วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2567
25 ธ.ค. 2567 09:42 | 130 view
@pracha
ชำแหละนโยบายเศรษฐกิจ‘เพื่อไทย’ล้มเหลว เอา‘ยาพิษ’มาหลอกขายเป็น‘ยาวิเศษ’
25 ธันวาคม 2567 รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “นโยบายเศรษฐกิจของเพื่อไทยที่ล้มเหลว” มีเนื้อหาดังนี้... นโยบายเศรษฐกิจของเพื่อไทยที่ล้มเหลว
นอกจากกรณี 30 บาทรักษาทุกโรคที่กำลังจะ“ฆ่า” ระบบสาธารณสุขไทยแล้ว
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 600 บาท/วัน หรือ การแจกเงินหมื่น ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของความล้มเหลวด้านนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองที่ชูนโยบายประชานิยม
เพราะได้แต่ “ชู” แต่ทำจริงแล้ว “เหี่ยว”!!
นโยบายแจกเงินหมื่นอย่างถ้วนหน้าสำหรับคน 52 ล้านคนก็เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปแล้วว่า “เหี่ยว” ไปต่อไม่ได้
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 600 บาท/วันก็เช่นกัน คณะกรรมการไตรภาคีที่รับผิดชอบขึ้นค่าจ้างก็ปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเพียง 400 บาทสำหรับบางจังหวัดเท่านั้น
ไม่ได้ถ้วนหน้าและไม่ได้ทุกคน แม้แต่ตัวแทนฝั่งลูกจ้างก็ยังยอมรับมตินี้
ทำไมนโยบายเรือธงของพรรคเพื่อไทยที่ใช้หาเสียงจึงล้มเหลวเละเทะไม่เป็นท่าเช่นนี้?
คำตอบง่าย ๆ และตรงไปตรงมาที่สุดก็คือ มันเอาไว้ใช้ “ชู” เพื่อหาเสียงเท่านั้น โดยที่มันผิดธรรมชาติ ขัดกับความเป็นจริง และไม่เป็นไปตามหลักวิชาการที่สมควรในทางเศรษฐศาสตร์
.........
นโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ กลายเป็นเรื่องนโยบาย(บีบบังคับคนอื่นให้) เพิ่มรายได้ โดยที่คนบังคับไม่ได้ช่วยออกเงินเลยแม้แต่บาทเดียว!!
พรรคเพื่อไทยมี “ดอกเตอร์” เต็มพรรคมิใช่หรือ แถมยังอวดฉลาดทั้งพรรคก็ว่าได้ แต่จะซื่อสัตย์กับสัมมาอาชีวะของตนเองหรือฉลาดจริงไม่นั้น คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ทฤษฎีมันว่าไว้ว่า การจ้างงานและค่าจ้างมันสัมพันธ์กับมูลค่าผลิตผลที่แรงงานทำ หากยังล้างชามได้เท่าเดิมแต่จะบังคับให้นายจ้างขึ้นค่าจ้าง ถ้าไม่มีทางเลือกแบบนี้นายจ้างก็จะลดคน แล้วแบบนี้มันจะสำเร็จไปได้อย่างไร?
ที่ฝั่งนายจ้างและเสียงข้างมากในคณะกรรมการไตรภาคีเขาค้านก็ถูกต้องแล้ว
เพราะเขาไม่อยากลดคน มีแต่ฝั่งนักการเมืองนี้แหละที่เข้าไป “ชู” ในประเด็นที่ทำไม่ได้เอามาหาเสียง ทั้งที่ตัวเองก็รู้อยู่แก่ใจว่าทำไม่ได้
ส่วนนโยบายแจกเงินหมื่น คงไม่ต้องพูดให้มากความอีกแล้ว เพราะมันล้มเหลว และผิดกับที่หาเสียงตั้งแต่ต้น
จะแจกเงินหมื่นเป็นเงินดิจิตอลก็ทำไม่ได้ จะแจกเป็นเงินกระดาษก็หาแหล่งเงินมาไม่ได้
ถ้าคิดว่านโยบายนี้มันดีทำไมไม่กล้าขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 15%เพื่อมาใช้ทำนโยบายนี้เล่า ?
ในที่สุดพรรคเพื่อไทยก็ต้องมากลืนน้ำลายที่ถ่มรดฟ้าชโลมเลียนโยบายนี้ให้มันลื่นไหลต่อไปได้ด้วยน้ำลายตนเอง
นโยบายแจกเงินหมื่นแบบดิจิตอลในความเป็นจริงจึงกลายเป็น เรื่องแจกเป็นเงินกระดาษ แจกได้เฉพาะกลุ่ม แจกแบบไม่มีเงื่อนไข
ลมพายุที่อ้างคำโตจึงเป็นได้เพียง “ลมผาย” ใต้ก้นเท่านั้น
.......
เหตุก็เพราะพรรคเพื่อไทยมองแต่เพียงสัดส่วนการบริโภคต่อ GDP ที่มีสูงถึงกว่าร้อยละ 60
ถ้า “ฝันเฟื่อง” คิดแต่ว่าถ้าเพิ่มรายได้จากเดิมได้อีกร้อยละ 10-15 ...การบริโภค/GDP ก็จะเพิ่ม GDPได้อีกร้อยละ 6-10
แต่หารู้ไม่ว่าการจะไปเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการบริโภคนี้ มันทำไม่ได้โดยง่ายด้วยการเพิ่มรายได้แต่เพียงลำพัง
การบริโภคมิได้ขึ้นอยู่กับ GDP หรือรายได้ในปัจจุบันแต่เพียงลำพัง หากแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกมาก เช่น รายได้ในอนาคตหรือรายได้ที่แท้จริง (ที่คาดว่าจะได้รับตลอดช่วงอายุการทำงาน) ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจบริโภคมากว่ารายได้ปัจจุบันเสียอีก
ดังนั้นพฤติกรรมการบริโภคจึงไม่เพิ่มจากการเพิ่มเงินหมื่นนี้ในปัจจุบันเพราะผู้บริโภค(ที่มีเหตุผล-rationale) ย่อมคาดการณ์ว่าในอนาคตรัฐจะต้องเก็บภาษีเพิ่มจากการเพิ่มเงินหมื่นนี้แน่ตอน
ในขณะที่การเพิ่มรายได้แบบหลอกตัวเองด้วยการบังคับขึ้นค่าจ้างจึงไม่ส่งผลอะไรต่อรายได้ที่จะนำมาบริโภคด้วยเช่นกัน
เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีดอก
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คนเสียภาษีต้องออกมาเรียกร้อง “ไม่ยื่นแบบ ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง” เพื่อแก้ไขนโยบายประชานิยมแบบ "ล้างผลาญภาษี" ที่ต้นตอ
เพื่อไม่ให้นักการเมืองใช้นโยบายประชานิยมมาหาเสียงเข้าสภา
เอา “ยาพิษ” มาหลอกขายเป็น “ยาวิเศษ” กับประชาชนที่รู้ไม่เท่าทันเหมือนเช่นที่ พ่อ-ลูก คู่หนึ่งกำลังทำกับประเทศในขณะนี้
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 18:32 85 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 18:29 101 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 16:02 95 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 15:22 120 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 14:50 94 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 14:32 128 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 14:19 137 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 13:31 163 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 13:25 117 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 11:34 130 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 11:25 179 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 10:48 159 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 10:45 133 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 10:42 134 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 10:40 143 views
ข่าว
25 ธ.ค. 2567 09:47 150 views