วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567
30 ต.ค. 2566 13:29 | 6282 view
@thanthai
ว่ากันว่าความรักและความสัมพันธ์คือสิ่งสวยงาม บางครั้งก็เป็นแรงขับเคลื่อนหรือพลังชีวิตได้เป็นอย่างดี ทำให้เติมเต็มความสุข คลายความเศร้า แต่แม้ความรักจะสวยงามมากแค่ไหน ในวันที่ความผิดหวังมาเยือน พลังของความรักก็กลับกลายเป็นบาดแผลที่เจ็บปวดเช่นกัน โดยเฉพาะ การถูกทำลายความไว้ใจ และการหักหลัง
และบ่อยครั้งที่ความรู้สึกว่าถูกหักหลัง ถูกทำให้ผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจกลายเป็นบาดแผลทางใจที่ทับถมกันจนกลายเป็นโรคทางจิตเวช ที่รู้จักกันในชื่อของ Pistanthrophobia โรคกลัวการไว้ใจ เราอาจเคยเห็นบางคนผิดหวังในความรัก จนกลายเป็นปิดกั้นทุกคนที่เข้ามา หรือมีรักครั้งใหม่ก็ระแวงไปหมด นั่นอาจเพราะเขากำลังเผชิญกับภาวะ Pistanthrophobia อยู่ก็ได้
วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า Pistanthrophobia โรคนี้มีที่มาอย่างไร ร้ายแรงแค่ไหน และจะป้องกันเยียวยามันได้อย่างไรบ้าง
Pistanthrophobia คืออะไร ?
คือความกลัวที่จะไว้ใจผู้อื่นหรือแม้กระทั่งคนรอบข้าง ปิดกั้นตัวเองจนไม่ยอมให้ใครเข้ามารู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา หรือไม่ยอมเดินเข้าไปรู้จักตัวตนของใคร แม้เขาคนนั้นจะทำตัวน่าไว้ใจหรือทำท่าว่าพร้อมจะเปิดรับเราเข้าไปในโลกของเขาก็ตาม
เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่มักจะพบได้บ่อยๆ ในลักษณะของคนที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าจะเป็นคนรัก เพื่อนสนิท หรือคนใกล้ชิด แต่โดยมากแล้วอาการเช่นนี้มักพบได้ในผู้ที่มีความสัมพันธ์เชิงคู่รัก ความหวั่นเกรงว่าจะได้รับความเจ็บปวดทางจิตใจจากคนใกล้ชิดหรือคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ปัญหานี้จะส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำ
เช็คอย่างไรว่าคนใกล้ตัว หรือตัวคุณกำลังเป็น
Pistanthrophobia ?
โดยปกติอาการที่สามารถสังเกตได้ของคนที่มีภาวะ Pistanthrophobia จะมีอาการตื่นตระหนก หวาดกลัว จะหวาดกลัวแบบผิดปกติ หวาดกลัวโดยไม่มีเหตุผล ต้องการที่จะหลีกหนีจากสถานการณ์ บุคคล สัตว์ วัตถุ หรืออะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัว
และลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ ที่แสดงออกก็คือจะมีอาการ หายใจถี่
หัวใจเต้นแรงและเร็ว ตัวสั่น เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ตกอยู่ในภาวะที่รู้สึกว่าถูกทำลายความไว้ใจหรือหักหลังนั่นเอง
นอกจากนี้ในระยะยาว คนที่มีอาการ Pistanthrophobia มักจะกลายเป็นคนที่
1.พยายามหลีกเลี่ยงการพบปะ การสนทนา หรืออยู่ใกล้ชิดกับบุคคลที่เคยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมาก่อน
2.ต้องการการปกป้อง หรือพร้อมที่จะถอนตัวออกไปจากสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจ
3.มีการปฏิเสธและไม่ยอมรับผู้ที่พยายามจะเข้าหา หรือพยายามสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ด้วย อย่างเช่น มีคนมาจีบก็จะไม่เปิดใจ ไม่ไป และกลัวการเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่
4.มีความวิตกกังวลและต้องการหลีกหนีออกไปจากการสนทนาที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ โดยเฉพาะถ้าเป็นคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก่อน เช่น เคยเป็นแฟนกัน เคยไปเดทด้วยกัน
เราจะเยียวยาและป้องกัน Pistanthrophobia ได้อย่างไร ?
1.อย่ารีบหาคนใหม่ทันทีหลังจากอกหัก
หากเพิ่งอกหักมาใหม่ๆ เราแนะนำว่า อย่ารีบเยียวยาจิตใจด้วยการรีบหาคู่รักคนใหม่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่พร้อม ยังมีความรู้สึกกลัว หวาดระแวง เพราะหากเรายังรู้สึกเจ็บปวดจากความรักครั้งเก่าอยู่ พอรีบหาใหม่ แล้วต้องผิดหวังอีก มันก็จะยิ่งเจ็บช้ำมากขึ้นไปอีก และที่สำคัญเราก็อาจจะกลายเป็นแผลใจให้คนอื่นเช่นเดียวกัน
หากเรายังลืมคนรักเก่าไม่ได้ ไม่พร้อมมีคนใหม่ ควรให้เวลาเยียวยาหัวใจให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่
2.ให้อภัยตัวเอง
หลายคนเมื่อถูกปฏิเสธ ถูกทรยศหักหลัง หรือถูกทำลายความเชื่อใจจนหมดสิ้น ก็มักจะโทษตัวเองว่า “ถ้าฉันไม่ทำอย่างนั้น” “ถ้าฉันไม่ทำแบบนี้ เรื่องทุกอย่างก็คงจะไม่เป็นแบบนี้” เวลาที่เราวนอยู่กับหลุมความคิดที่โทษตัวเอง เฝ้าย้อนถามว่าถ้าไม่..ก็คงจะดีกว่า ก็เหมือนเรายิ่งขุดหลุมทางความรู้สึกให้ลึกขึ้น ลึกขึ้น ลึกขึ้นทุกวัน
บนความสัมพันธ์ไม่มีใครถูก 100 % และไม่มีใครผิด 100 % ทุกอย่างอาจเกิดขึ้นจากทั้งคู่ บางครั้งคนที่เราควรใจดีให้มากที่สุดก็คือตัวเอง
ยอมรับและให้อภัยตัวเองบ้าง ให้โอกาสตัวเองได้เริ่มมีความสุขจงเรียนรู้ว่ามนุษย์ทุกคนมีข้อบกพร่องและช่องโหว่ในการทำผิดพลาดได้
การที่ใครสักคนเข้ามาหักหลังหรือทำลายความเชื่อใจที่เรามีให้ จงตระหนักว่าการที่เขาเข้ามาทำร้ายเรานั้น ไม่ใช่เพราะว่าเราสมควรถูกทำร้าย ไม่ใช่เพราะเราเป็นแบบนี้เขาเลยเลือกที่จะมาทำร้ายเรา แต่เขามาทำร้ายเราเพราะเขาเป็นคนแบบนั้น
3.ออกไปใช้ชีวิตซะ !!
เมื่อเราเพิ่งเลิกกับแฟนมา แน่นอนว่าความเจ็บมันยังเข้มข้นอยู่ เพราะบาดแผลยังใหม่อยู่ แต่การยิ่งปล่อยให้ตัวเองเจ็บและกักขังตัวเองไว้ ยิ่งเป็นการสร้างแผลทางใจ ส่งผลต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตในมิติอื่น ๆ อีกด้วย
เพราะฉะนั้นอย่าหยุดที่จะออกไปใช้ชีวิต หากิจกรรมที่ทำให้ตัวเองไม่จมอยู่กับความเศร้าและความเจ็บปวด โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ถือเป็นการเยียวยาบาดแผลทางใจได้ดีมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่ช่วยคลายความเครียด ระงับความโกรธ และความคับข้องใจ และยังทำให้สมองของเราหลั่งสารเอ็นโดฟินซึ่งช่วยให้เรารู้สึกดีด้วย
ลองสังเกตอาการกันดูว่าแผลทางความสัมพันธ์ทำให้เราปิดใจจากการมีความรักครั้งใหม่หรือเปล่า ? ซึ่งในความเป็นจริง เราไม่จำเป็นต้องมีคู่ชีวิต มีแฟน หรือสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ก็ได้ แต่ถ้าอาการ Pistanthrophobia กำลังกลายเป็นแผลทางใจ ก็ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
Pistanthrophobia โรคนี้จะได้รับการวินิจฉัยเมื่อเกิดปัญหาต่อสภาพจิตใจและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันนานติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป สำหรับวิธีการรักษาแพทย์จะใช้วิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) เพื่อรักษาและเยียวยาจนกระทั่งอาการเริ่มดีขึ้น เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี และการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.unlockmen.com/man-up-grower-101
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1792286
https://www.facebook.com/themomentumco/photos/a.1636533129971718/2841484852809867/
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:58 63 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:56 45 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:39 65 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:12 48 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:08 50 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 16:07 48 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 15:02 50 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 15:01 56 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 14:58 56 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 14:26 60 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 13:17 80 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 12:50 97 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 12:47 76 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 12:43 83 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 12:06 87 views
ข่าว
30 ต.ค. 2567 11:57 83 views