×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม 2568

?>

‘เกาหลีใต้’รับผู้ลี้ภัยจาก‘เมียนมา’ แก้ปัญหาเมืองร้าง-ประชากรลด

 16 มี.ค. 2568 11:34 | 2193 view

 @[email protected]

Facebook X Share

16 มี.ค. 2568 นสพ.The Korea Times ของเกาหลีใต้ รายงานข่าว County seeks to host Myanmar refugees amid population cliff ระบุว่า ทางการเกาหลีใต้ โดยกระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลกลาง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  คือเทศมณฑลยองยัง จังหวัดคย็องซังเหนือ หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2568 ว่าจะเริ่มโครงการรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมาจำนวน 40 คน ให้มาอยู่อาศัยในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าว

เทศมณฑลยองยัง ซึ่งเป็นเขตที่เงียบสงบ มีประชากรเพียง 15,000 คน กำลังหาทางรองรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมาท่ามกลางวิกฤติประชากร เนื่องจากผู้อยู่อาศัยมีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกที่อาจได้เริ่มตั้งรกรากในพื้นที่ดังกล่าวในช่วงปลายปี 2568 คือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจำนวน 10 ครัวเรือน ทั้งนี้ หากย้อนไปในทศวรรษ 1970 (ปี 2513 – 2522) เทศมณฑลแห่งนี้เคยมีประชากรมากถึง 70,000 คน แต่ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งใน 20 ปี และลดลงเหลือ 15,271 คนในเดือน ก.พ. 2568 ซึ่งทางกากังวลว่าอาจลดลงไปอยู่ที่ต่ำกว่า 15,000 คนภายในสิ้นปี 2568

“ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทางการได้ดำเนินมาตรการเพื่อพลิกกลับแนวโน้มดังกล่าว โดยขยายเงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับเด็กที่เกิดในเทศมณฑล รวมถึงแรงจูงใจอื่นๆ แม้จะเป็นเช่นนั้น จำนวนผู้อยู่อาศัยที่เสียชีวิตในแต่ละปีนั้นมากกว่าจำนวนเด็กที่เกิดในเทศมณฑลมาก ซึ่งทางการระบุว่ามีทารกเกิดในเทศมณฑลเฉลี่ยเพียง 25 คนต่อปี” รายงานของ The Korea Times ระบุ

นสพ.South China Morning Post ของฮ่องกง รายงานข่าว South Korean county invites Myanmar refugees to revive dwindling population ระบุว่า เจ้าหน้าที่ของเทศมณฑลยองยัง จ.คย็องซังเหนือ ได้ให้ข้อมูลกับสื่อในเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2568 ว่า เทศมณฑลกำลังพยายามดึงดูดผู้ลี้ภัยจากเมียนมากลุ่มแรกประมาณ 10 ครัวเรือน หรือ 40 คน รายภายใต้โครงการคุ้มครองของสหประชาชาติ ให้เข้ามาอยู่ในชุมชนโดยเร็วที่สุดในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 เพราะไม่ต้องการให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นเมืองร้างไร้ผู้คน

เทศมณฑลยองยัง อยู่ห่างจากกรุงโซลประมาณ 230 กิโลเมตร หากไม่นับพื้นที่เกาะต่างๆ เทศมณฑลแห่งนี้จะมีประชากรน้อยที่สุดในกาหลีใต้ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เจ้าหน้าที่ของเขตกำลังทำงานร่วมกับกระทรวงยุติธรรมในการวางแผนรับสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงซึ่งต้องอพยพออกจากเมียนมา ประเทศที่มีสงครามกลางเมืองยาวนานหลายทศวรรษระหว่างกองทัพรัฐบาลเมียนมาและกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการเรียกร้องเอกราช

ชาวเมียนมาเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการมากที่สุดในเกาหลีใต้ โดยข้อมูลจากกระทรวงยุติธรรมระบุว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา มีผู้ได้รับสถานะผู้ลี้ภัย 474 คน ขณะที่ในเดือน ม.ค. 2549 ประชากรของเทศมณฑลยองยังมีอยู่ประมาณ 20,000 คน แต่ล่าสุด ณ เดือน ก.พ. 2568 ลดลงเหลือ 15,271 คน และคาดว่าจะลดลงต่ำกว่า 15,000 คนในช่วงปลายปี 2568 ปี

สถานการณ์ประชากรลดต่ำลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในเทศมณฑลยองยัง แต่ขยายวงกว้างในภาพรวมของเกาหลีใต้ทั้งประเทศ โดยอัตราการเจริญพันธุ์ ซึ่งก็คือจำนวนบุตรโดยเฉลี่ยที่คาดว่าผู้หญิงคนหนึ่งจะมี แม้จะเพิ่มขึ้นจาก 0.72 ในปี 2566 เป็น 0.75 ในปี 2567 แต่ก็ยังต่ำกว่าตัวเลข 2.1 ที่ถือว่าจำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพของประชากรโดยทั่วไป โดยเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2568 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้เผยแพร่รายงานที่ระบุว่า ประชากรของเกาหลีใต้ซึ่งมีจำนวน 51.7 ล้านคน จะลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเหลือประมาณ 27.5 ล้านคนภายในปี 2628

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารของเทศมณฑลยองยัง พยายามแก้ไขปัญหาการลดลงของประชากร รวมถึงสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ขึ้นทะเบียนครอบครัวและญาติของพวกเขาเป็นผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ รัฐบาลยังเสนอเงินช่วยเหลือสูงถึง 100 ล้านวอน (68,800 เหรียญสหรัฐ หรือราว 2.3 ล้านบาท) สำหรับเด็กแรกเกิดแต่ละคน แต่กลับมีทารกเกิดใหม่เพียงประมาณ 25 คนในเขตนี้ในแต่ละปี ในขณะที่มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 คน เมื่อเทียบกับ 2 ทศวรรษก่อน ซึ่งมีทารกเกิดใหม่ประมาณ 100 คนและผู้เสียชีวิต 200 คนต่อปี

ทางการของเทศมณฑลยองยัง กำลังพิจารณาทางเลือกในการจัดที่อยู่อาศัยให้กับผู้ลี้ภัย เช่น การเปลี่ยนโรงเรียนที่เลิกจัดการเรียนการสอนไปแล้วเป็นที่อยู่อาศัย ขณะที่ข้อมูลจากสถาบันวิจัยนโยบายการก่อสร้างแห่งเกาหลีใต้ ซึ่งอิงตามการสำรวจสำมะโนที่อยู่อาศัยล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ แสดงให้เห็นว่า มีจำนวนบ้านร้างในประเทศ ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 1.53 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากปี 2565 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44 จากปี 2558

สำนักข่าว Radio Free Asia (RFA) ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติตั้งขึ้นเพื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกรัฐบาลประเทศต่างๆ ในเอเชียปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเข้าถึง รายงานข่าว South Korean county to accept Myanmar refugees amid population decline ระบุว่า เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำที่สุดโลก และคาดว่าจากจำนวนประชากร 51 ล้านคนในปัจจุบัน จะลดลงครึ่งหนึ่งภายในสิ้นศตวรรษนี้

เพื่อให้มีประชากรในปริมาณที่เหมาะสม เทศมณฑลยองยัง กำลังทำงานร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ในแผนรับผู้ลี้ภัยกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 6.5 ของประชากรเมียนมาทั้งประเทศ ซึ่งหลายทศวรรษที่ผ่านมา การสู้รบระหว่างกองกำลังติดอาวุธของชาวกะหรี่ยงกับกองทัพรัฐบาลเมียนมา ทำให้ชาวกะเหรี่ยงประมาณ 100,000 คน ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นมานานหลายปี โดยอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนของประเทศไทยซึ่งอยู่ติดกับเมียนมา

กระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้ ระบุว่า ชาวเมียนมาเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการมากที่สุดในเกาหลีใต้ โดยมีผู้ได้รับสถานะผู้ลี้ภัย 474 คนในปี 2567นอกจากนั้นยังมีชาวเมียนมาอีก 55 คน ที่แม้จะไม่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการ แต่ก็ได้รับอนุญาตให้พำนักตามหลักมนุษยธรรม เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงหากถูกส่งตัวกลับประเทศบ้านเกิด

สำหรับคำร้องขอสถานะผู้ลี้ภัย 122,095 รายการที่ยื่นในเกาหลีใต้โดยชาวต่างชาติจากทุกประเทศ มีการดำเนินการไปแล้ว 94,391 รายการ ในขณะที่อีก 27,704 รายการยังอยู่ระหว่างดำเนินการ เหตุผลที่พบบ่อยที่สุดในการขอสถานะผู้ลี้ภัย ได้แก่ การข่มเหงทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเฉพาะ อย่างไรก็ตาม คำร้องขอสถานะผู้ลี้ภัยร้อยละ 42 ถูกยกเลิก เนื่องจากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย รวมถึงเป็นกรณีที่เกิดจากปัญหาความยากลำบากทางเศรษฐกิจหรือภัยคุกคามจากภาคเอกชน

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

ชัชชาติ คาด 4 วันเคลียร์ซากอาคาร สตง. เสร็จ ลุยค้นหาผู้สูญหายเต็มที่

5 พ.ค. 2568 13:29 1 views

ข่าว

ลุ้น! นายกฯนั่งหัวโต๊ะประชุม กพช. เคาะกรอบค่าไฟใหม่

5 พ.ค. 2568 13:22 14 views

ข่าว

ไข่เป็ดขึ้นราคา! ปรับขึ้นแผงละ 6 บาท กระทบต้นทุนครัวเรือน

5 พ.ค. 2568 13:18 15 views

ข่าว

รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันฉัตรมงคล

5 พ.ค. 2568 13:03 36 views

ข่าว

อนุสรณ์ สวน พิธา! แฉคำประกาศ 9 ปีเป็นนายกฯ ฟังเหมือนแช่แข็งประเทศรอคนเดียว

5 พ.ค. 2568 12:09 49 views

ข่าว

โดนถล่มยับ! 'โดนัลด์ ทรัมป์'โพสต์ภาพ AI เป็นพระสันตะปาปา

5 พ.ค. 2568 10:55 65 views

ข่าว

คัดกรองมะเร็งทั่วไทย ใช้สิทธิบัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่าย

5 พ.ค. 2568 10:48 80 views

ข่าว

"ภาพอบอุ่นหัวใจ! ‘กษัตริย์จิกมี’ พร้อมพระราชินี และพระโอรส-พระธิดา ทรงเสด็จยามค่ำคืนกลางทะเลทรายโกบี

5 พ.ค. 2568 10:44 75 views

ข่าว

ด่วน! ฐานทหารลาวติดชายแดนไทยถูกโจมตี กระสุนทะลุหลังคาบ้านฝั่งไทยที่เวียงแก่น

5 พ.ค. 2568 10:38 267 views

ข่าว

มนพร เร่งเครื่องแหลมฉบังเฟส 3 เดินหน้าตามแผน ดันศักยภาพโลจิสติกส์ EEC

5 พ.ค. 2568 10:28 68 views

ข่าว

บราซิลรวบ 2 ผู้ต้องสงสัย วางแผนบึ้มคอนเสิร์ตเลดี้ กาก้า

5 พ.ค. 2568 10:22 73 views

ข่าว

จุฬาฯ วิจัย"ปะการังสู้โลกร้อน" ทางรอดนิเวศใต้ทะเล

5 พ.ค. 2568 10:05 67 views

ข่าว

กห.แจงข้อเท็จจริง “ตาเมือนธม” ปรับกำลังตามข้อตกลงชายแดน

4 พ.ค. 2568 21:38 254 views

ข่าว

“ภูมิธรรม” ยันไม่เสียดินแดน! ปมข่าวลือถอยทหารชายแดน

4 พ.ค. 2568 21:35 193 views

ข่าว

ผบ.ทบ. กำชับคุมเข้มพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา  สกัดภัยข้ามชาติ

4 พ.ค. 2568 19:51 173 views

ข่าว

‘อนุทิน’ เป็นปลื้ม! ถ่ายภาพร่วมเฟรม ‘ลุงตู่-ภริยา’ เข้ากราบถวายบังคมพระบรมรูป ‘สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช’ เนื่องในวันฉัตรมงคล 2568

4 พ.ค. 2568 16:11 228 views