วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
8 มิ.ย. 2566 09:11 | 3816 view
@kan
ฝนเทลงมาแล้ว เตรียมพร้อมรับมือกับ '5 โรคที่มาพร้อมฤดูฝน'
เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นเพิ่ม ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น โดยโรคที่พบบ่อยส่วนมากในช่วงฤดูฝน มีหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ กลุ่มโรคติดเชื้อทางบาดแผลและเยื่อบุผิวหนัง รวมถึงโรคมือเท้าปาก ที่มักพบบ่อยในเด็ก มาทำความรู้จักกับโรคเหล่านี้ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลจากโรคดังกล่าว
กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ
โรคไข้หวัด หรือไข้หวัดทั่วไป พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อกว่า 200 ชนิด อาการสามารถหายได้เองใน 3 – 4 วัน หากผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) จะแสดงอาการ ไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีกล้ามเนื้ออักเสบ และอาการทางระบบหายใจตั้งเเต่ น้ำมูก ไอมาก หรือ หากรุนเเรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ เสียชีวิต
โรคปอดอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ที่พบโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumonia หรือเชื้อนิวโมคอคคัส โดยโรคปอดอักเสบนี้จะมักเป็นอาการต่อเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่
กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำดื่มและอาหาร
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากการที่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การไม่ล้างมือให้สะอาด ใช้มือหยิบจับของที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำเข้าปาก ส่งผลให้เกิดภาวะถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งติดต่อกัน หรือมากกว่าใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก และอาจมีอาเจียนร่วมด้วย
โรคบิด เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย หรืออะมีบา ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการรับประทานอาหาร ผักดิบ รวมถึงน้ำที่มีการปนเปื้อน โดยผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อย หรือมีมูกเลือดปน และมักมีไข้ด้วย
โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ และอาจมีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย
โรคตับอักเสบ เป็นภาวะที่ตับมีอาการอักเสบ และติดเชื้อ โดยอาการตับอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อยมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส และยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาบางอย่าง เป็นต้น
กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่ระบาดหนักมากในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้
โรคชิคุนกุนยา – โรคไข้ปวดข้อยุงลาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็กเล็ก โรคนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีอาการช็อก
โรคไข้มาลาเรีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไข้ป่า” มียุงก้นปล่องเป็นหาพะโดยมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่แถวๆ บริเวณเขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยอาการโรคมาลาเรียผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการภายใน 10 – 28 วัน หลังจากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการแม้จะติดเชื้อหลายเดือนแล้วก็ตาม
โรคไข้สมองอักเสบเจอี เกิดจากเชื้อไวรัสเจอีที่สมอง มี “ยุงรำคาญ” เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้มักแพร่พันธุ์ในนาข้าว พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังได้รับเชื่อ 5-15 วัน โดยระยะแรกจะมีไข้สูง อาเจียน เวียนศีรษะ และอ่อนเพลีย ในช่วงที่อาการรุนแรง เป็นช่วงที่อาจเสียชีวิตได้ จะมีอาการทางสมอง เช่น คอแข็ง สติลดลง เพ้อคลั่ง ชักหมดสติ และเป็นอัมพาตในที่สุด
โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุนแรงในคนปกติ แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่ส่งผลให้ทารกมีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด ทำให้ทารกมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ ส่วนในรายที่ติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผล และเยื่อบุผิวหนัง
โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรสิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีหนูหรือสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะหลัก เชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะที่ปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดินที่เปียกชื้น เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผล รอยขีดข่วน และเยื่อบุของปาก ตา จมูก
โรคตาแดง – โรคเยื่อบุตาอักเสบ ส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัส หรืออาจเกิดจากการเด็กมีโรคประจำตัวอื่นอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ ทำให้มีอาการคันตา ขยี้ตาบ่อยๆ จนเกิดอาการตาอักเสบ
โรคมือ เท้า ปาก
เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนและสามารถพบโรคมือ เท้า ปากในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่อาการมักจะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก เป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร ส่งผลให้มีอาการเป็นไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ถือได้ว่าเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก www.sikarin.com
ข่าว
9 ต.ค. 2567 16:11 189 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 16:07 139 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 16:06 166 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 16:01 157 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 15:49 116 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 15:24 157 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 15:12 120 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 13:58 158 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 13:55 166 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 13:51 143 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 13:49 147 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 13:45 261 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 13:42 139 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 13:37 142 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 13:32 152 views
ข่าว
9 ต.ค. 2567 10:13 201 views