วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567
4 ต.ค. 2567 14:56 | 998 view
@pracha
ชลประทานเชียงใหม่ คาดระดับน้ำปิงตัวเมืองเชียงใหม่ที่จุด P.1 จะขึ้นสูงสุดราว 5.20 เมตรในช่วงเวลาประมาณ 01.00 น.คืนนี้ และจะแผ่ขยายไปยังอำเภอรอบข้าง ผู้ว่าฯสั่งทุกหน่วยเตรียมรับมือและปฏิบัติการตามแผนสถานการณ์รุนแรง ขั้นสูงสุด
วันนี้ (4 ต.ค.67) ที่ศูนย์บริหารจัดการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ (CM FORCE) ซึ่งตั้งอยู่ภายในสำนักงานแขวงกาวิละ ต.วัดเกต อ.เมืองเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายอำเภอ ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันประชุมติดตามการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ หลังจากมีฝนตกหนักต่อเนื่องและคาดว่าจะมีมวลน้ำก้อนใหญ่จากพื้นที่ทางตอนเหนือ ไหลเข้ามายังพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ในช่วงค่ำวันนี้เพื่อยกระดับการเผชิญเหตุโดยนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ตลอดเมื่อวานนี้ (3 ต.ค.) มีปริมาณฝนตกหนักเกินกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะในพื้นที่โซนเหนือที่ อ.เชียงดาว และ อ.แม่แตง ที่ตกเฉลี่ยมากถึง 150-200 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้มีมวลน้ำขนาดใหญ่ไหลเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่มากกว่าที่เคยผ่านมา
โดยจากการคาดการณ์ของชลประทาน คาดว่า น้ำจะสูงขึ้นอีกราว 30 เซนติเมตร ทำให้ระดับน้ำปิงที่จะผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ที่สถานีวัดระดับน้ำที่จุด P.1 สะพานนวรัฐ จะขึ้นสูงสุดในระดับ 5.20 เมตร ในช่วงเวลาประมาณ 01.00 น.ของคืนนี้ (4 ต.ค.) มีอัตราการไหลของน้ำเฉลี่ยถึง 800-900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และน้ำจะแผ่ขยายตัวออกเป็นวงกว้าง ทำให้ไม่ใช่เพียงแค่พื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่เท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมสูง แต่ยังส่งผลกระทบไปยังอำเภอข้างเคียง เช่น อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย รวมถึงอำเภอทางตอนใต้ เช่น อำเภอหางดง สารภี และสันป่าตอง
ขณะเดียวกันทางอุตุนิยมวิทยา ยังคาดการณ์ว่า วันนี้จะยังมีปริมาณฝนตกกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ ดังนั้น จึงฝากให้ทุกอำเภอที่เสี่ยงได้รับผลกระทบ ตรวจเช็คปริมาณน้ำฝน แต่ไม่ใช่แค่เพียงที่จุดวัดน้ำในเขตตัวอำเภอและเทศบาลเท่านั้น แต่ให้มองไปถึงยังปริมาณฝนที่ตกบนยอดดอยด้วย ซึ่งจะทำให้ประเมินสถานการณ์น้ำได้ครอบคลุมมากขึ้น โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตามแผนสถานการณ์รุนแรงขั้นสูงสุดโดยในเบื้องต้นได้สั่งการให้ตำรวจและแขวงทางหลวงดูแลในเรื่องของการสัญจร การปิดกั้นเส้นทางการจราจร การอำนวยความสะดวก และคอยเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้เลี่ยงการนำรถขนาดเล็กเข้าในพื้นที่น้ำท่วม พร้อมทั้งให้ประชาชนเคลื่อนย้ายรถที่จอดอยู่ตามสะพานหรือจุดที่เสี่ยงน้ำเข้าถึง ให้ย้ายไปจอดยังพื้นที่ปลอดภัย ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ให้เร่งเคลียร์ท่อระบายน้ำ ถนน และสะพานให้สะอาด เพื่อเปิดทางรองรับการระบายน้ำ
ส่วนเสาไฟฟ้าที่ล้มให้การไฟฟ้าเข้าไปตรวจสอบแก้ไข และดูแลจุดเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า ส่วนเขตพื้นที่ตัวเมือง เทศบาลนครต้องปรับแผนการขนส่งและการลำเลียงอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของต่างๆ ให้ประชาชน โดยใช้รถยกสูงรวมถึงเรือในการขนส่งลำเลียงอาหารเข้าไปให้พี่น้องประชาชนให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน เนื่องจากขณะนี้รถเล็กไม่สามารถเข้าไปส่งของได้เช่นเดิมแล้ว โดยกำชับว่าต้องขับช้าๆ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อข้าวของและบ้านเรือนประชาชนทั้งนี้จากปริมาณน้ำฝนที่มากเกินกว่าที่คาดไว้จึงทำให้เป้าหมายที่วางไว้ว่าจะคลี่คลายได้ภายใน 3-4 วันอาจจะต้องยืดระยะเวลาไปอีก ซึ่งต้องขอความร่วมมือทุกภาคส่วนที่ไม่มีภารกิจจำเป็นให้ออกมาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนก่อน เพื่อให้พี่น้องประชาชนบรรเทาความเดือดร้อนให้เร็วที่สุด
ข่าว
29 พ.ย. 2567 15:10 35 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 15:07 23 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 15:03 21 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 14:23 33 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 13:57 37 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 13:12 66 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 12:35 60 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 12:32 67 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 12:15 38 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 11:25 53 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 11:09 68 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 11:07 25 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 10:49 68 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 10:34 69 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 10:25 70 views
ข่าว
29 พ.ย. 2567 10:22 67 views