วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2567
18 ก.ย. 2567 14:49 | 982 view
@pracha
รัฐบาลซิมบับเวมีแผนสังหารช้างป่า 200 ตัว เพื่อนำเนื้อมาแจกจ่ายให้ประชาชนที่กำลังอดอยากจากวิกฤตภัยแล้งครั้งรุนแรง
ทางการซิมบับเวได้อนุมัติการสังหารช้างเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปเลี้ยงประชาชนที่กำลังอดอยากจากภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ที่ผ่านมา ทินาเช ฟาราโว โฆษกของกรมอุทยานและสัตว์ป่าซิมบับเว กล่าวว่า “ประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะอดอาหารอย่างรุนแรง เราตั้งเป้าที่จะสังหารช้าง 200 ตัว” การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้ประเทศนามิเบียตัดสินใจสังหารช้างและสัตว์ป่าอื่น ๆ เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนอาหารที่เกิดจากภัยแล้งที่ยาวนาน
ในนามิเบีย สัตว์ป่า 700 ตัว รวมทั้งช้าง ได้รับการอนุมัติให้ฆ่าเมื่อเดือนที่แล้ว และเนื้อของสัตว์เหล่านี้จะนำไปแจกจ่ายให้กับผู้คนที่ประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และการท่องเที่ยวของนามิเบียกล่าวว่า สัตว์มากกว่า 150 ตัวถูกฆ่าไปแล้ว และมีเนื้อสัตว์มากกว่า 50 ตันถูกนำไปแจกจ่ายแล้ว
ฟาราโวกล่าวว่า ซิมบับเวมีช้างอาศัยอยู่มากกว่า 84,000 ตัว ขณะที่ความจุซึ่งรองรับได้ความจริงแล้วอยู่ที่ 45,000 ตัวเท่านั้น เท่ากับมีช้างเกินรับไหวเกือบ 2 เท่า
ประชากรช้างของซิมบับเวมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงในบอตสวานาเท่านั้น
ด้านรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมซิมบับเว ซิธเมบิโซ นโยนี กล่าวต่อรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “ซิมบับเวมีช้างมากกว่าที่เราต้องการ และมีช้างมากกว่าที่ป่าจะรองรับได้”
เธอกล่าวเสริมว่า การที่ช้างมีจำนวนมากเกินไป “ทำให้ขาดแคลนทรัพยากร” สำหรับการดำรงชีพของพวกมัน ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่าในประเทศ
“เรากำลังหารือกับกรมอุทยานและสัตว์ป่าซิมบับเวและชุมชนบางแห่งให้ทำแบบเดียวกับที่นามิเบียทำ เพื่อที่เราจะได้นับจำนวนช้าง ระดมผู้หญิงไปตากเนื้อและบรรจุหีบห่อเพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อจะไปถึงชุมชนที่ต้องการโปรตีน” นโยนีกล่าว
เธอบอกว่า “เมื่อมีสัตว์ป่าจำนวนมากเกินไปในอุทยานแห่งใดแห่งหนึ่ง พวกมันจะออกไปหาแหล่งทรัพยากรอื่น ๆ เช่น น้ำหรือต้นไม้ภายนอกอุทยาน เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น พวกมันจะไปเจอกับมนุษย์และความขัดแย้งจะเริ่มต้นขึ้น”
ซิมบับเวและนามิเบียเป็นเพียง 2 ประเทศจากหลายประเทศในแอฟริกาที่ประสบภัยแล้งรุนแรงที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นรูปแบบสภาพอากาศที่ทำให้มีฝนตกน้อยมาก ประเทศทั้งสองยังเสี่ยงต่อภัยแล้งที่รุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอีกด้วย
ฟาราโวกล่าวว่า การสังหารจะเริ่มขึ้นเมื่อทางการจัดทำเอกสารที่จำเป็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว “เรากำลังดำเนินการเอกสาร … เพื่อที่เราจะได้เริ่มต้นโดยเร็วที่สุด” พร้อมเสริมว่า แผนการจะมุ่งเป้าไปที่พื้นที่ที่มีประชากรช้างจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม แผนการสังหารช้างเพื่อเลี้ยงปากท้องประชาชนในซิมบับเวและนามิเบียถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มนักอนุรักษ์
ฟาราย มากูวู หัวหน้ากลุ่ม Center for Natural Resource Governance บอกว่า “การสังหารช้างต้องหยุดลง ช้างมีสิทธิที่จะมีชีวิต คนรุ่นต่อ ๆ ไปมีสิทธิที่จะเห็นช้างในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน”
ด้าน คีธ ลินด์เซย์ นักชีววิทยาการอนุรักษ์และที่ปรึกษาทรัพยากรธรรมชาติ ยังแสดงความไม่สบายใจต่อการใช้สัตว์ป่าเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาหาร โดยบอกว่า การกระทำดังกล่าว “มีแนวโน้มสูงมากที่จะทำให้เกิดความต้องการเนื้อสัตว์ป่าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งจะทำให้พวกมันไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน”
อย่างไรก็ตาม ฟาราโวกล่าวว่า การตัดสินใจของซิมบับเวที่จะสังหารช้าง ซึ่งเป็นการสังหารครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1988 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างช้างกับมนุษย์ หลังจากเหตุการณ์ช้างทำร้ายมนุษย์หลายครั้ง “สัตว์เหล่านี้สร้างความหายนะให้กับชุมชนอย่างมาก และฆ่าผู้คน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราสูญเสียผู้หญิงคนหนึ่งในภาคเหนือของประเทศ เพราะถูกช้างฆ่าตาย สัปดาห์ก่อนหน้านั้นก็เกิดเหตุการณ์เดียวกันนี้ขึ้น ดังนั้นการฆ่าจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งในการควบคุม” เขากล่าว สื่อท้องถิ่นรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์ป่าในซิมบับเวอย่างน้อย 31 รายในปีนี้
ข่าว
27 พ.ย. 2567 16:55 103 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 16:29 118 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 16:19 55 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 16:01 85 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 15:50 120 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 15:49 94 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 15:41 152 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 15:03 108 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 15:01 99 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 14:57 94 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 13:58 143 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 13:22 110 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 13:19 188 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 13:16 111 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 13:14 116 views
ข่าว
27 พ.ย. 2567 10:56 137 views