาพวกนี้คงไม่เยอะ แต่ส่วนที่อยากเห็น คือ ความสามารถในการส่งออกมากกว่า” นายพิชัย ระบุ
ข่าว
25 พ.ย. 2567 15:35 142 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 14:58 87 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 14:45 97 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 14:26 121 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 14:21 76 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 14:04 118 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 14:01 138 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 13:55 119 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 13:42 71 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 13:28 133 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 13:22 142 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 12:03 122 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 11:58 206 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 11:46 162 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 11:10 150 views
ข่าว
25 พ.ย. 2567 10:46 213 views