วันที่ 20 เมษายน 2568
6 มี.ค. 2568 13:56 | 963 view
@pracha
มติบอร์ดคดีพิเศษไม่รับคดีฮั้วเลือกสว. ฐานความผิด ‘อั้งยี่-ซ่องโจร’ ไว้เป็นคดีพิเศษ ตัดสินให้ DSI ดำเนินคดีเฉพาะฟอกเงินโดยไม่ต้องขอมติบอร์ด หลังประเมินมูลค่าทรัพย์สินเกี่ยวข้องน่าจะเกิน 300 ล้าน
6 มีนาคม 568 - ที่กระทรวงยุติธรรม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ครั้งที่ 3/2568 ซึ่งมีวาระสำคัญในการพิจารณาคดีฮั้วเลือก ส.ว. 67 ที่เกี่ยวข้องกับพฤติการณ์มิชอบตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และประมวลกฎหมายอาญา
พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในฐานะเลขานุการและกรรมการ กคพ. เสนอข้อมูลให้ที่ประชุมพิจารณาคดีในหลายฐานความผิด ได้แก่ ความผิดฐานอั้งยี่ (มาตรา 209) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ (มาตรา 116) การฮั้วเลือก ส.ว. (มาตรา 77 พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา) และการฟอกเงิน (พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542)
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมมีมติ 11 เสียงจาก 18 เสียง ไม่รับคดีอั้งยี่และความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงให้เป็นคดีพิเศษ โดยให้ DSI ดำเนินการเฉพาะความผิดฐานฟอกเงินเท่านั้น เนื่องจากเป็นความผิดที่อยู่ในบัญชีท้ายของ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ซึ่งอธิบดี DSI มีอำนาจดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องขอมติจาก กคพ.
ขณะที่กรรมการอีก 4 คนโหวตค้าน และ 3 คนงดออกเสียง ส่งผลให้ข้อเสนอของ DSI ที่ต้องการให้บอร์ดรับคดีอาญาอื่นตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ถูกตีตก เนื่องจากไม่ได้รับเสียงสนับสนุนถึง 15 เสียงตามเกณฑ์ 2 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด 22 คน
รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมประเมินว่ามูลค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานฟอกเงินน่าจะเกิน 300 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้คดีเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษโดยอัตโนมัติ ดังนั้น DSI จึงสามารถเดินหน้าสอบสวนในประเด็นฟอกเงินได้เลย โดยไม่ต้องนำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุม กคพ. อีก
ต่อมา นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) พร้อมพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการฯ ร่วมกันแถลงข่าว
โดยนายภูมิธรรม กล่าวว่า ประเด็นที่ 1 การประชุมในวันนี้ทางบอร์ดกคพ.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงเนื่องจากมีผู้มาร้องกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิดตามกฎหมายที่เข้าข่ายเป็นคดีพิเศษหรือไม่ โดยทางบอร์ดวันนี้ไม่ได้พิจารณาในกระบวนการเกี่ยวกับการเลือกสว.แต่อย่างใด แต่ทางบอร์ดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการร้องทุกข์มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีลักษณะเป็นคดีพิเศษตามกฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายกับการได้มาซึ่งสว. ที่ระบุว่าการใช้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้เลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครเป็นความผิดฐานฟอกเงินด้วย
"ทางบอร์ดขอย้ำว่าการพิจารณาคดีว่าเป็นคดีพิเศษครั้งนี้ผ่านการพิจารณาของบอร์ดที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหลากหลายที่ ไม่ได้มาจากการตัดสินใจโดยคนใดคนหนึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายทั้งหมด"
2. ไม่ได้เป็นการยุ่งเกี่ยวอำนาจและหน้าที่ของกกต. ซึ่งกกต.ก็ทำหน้าที่ของตัวเองในการดูแลการเลือกตั้ง กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับบุคคลที่กระทำความผิดตามกฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษเท่านั้น ดังนั้นเป็นการทำงานในลักษณะประสานงานร่วมกัน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายของตนเองที่แตกต่างกันจะมีเป้าหมายเดียวกัน ก็ต้องไม่ลืมว่าทางดีเอสไอได้รับการร้องทุกข์จากประชาชนผู้เสียหาย เพราะฉะนั้นนิ่งเฉยก็ไม่ได้เพราะจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งผลเสียจะเกิดกับประชาชน
3.การที่ทางดีเอสไอ ได้รับเรื่องนี้ไว้แต่ผู้กล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ ถึงจะต้องมีกระบวนการการสืบสวนสอบสวนตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจะต้องเป็นไปตามกระบวนการกฎหมายทั้งหมด โดยในที่ประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 18 คน มีผู้ลาประชุม 3 คน และอีก 1 คนได้เซ็นชื่อเข้าร่วมประชุมแต่ขอออกจากที่ประชุมก่อน ซึ่งมติชี้ขาดฐานคดีฟอกเงิน เป็นคดีพิเศษ ซึ่งมีลักษณะเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษตามมาตรา 21 (1) ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ซึ่งตามบอร์ด กคพ. จะโหวตตามเสียงข้างมาก โดยทั้ง 18 คน มีมติรับเป็นคดีพิเศษ 11 คน งดออกเสียง 3 คน และ ไม่เห็นด้วย 4 คน
ส่วนตามมาตรา 21(2) ตามเสียง 2 ใน 3 ในที่ประชุม ซึ่งไม่ได้เข้าเงื่อนไขดัวกล่าว ทั้งนี้หากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษพบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. 2561 มาตรา 77 วรรคหนึ่ง อันอยู่ในหน้าที่และอำนาจของกกต.ให้แจ้งต่อคณะกรรมการ กกต.ทราบ เพื่อพิจารณาตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
นายภูมิธรรม กล่าวอีกว่า ยืนยันว่าในการพิจารณาในเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของบุคคลหรือการเมือง เราพิจารณาตามข้อกฎหมายแท้ๆ เราทราบดีว่าแต่ละท่านก็ต้องกังวลใจ ถ้าเราทำอะไรไม่ถูกไม่ควรมันจะมีผล ซึ่งเป็นความในใจที่ไม่ได้เป็นปัญหาในการตัดสินใจของเรา แต่เราจะทำในสิ่งที่รอบคอบมากที่สุดในการพูดคุยกับทุกฝ่าย ผลออกมาอย่างไรก็อย่างนั้น และขณะนี้ก็เป็นเพียงแค่กระบวนการที่รับมาเพื่อจะสืบสวน สอบสวน ทั้งหมดก็อยู่ที่ศาลยุติธรรมจะต้องเป็นผู้ตัดสินในขั้นสุดท้ายเราไม่ได้เป็นผู้ชี้ขาดความผิด
ด้านพ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า หลังจากมีการรับเป็นคดีพิเศษ จะเชิญพนักงานอัยการร่วมสอบสวนด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และอำนวยความยุติธรรม และจะตั้งคณะทำงานสอบสวนเพื่อนำไปสู่การสอบสวน ทั้งนี้มีการประสานข้อมูลกับ กกต. อยู่แล้วเพราะที่ผ่านมาร่วมกันทำงานกันมาตลอด เพราะข้อหาฟอกเงินข้อผิดอาญาอื่นไม่จำเป็นต้องเชิญผู้แทน กกต.
ส่วน สว. มีการแสการแสดงความเห็นว่าได้มาโดยชอบและไม่ได้ไปทำผิดตามข้อกล่าวหา ซึ่งกระบวนการได้มาซึ่ง สว. มีการตรวจสอบอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้มีผู้มาร้องและกระทบต่อความมั่นคง ถ้าเราไปครอบงำก็จะส่งผลกระทบต่อฝ่านนิติบัญญัติ
"ดีเอสไอ ทำเฉพาะกรณีความผิดเกี่ยวกับฟอกเงิน และอาจขยายผลเกี่ยวกับคดีอาญาอื่น เช่นอั้งยี่ แต่ถ้าหากกลุ่มสว.อยากมาให้การแสดงความบริสุทธิ์ เราก็พร้อมที่จะรับฟัง" นายทวี ระบุ
ข่าว
20 เม.ย. 2568 16:57 72 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 16:05 81 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 14:39 105 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 14:32 80 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 12:59 106 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 12:08 109 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 12:05 117 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 11:23 122 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 11:20 100 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 11:15 117 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 10:20 142 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 10:11 168 views
ข่าว
20 เม.ย. 2568 09:58 122 views
ข่าว
19 เม.ย. 2568 18:33 12 views
ข่าว
19 เม.ย. 2568 18:28 15 views
ข่าว
19 เม.ย. 2568 16:46 294 views