วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567
12 ม.ค. 2567 10:07 | 7150 view
@thanthai
การลดหย่อนภาษีมีวิธีใดบ้าง ?
สำหรับการลดหย่อนภาษีมีรายจ่ายอยู่ 4 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และครอบครัว, ค่าใช้จ่ายในการซื้อประกัน กองทุน และการลงทุน, ค่าใช้จ่ายกลุ่มเงินบริจาค, และสุดท้ายคือค่าใช้จ่ายในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว
เราสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าใช้จ่ายในครอบครัวมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ เช่น ค่าดูแลบุพการี หรือค่าดูแลบุตร ดังนี้
● ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
● ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท เมื่อคู่สมรสไม่มีรายได้
● ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตร ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
● ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท
● ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดา-มารดาของตน และบิดา-มารดาของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน
● ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการ หรือบุคคลทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อประกัน กองทุน และการลงทุน
ในแต่ละปีคนที่มีรายได้และเข้าเกณฑ์การเสียภาษี สิ่งที่ควรวางแผนก็คือการซื้อกองทุน หรือประกัน หรือการลงทุน ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
สำหรับประกันสิ่งนอกจากจะนำมาลดหย่อนภาษีได้ ข้อดีก็คือยังสามารถใช้ประโยชน์จากกรมธรรม์ในแต่ละฉบับได้อีกด้วย แทนที่จะเอาเงินมาเสียภาษีก็นำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันในการคุ้มครองชีวิตแทน
หรืออีกหนึ่งวิธีลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นที่นิยมมากก็คือ การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ รวมถึงกองทุนอย่างกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นเสมือนการสนับสนุนให้เกิดการออม รัฐจึงมีนโยบายลดหย่อนภาษีได้ตามรายการดังนี้
กรณีประกัน
● เงินประกันสังคม ไม่เกิน 6,300 บาท
● เบี้ยประกันชีวิต และประกันแบบสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 100,000 บาท
● เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ไม่เกิน 25,000 บาท
● เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ไม่เกิน 15,000 บาท
● เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200,000 บาท
หมวดกองทุน การออม และการลงทุน
● กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
● กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
● กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
● กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
● เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
3. ค่าใช้จ่ายกลุ่มเงินบริจาค
อีกหนึ่งวิธีการที่สามารถลดหย่อนภาษีได้นั่นก็คือการบริจาคให้แก่หน่วยงานการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ รวมถึงพรรคการเมืองนั้น ก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา บางคนอาจจะไม่อยากเสียภาษีจำนวนมาก แต่มีความประสงค์อยากดูแลสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้ดังนี้
● เงินบริจาคทั่วไป เช่น บริจาคให้วัดและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
● เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
● เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
4. ค่าใช้จ่ายในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
กลุ่มสุดท้ายที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดหย่อนภาษีได้ก็คือ การใช้จ่ายที่อยู่ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หรือโครงการช้อปดีมีคืน ซึ่งแล้วแต่ฌโครงการในแต่ละปี โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้ดังนี้
● ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หรือค่าดอกเบี้ยที่จ่ายเพื่อผ่อนซื้อบ้าน หรือคอนโด สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาทตามที่จ่ายจริง
● การซื้อสินค้า หรือบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมถึงสินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ และ E-Book ในช่วงเวลาโครงการ สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) และจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
1.หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) – สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ
2.รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
3.เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี
เรื่องภาษีหากเข้าใจไม่มีอะไรน่ากลัว เพียงแค่รู้สิทธประโยชน์และวางแผนเป็นประจำทุกปีก็ช่วยประหยัดภาษีได้แล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.finnomena.com/z-admin/tax-deduction-2/
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 13:57 32 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 13:45 36 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 13:43 21 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 11:42 48 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 11:37 64 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 11:34 50 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 11:01 48 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 10:54 40 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 10:52 67 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 10:27 68 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 10:25 64 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 10:19 59 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 10:16 58 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 09:29 82 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 09:25 86 views
ข่าว
4 ธ.ค. 2567 09:21 72 views