×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2568

?>

รวมความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการใช้ยา สำหรับเด็ก

 12 ม.ค. 2567 13:16 | 10141 view

 @thanthai

Facebook X Share

เมื่อลูก ๆ ป่วย สิ่งที่ตามมาก็คือ ความวิตกกังวลของพ่อแม่ ซึ่งไม่ใช่ทุกครั้งที่อาการป่วยรุนแรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล หลาย ๆ ครอบครัวก็ดูแลลูกตามประสบการณ์ที่เคยได้ยินได้ฟังมาว่าป่วยแล้วต้องทำอย่างไร กินยาอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องการใช้ยา ยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สำหรับเด็กอยู่หลายกรณี วันนี้เรารวบรวมมาให้เป็นคู่มือสำหรับคุณแม่มือใหม่ว่า หากลุกไม่สบายแล้วต้องกินยา ใช้ยาแบบไหนให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงอันตราย

 

1. กินยาดัก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

พออากาศเปลี่ยน ตากฝน สิ่งที่พ่อแม่นิยมทำก็คือให้ลูกไปอาบน้ำให้เร็วที่สุด แล้วกินยาดักไข้เอาไว้ จะได้ไม่ป่วย ซึ่งเป็นความเชื่อยอดนิยมที่คิดว่ายาจะสามารถป้องกันไข้หวัดได้ โดยเฉพาะการกินยาพาราเซตามอลหรือยาลดไข้ชนิดอื่นๆ ในความจริงนั้น ยาเหล่านี้มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ลดไข้ แต่ไม่ได้มีสรรพคุณในการป้องกันอาการป่วย 

ดังนั้น การกินยาดักไข้ตอนที่ยังไม่มีอาการจึงไม่สามารถช่วยป้องกันการเป็นไข้ได้ อีกทั้งยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง และอาจเกิดอันตรายหากกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน  จะส่งผลให้ตับทำงานหนัก จนเซลล์ตับถูกทำลาย และมีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบได้ในที่สุด

 

2.เลือกยาให้เหมาะสมกับวัย

ตัวอย่างเช่น ยาแก้ไอ ไม่ควรนำยาแก้ไอของผู้ใหญ่มาให้เด็กกิน เพราะยาบางชนิดอาจจะผสมแอลกอฮอล์ หรือยาบางตัวอาจมีฤทธิ์กดศูนย์กลางการหายใจ อาจทำให้เด็กหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้

หรือยาแก้ท้องเสีย ไม่ควรให้ยาที่มีความแรงมากในเด็กเล็ก เพราะอาจไปกดการหายใจได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการให้น้ำและเกลือแร่ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ เพราะอาการขาดน้ำในเด็กอาจทำให้เสียชีวิตได้

 

3.กินยาเกินขนาด (overdose) จะได้หายเร็วๆ

การกินยาในปริมาณหรือขนาดที่มากกว่าแพทย์กำหนด ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ ความเข้าใจผิด หรือคิดว่าจะทำให้หายจากโรคเร็วขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องของปริมาณและระยะเวลาของการกินยา ซึ่งยาที่พบบ่อยว่ากินเกินขนาด คือ ยาพาราเซตามอล โดยแนะนำว่าขนาดที่ถูกต้องในการกินยา 1 ครั้ง ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ขนาดยาอยู่ที่ 600-900 มิลลิกรัม หรือขนาดยา 500 มิลลิกรัม 1.5 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง วันละไม่เกิน 5 ครั้ง  

อีกทั้งยาพาราเซตามอลนั้นเป็นยารักษาตามอาการ หากไม่มีอาการปวดหรือไม่มีไข้ ก็ไม่จำเป็นต้องกินยา ดังนั้น การกินยาพาราเซตามอลมากเกินไปหรือกินพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ตับทำงานบกพร่อง เสี่ยงต่อภาวะตับอักเสบได้

 

4.เป็นหวัดเจ็บคอต้องกินยาปฎิชีวนะ

ภาวะเจ็บคอส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหรือที่เรียกกันว่าเชื้อหวัด ส่วนอาการเจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นจะต้องมีอาการบ่งชี้อื่นๆ เช่น มีไข้สูง มีฝีหนองที่ต่อมทอนซิล น้ำมูก/เสมหะสีเหลือง/เขียว 

การติดเชื้อไวรัสหรือหวัดไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง ใช้การรักษาตามอาการให้ร่างกายกำจัดเชื้อออกไปเอง ดังนั้น จึงมีความเข้าใจผิดว่าเมื่อมีอาการเจ็บคอควรซื้อยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะมากินจึงไม่ช่วยรักษาอาการเจ็บคอจากหวัดได้

 

ข้อห้ามใช้ของยาสำหรับทารกและเด็กเล็กบางชนิดที่ควรจดจำ

1. แอสไพริน (Aspirin) ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้

2. คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไม่ควรใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน เพราะอาจทำให้ซึม นอนไม่หลับ หรือชักได้

3. คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ห้ามใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 4 เดือน เพราะอาจทำให้เด็กตัวเขียว เนื้อตัวอ่อนปวกเปียก หรือหมดสติได้

4. โลเปอราไมด์ (Loperamide) ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะอาจกดศูนย์การหายใจ

5. ซัลฟานาไมด์ (Sulfanamide) ห้ามใช้ในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน เพราะอาจทำให้เกิด ดีซ่านและสมองพิการได้

6. เตตร้าซัยคลิน (Tetracyclin) ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ เพราะอาจทำให้ฟันเหลืองดำอย่างถาวรและกระดูกเจริญเติบโตไม่ดี

7. เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะยาอาจกดศูนย์กลางการหายใจ


 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://ayo.moph.go.th/pharmacy/index.php?mod=Blocks&op=BlocksDetail&id=eoZIc4NPTwoglIBIQ7DZen5vwKe8E4nT

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/myths-medications

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/10-behaviors-for-unsafety-medication-usage

 

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

ผบ.สูงสุดประชุมเหล่าทัพ พัฒนา “ปฏิบัติการพิเศษร่วม”

18 เม.ย. 2568 19:27 50 views

ข่าว

ฝุ่น PM และโลหะหนักบางจุดเกินเกณฑ์! กรมอนามัยเร่งสำรวจคุณภาพอากาศรอบจุดตึกถล่ม

18 เม.ย. 2568 16:44 73 views

ข่าว

มือถือ 3 ค่าย เปิดระบบเตือนภัยทั่วประเทศ

18 เม.ย. 2568 16:41 77 views

ข่าว

นายกฯ คุย ผู้ว่าฯ กทม. แจ้งความคืบหน้าการกู้ซากตึก สตง.

18 เม.ย. 2568 16:25 68 views

ข่าว

พล.ร.11 ลุยฝึกยุทธวิธีระดับกรมผสม ยกระดับขีดความสามารถกองทัพบก

18 เม.ย. 2568 16:23 67 views

ข่าว

ไทย–มาเลเซีย เห็นพ้องอาเซียนต้องรวมพลัง เจรจาการค้ากับสหรัฐฯ  

18 เม.ย. 2568 16:12 67 views

ข่าว

พีท ขอโทษ ขอโอกาสสังคม อย่าว่าอะไรผมมากเลย นายกฯเบี้ยว ลั่นไม่ขอสู้คดี ตั้งใจขอยอมรับผิด ขอโอกาสให้ลูกชาย ได้กลับตัว

18 เม.ย. 2568 15:46 101 views

ข่าว

เสียชีวิต 2 ราย เหตุกราดยิงในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯโดยฝีมือลูกตำรวจ

18 เม.ย. 2568 14:37 84 views

ข่าว

‘ผู้ช่วย ผบ.ตร.’ลั่น! ใครเกี่ยวข้อง‘ตึก สตง.’ถล่ม ดำเนินคดีหมดตั้งกรอบ 7 วัน ไม่พอขยายเพิ่มได้

18 เม.ย. 2568 13:51 105 views

ข่าว

ค้นพบ DMS นอกโลกจุดประกายคำถามใหญ่ “เราอยู่คนเดียวในจักรวาลหรือไม่”

18 เม.ย. 2568 13:16 104 views

ข่าว

เสนอจำลองโครงสร้าง 3 มิติ หาคำตอบการพังทลายของอาคาร สตง. 

18 เม.ย. 2568 13:01 111 views

ข่าว

นายกฯลั่น! จะไม่มีใครลอยนวล คดีตึก สตง. ถล่ม

18 เม.ย. 2568 12:54 156 views

ข่าว

‘ทรัมป์’ส่งสัญญาณปม‘กำแพงภาษี’ อ้างจีนติดต่อขอเจรจา

18 เม.ย. 2568 12:29 101 views

ข่าว

"อันวาร์"โพสต์ภาพคุย"ทักษิณ"พร้อมคณะ แลกเปลี่ยนการสร้างสันติภาพในเมียนมา

18 เม.ย. 2568 12:23 93 views

ข่าว

'ภูมิธรรม'เตรียมลง 3 จังหวัดชายแดนใต้ 26-27 เม.ย. เตรียมถกยกเลิกประกาศกฎอัยการศึกใน 4 อำเภอ

18 เม.ย. 2568 10:59 112 views

ข่าว

รบ.เตือน! เฝ้าระวัง 5 โรคยอดฮิต หลังเล่นน้ำสงกรานต์ แนะหากมีอาการรีบพบแพทย์

18 เม.ย. 2568 10:24 156 views