วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567
5 ก.ย. 2567 09:58 | 793 view
@pracha
กกร.เร่งทำสมุดปกขาว เสนอแผนแก้ปัญหาศก.ให้รัฐบาล
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทยในฐานะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวภายหลังการประชุม กกร. ว่า ที่ผ่านมาตัวแทนจาก สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สภาหอการค้า ได้ มีโอกาสเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวซึ่งมีโรงงานปิดตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 7 เดือนแรกกว่า 757 แห่ง มีหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง เศรษฐกิจนอกระบบมีขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงได้เร่งจัดทำสมุดปกขาว นำเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
ทั้งนี้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง เครื่องชี้ด้านการผลิต PMI Manufacturing เดือนสิงหาคมของประเทศหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ต่างหดตัว โดยสหรัฐฯส่งสัญญาณพร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่ค่าระวางเรือยังสูงกว่าภาวะปกติ 3 เท่าตัวเป็นปัจจัยลบต่อการค้าโลก ขณะที่การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคมเติบโตถึง 15.2% จากแรงหนุนของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ของโลก และคาดว่าทั้งปีจะเติบโตได้ 1.5-2.5% สูงกว่าประมาณการเดิมที่ 0.8-1.5% แต่การเติบโตดังกล่าวยังกระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้เป็นการเติบโตในวงกว้าง
ด้านอุปสงค์ภายในประเทศของไทยยังอ่อนแรงสะท้อนจากการลงทุน แม้ว่ารัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุน ทำให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเติบโตเฉลี่ยได้กว่า 20% ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เศรษฐกิจในไตรมาสที่สองที่ผ่านมายังชะลอตัว โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนหดตัวมากถึง 6.8% เหตุสำคัญจากกลุ่มยานยนต์ที่ยอดขายในประเทศลดลงถึง 24% โดยการลงทุนในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มชะลอสะท้อนจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นถือเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม โดยคาดว่ามูลค่าความเสียหาย ช่วงเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายนจะอยู่ที่ราว 6-8 พันล้านบาท หรือ 0.03-0.04% ของจีดีพี ซึ่งภาคเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนในระยะถัดไปต้องติดตามพายุที่อาจจะเข้าได้ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ถือเป็นความเสี่ยงต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม
ทั้งนี้ กกร. กังวลต่อสถานการณ์น้ำและอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน จึงมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานย่อยจัดทำข้อเสนอด้านการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเสนอต่อภาครัฐ โดยเน้นการวางแผนระยะยาวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำและเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างความต้องการน้ำ (Demand) และการจัดหาน้ำ (Supply) เพื่อให้สามารถจัดการน้ำได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบันจะไม่รุนแรงเท่าปี 2554 แต่คาดว่าในปี 2567 จะยังมีพายุพัดผ่านประเทศไทยอีก 2 ลูก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2567 จึงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงในจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา โดยทาง กกร.เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลการเคลื่อนที่ของมวลน้ำในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างทันท่วงที และมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในการฟื้นฟูธุรกิจ เช่น มาตรการทางภาษี มาตรการบรรเทาต้นทุนการผลิต และมาตรการทางการเงิน เป็นต้น
ด้านนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนหลังจากจัดตั้งคณะรัฐบาลแล้วนั้นคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนคนไทยก่อน และเรื่องอื่นๆ จะตามมา ขณะที่ด้านนโยบายจะต้องผลักดันคือเรื่องเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาทนี้แจกจ่ายให้ได้ก่อน เพราะมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน รวมถึงการดูแลค่าครองชีพ และการจัดการปัญหาเรื่องน้ำก็สำคัญ ขณะเดียวกันจะต้องมีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของปี 2567 ให้ครบถ้วน และต่อเนื่องในปี’68 จะต้องอยู่ในกำหนดเวลา
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:36 30 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:28 28 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:26 45 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:23 46 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:20 43 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:04 40 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:01 47 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 10:49 62 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 16:42 238 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 15:17 37 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 15:01 32 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:49 34 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:47 136 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:45 138 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:42 142 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:39 137 views