วันพุธที่ 2 เมษายน 2568
12 มี.ค. 2568 12:02 | 1753 view
@nipon supapoom
ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นแตะ 93.4 รับอานิสงส์ กนง. ลดดอกเบี้ย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 91.6 ในเดือนมกราคม 2568 โดยได้รับแรงสนับสนุนจาก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลง 0.25% สู่ระดับ 2.00% ซึ่งช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับภาคธุรกิจ เพิ่มสภาพคล่อง และกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนในประเทศ
นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังส่งผลบวกต่อภาคอุตสาหกรรม อาทิ การขยายมาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแล้วกว่า 746,912 บัญชี รวมถึงมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 และโครงการเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน อีกทั้ง การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
ในส่วนของภาคการท่องเที่ยว มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์ 2568 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศมากกว่า 6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10.29% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับอานิสงส์ ขณะที่การค้าชายแดนยังคงเติบโต โดยในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่าการค้าชายแดนรวม 145,000 ล้านบาท ขยายตัว 2.7%
อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโต ได้แก่ การส่งออกรถยนต์ที่ลดลง เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงจากรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกจากจีน และการเปลี่ยนรุ่นของรถยนต์บางประเภท โดยในเดือนมกราคม 2568 ยอดส่งออกรถยนต์ลดลงต่ำสุดในรอบ 33 เดือน , ภาวะอากาศแปรปรวน ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่น น้ำมันปาล์มและยางพารา ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบและห่วงโซ่อุปทานเปลี่ยนแปลง , ราคาน้ำมันโลกที่ผันผวน จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น , มาตรการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สินค้าจากจีนทะลักเข้าสู่ตลาดไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้น
สำหรับแนวโน้มในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีคาดการณ์อยู่ที่ 97.6 ปรับตัวขึ้นจาก 96.2 ในเดือนมกราคม 2568 โดยคาดว่าปัจจัยสนับสนุนหลักจะมาจาก โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาท เฟส 3 ที่จะเพิ่มการใช้จ่ายในไตรมาสที่สอง , กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น Thailand Summer Festivals และเทศกาลสงกรานต์ 5 ภูมิภาค ที่จะช่วยกระตุ้นการเดินทางและเศรษฐกิจภายในประเทศ
ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้เสนอแนะมาตรการเพิ่มเติมต่อภาครัฐเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรม ได้แก่เร่งกำหนดยุทธศาสตร์รองรับมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ พร้อมเจรจาต่อรองเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทางการค้า , ออกมาตรการสนับสนุนสินเชื่อรถกระบะเชิงพาณิชย์ ผ่านกลไกของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมยานยนต์และรักษาระดับการจ้างงาน , พัฒนาระบบโลจิสติกส์และขนส่งสินค้า โดยเฉพาะการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ทางรางที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการส่งออก
แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะได้รับแรงหนุนจากมาตรการภาครัฐและการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว แต่ภาคอุตสาหกรรมยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยภายนอกและการแข่งขันจากตลาดโลก ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:20 190 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:16 151 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:13 156 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:32 178 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:23 235 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:23 146 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:05 149 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:51 283 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:34 169 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:31 158 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:18 119 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:17 152 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:54 175 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:34 179 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:19 227 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:01 183 views