วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567
31 ต.ค. 2566 14:01 | 6508 view
@thanthai
นาทีนี้ไม่มีอะไรจะได้รับกระแสความนิยมเท่ากับหมาล่าสายพาน อีกแล้ว นอกจากความฮอตฮิตที่ทำให้คนรอต่อคิวหลายชั่วโมงเพื่อกินหมาล่าชาบู ก็ยังมีร้านเปิดใหม่ขึ้นมามากมาย ทั้งแบรนด์ที่ติดหูขยายสาขาไปหลายจังหวัดอย่างสุกี้จินดา หรือแบรนด์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่จนกลายเป็นกระแส ชาบูหม่าล่า ฟีเวอร์
ทำไมอยู่ดี ๆ เทรนด์การกินหมาล่าสายพานจึงกลายเป็นกระแส ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ครั้งแรกกับการกินอาหารที่มีให้เลือกจากสายพาน วันนี้รวบรวมคำตอบมาฝากกันว่า
หมาล่าคืออะไร ?
หม่าล่า หรือ (麻辣 málà) หม่าล่าเป็นชื่อเรียกของรสชาติยอดนิยมอย่างหนึ่งของอาหารจีน ประกอบด้วยพริกไทยเสฉวน หรือ ฮวาเจียว
( 花椒 ) พริก และ เครื่องเทศอื่น ๆ เคี่ยวในน้ำมัน
ส่วนคำว่า หม่าล่า มาจากการประสมกันของอักษรจีนสองตัว ได้แก่ หม่า ( 麻 ) แปลว่า “ชา” กับ ล่า ( 辣 ) แปลว่า “เผ็ด” ซึ่งสื่อถึงความรู้สึกเผ็ด และ ชา ดังนั้นเวลาที่กินหมาล่าก็จะรู้สึกถึงความชาที่ปลายลิ้น ไม่ได้เผ็ดร้อนเหมือนพริกขี้หนูหนู แต่เป็นความเผ็ดชา ตามความหมายนั่นเอง
รู้ไหมวัฒนธรรมการกินหมาล่ามีมานานแล้ว?
จริง ๆ ก่อนที่จะกลายเป็นน้ำซุปหมาล่าในหม้อชาบู เราอาจจะคุ้นชินกับการกินหมาล่าแบบไม้ ซึ่งก็นิยมกินในไทยมาหลายสิบปี ความฮิตของหม่าล่าในช่วงแรก ๆ แพร่หลายอย่างมากในส่วนภาคเหนือของไทย และจังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นจังหวัดแรก ๆ ที่รับวัฒนธรรมการกินหม่าล่าเข้ามาและมีจำนวนร้านหม่าล่าเยอะที่สุดในประเทศไทย จนในปัจจุบันหม่าล่าได้กระจายตัวไปในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศไทยและมีหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ทั้งแบบปิ้งย่าง ชาบู สุกี้ และหม้อไฟ
ทำไม “หมาล่า” ถึงถูกใจลิ้นคนไทย
ที่หมาล่ากลายเป็นรสชาติที่ถูกปากคนไทย จนกลายเป็นกระแสฟีเวอร์ก็เพราะว่าลิ้นของคนไทยคุ้นชินกับการรับประทานอาหารในหลากหลายรสชาติ เนื่องมาจากวัฒนธรรมการกินของของคนไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลทั้งจากอาหารตะวันออก และอาหารตะวันตก เห็นได้จากร้านอาหารประเภทฟิวชันที่ได้รับความนิยม
ที่สำคัญคือคนไทยนิยมใช้สมุนไพรที่มีกลิ่นเฉพาะตัวเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หรือหากใครที่เคยได้ลิ้มรสมะแขว่น หรือลูกระมาศ ก็จะพบว่ามีรสชาติคล้ายคลึงใกล้เคียงกับฮวาเจียว ด้วยเอกลักษณ์รสชาติ หอมหอมของเครื่องเทศ ซึ่งถูกจริตกับการกินของคนไทยเป็นทุนเดิมจึงทำให้รสชาติของหมาล่า กลายเป็นหนึ่งในรสชาติยอดนิยม ต่อยอดออกมาเป็นอีกหลากหลายธุรกิจไม่เพียงแค่สุกี้สายพานเท่านั้น แต่ยังมีขนมอื่น ๆ ที่ออกมาเป็นรสชาติหมาล่าเช่นกัน
แล้วทำไมกระแสการกินสุกี้สายพานจึงฟีเวอร์
เพราะความสะดวกสบายบวกกับความแปลกใหม่ของนวัตกรรมสายพานอาหาร ที่ถึงแม้จะไม่ใช่ที่แรกเลยที่จัดเสิร์ฟอาหารแบบสายพาน แต่พอมาผสมผสานกับความเป็นมหาล่า น้ำซุป น้ำจิ้ม บรรยากาศร้านสไตล์จีน ซึ่งถือว่าแปลกใหม่กับคนชอบกิน โดยเฉพาะคนไทยที่ชื่นชอบการกินบุฟเฟ่ ชาบู หมูกระทะ จนเรียกได้อาจเป็นอาหารประจำชาติของจริง ยิ่งกว่าผัดไทย หรือต้มยำกุ้ง ที่คนไทยกินบ่อยที่สุด
ทำให้ “สุกี้จินดา” หมาล่าสายพานเจ้าแรกในไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยหากนับย้อนกลับไป 5 ปีก่อนหน้านี้ “ไหตี่เลา” หมาล่าหม้อไฟชื่อดังอันดับ 1 จากเมืองจีน ได้เป็นผู้ริเริ่มนำวัฒนธรรมหม้อไฟหมาล่าเข้ามาทำความรู้จักกับคนไทยอย่างเป็นทางการ จากนั้นความนิยมจึงค่อยๆ ขยาย “ฐานแฟน” สู่ร้าน SMEs ที่มี “สายพาน” เป็นจุดขาย
ความนิยมอาหารเผ็ดร้อนชาลิ้นของคนไทยทำให้กระแสการกินน้ำซุปหมาล่าแพร่หลายออกไป ไม่ใช่แค่สุกี้สายพานเท่านั้น แต่สุกี้หม้อไฟอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งสุกี้ตี้น้อย ก็ยังเคยมีการนำน้ำซุปหมาล่าออกมาให้บริการอยู่ในบางช่วง
อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดกลับพบว่า แต่ละร้านมี “ตลาด” ของตัวเอง ผู้บริโภคที่นิยมหมาล่าย่อมเลือกเดินเข้าร้านหมาล่าอย่างเฉพาะเจาะจงมากกว่า ทำให้ร้านสายพานที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนได้รับกระแสตอบรับดีไม่มีตก กระทั่งปัจจุบันหมาล่าสายพานหลายเจ้าได้ขยายสาขาลูกแฟรนไชส์อีกนับสิบแห่งภายในระยะเวลาไม่นาน และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเสื่อมความนิยมลงแต่อย่างใด
จากปรากฎการณ์หมาล่าสายพานฟีเวอร์ อาจจะสรุปได้ 2 ประเด็นคือ ความแปลกใหม่ที่ยังอยู่ในกระแส ทำให้คนรู้สึกอยากทดลองสักครั้ง และ รสชาติที่เผ็ดลิ้นชา จัดจ้านที่ถูกจริตคนไทย จึงกลายเป็นกระแสหมาล่าฟีเวอร์ที่เห็นในปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://tu.ac.th/thammasat-081165-arts-chinese-expert-talk-mala-fever
http://www.baankluayonline.co/lifestyle-mala/
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1079814
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:58 63 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:56 46 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:39 65 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:12 48 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:08 51 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:07 48 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 15:02 50 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 15:01 57 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 14:58 57 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 14:26 61 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 13:17 81 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 12:50 97 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 12:47 76 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 12:43 84 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 12:06 87 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 11:57 83 views