วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567
13 พ.ค. 2566 10:24 | 597 view
@kan
เก็บแล้วรวย! เทคนิคจัดการเงินแบบ 6 โหล
ว่ากันว่าความรวยนั้นดูจากเงินที่เหลือเก็บในแต่ละเดือน เพราะบันไดขั้นแรกที่จะนำบุคคลทั่วไปสู่ความร่ำรวยได้ แต่ต้องมี “การบริหารจัดการเงิน” ที่ดีด้วย ซึ่งทำอย่างไรให้เหลือเก็บนั้นก็มีวิธีหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ “JARS money management system” หรือ เรียกเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า “ทฤษฎีเงิน 6 โหล” ของ T.Harv Eker ผู้เขียนหนังสือ “ถอดรหัสลับสมองเงินล้าน (Secrets of the Millionaire Mind)” พร้อมแล้วก็ขอเชิญผู้อ่านทุกท่านหยิบ แก้วโหล กระปุกหมูออมสินออกมา แล้วมาเริ่มเก็บเงินแบบ 6 โหลกันเลย
อะไรคือทฤษฎีเงิน 6 โหล?
JARS money management system เป็นวิธีการจัดการเงินที่คิดค้นขึ้นโดย T. Harv Eker ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเงิน และผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Secrets of the Millionaire Mind” วิธีการนี้มีจุดประสงค์ให้แต่ละคนตั้งแต่มหาเศรษฐี จนไปถึงแม่บ้าน สามารถจัดการเงินในแต่ละเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โหลที่ 1: 55% สำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (Necessity)
เงินโหลแรกนี้ เป็นเงินที่เอาไว้ใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าประกัน ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าใช้จ่ายทุกสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตแต่ละวัน โดยจะคิดเป็น 55 % ของรายได้ เงินที่ต้องออมในโหลนี้ถือเป็นเงินที่ต้องจ่ายทุกเดือน ซึ่งถ้าหากคุณปรับลดให้จ่ายน้อยลงไม่ได้ ก็อาจจะต้องมองหารายได้ให้มากขึ้น
โหลที่ 2: 10% สำหรับค่าใช้จ่ายระยะยาว (Long Term Savings For Spending (LTSS)
โหลที่ 2 สำหรับใช้จ่ายระยะยาว เป็นโหลที่มีความสำคัญ และต้องจัดสรรให้ดีที่สุด เพราะนี่คือเงินส่วนที่ต้องเตรียมไว้เพื่อ ‘อนาคต ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งเงินซื้อรถ หรือซื้อบ้าน วางแผนแต่งงาน ลงทุนให้งอกเงย เงินสำรองยามฉุกเฉิน ไปจนถึงวางแผนเที่ยวต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งถ้าบางเดือน คุณมีเงินเก็บมากขึ้น อาจลองขยายสัดส่วนโหลนี้ให้เป็น 15% ก็ได้
โหลที่ 3: 10% สำหรับให้รางวัลตัวเอง (Play Jar)
อยากทานอาหารสุดหรูบ่อยๆ อยากพักผ่อนช่วงหยุดยาวเยอะๆ หรือ กินอาหารดีๆ ซื้อของที่อยากได้มานาน โหลนี้เกิดมาเพื่อตอบโจทย์ความสุขส่วนตัวของคุณ กฎของโหลนี้ คือ ต้องใช้ให้หมดทุกเดือน เพื่อป้องกันการใช้มากเกินไปในเดือนอื่นๆ หรือไม่กล้าใช้เลย อย่ามองว่าเงินส่วนนี้เป็นของฟุ่มเฟือย เพราะการตอบแทนตัวเองที่ทำงานหนัก เพิ่มความสุขทางใจในทุกเดือนของคุณ ก็นับเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
โหลที่ 4: 10% สำหรับพัฒนาตัวเอง (Education Jar)
เพราะการศึกษาจะไม่แพง ถ้าเรามีเงินเพียงพอ! โหลที่ 4 เป็นโหลสำหรับการลงทุนเพื่อปัจจุบัน และอนาคต ใช้เงินส่วนหนึ่งไปกับคอร์สเรียนที่น่าสนใจ และเพื่อพัฒนาตัวเอง หรือเพิ่มสกิลที่สำคัญต่ออาชีพ พัฒนาสกิลความสามารถ และเพิ่มโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อนำมาแบ่งใส่โหลทั้ง 6 ใบ ดังนั้นควรลงทุน 10% ของเงินของคุณในโถนี้เสมอ
โหลที่ 5: 10% สำหรับลงทุนเพื่อการเกษียณ และอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom Account – FFA)
โหลที่ 5 ถือเป็นโหลแห่งความมั่งคั่ง ยิ่งมีเงินเติมในโหลนี้มากเท่าไร คุณก็ยิ่งอยู่ใกล้อิสรภาพทางการเงินขึ้นเท่านั้น และใช้ชีวิตวัยเกษียณได้อย่างสบายใจมากเท่านั้น เพราะเงินในโหลนี้เอาไว้ใช้สำหรับลงทุนเพื่อ ‘อนาคต’ (ระยะยาว) โดยเฉพาะ อาจเลือกลงทุนในกองทุน หุ้น อสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่สร้าง Passive Income ได้ตลอด แม้ในขณะที่คุณไม่ได้ทำงานก็ตาม นอกจากนี้เมื่อใกล้ถึงวัยเกษียณ โหลนี้ก็ยังมีความสำคัญมาก เพราะการออมเงินเล็กน้อยในรายเดือน อาจงอกเงยเป็นจำนวนมากในภายหลังได้ เรียกได้ว่าออมโหลนี้เยอะๆ ตั้งแต่วันนี้ มีชัยไปกว่าครึ่ง
โหลที่ 6: 5% สำหรับแบ่งปันและทำการกุศล (Give Account)
เงินโหลนี้ถูกออกแบบเพื่อใช้แล้วได้ความสุขทางใจ โดยเฉพาะ เนื่องจากตอนนี้คุณสามารถจัดการการเงินได้ดีขึ้นมากแล้ว ก็ถึงเวลาใช้เงินช่วยเหลือผู้อื่น หรือซื้อของขวัญให้เพื่อนของคุณ เซอร์ไพรส์พ่อแม่ในโอกาสพิเศษก็ใช้เงินกระปุกนี้ได้ และยังสามารถนำเงินบริจาคไปลดหย่อนภาษี เป็นประโยชน์อีกทางหนึ่งได้อีกด้วย
ตัวอย่างการเก็บเงินด้วยทฤษฎี 6 โหล
เพื่อให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น นี่คือตัวอย่างว่าคุณควรแบ่งสัดส่วนใส่โหลทั้ง 6 ใบ ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังต่อไปนี้
โหลที่ 1: 55% สำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (Necessity)
เมื่อจัดสรร 55% ของรายได้ของคุณแล้ว เงิน 14,850 บาท จะไปอยู่ที่โหลนี้
โหลที่ 2: 10% สำหรับค่าใช้จ่ายระยะยาว (Long Term Savings For Spending (LTSS)
เมื่อจัดสรร 10% ของรายได้ของคุณแล้ว เงิน 2,700 บาท จะไปอยู่ที่โหลนี้
โหลที่ 3: 10% สำหรับให้รางวัลตัวเอง (Play Jar)
เมื่อจัดสรร 10% ของรายได้ของคุณแล้ว เงิน 2,700 บาท จะไปอยู่ที่โหลนี้
โหลที่ 4: 10% สำหรับพัฒนาตัวเอง (Education Jar)
เมื่อจัดสรร 10% ของรายได้ของคุณแล้ว เงิน 2,700 บาท จะไปอยู่ที่โหลนี้
โหลที่ 5: 10% สำหรับลงทุนเพื่อการเกษียณ และอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom Account – FFA)
เมื่อจัดสรร 10% ของรายได้ของคุณแล้ว เงิน 2,700 บาท จะไปอยู่ที่โหลนี้
โหลที่ 6: 5% สำหรับแบ่งปันและทำการกุศล (Give Account)
เมื่อจัดสรร 5% ของรายได้ของคุณแล้ว เงิน 1,350 บาท จะไปอยู่ที่โหลนี้
แล้วทฤษฎีเงิน 6 โหล ทำให้คนรวยได้อย่างไรกันนะ?
เรียกได้ว่าทฤษฎีเงิน 6 โหล มีความโดดเด่นอยู่ที่ระบบการจัดการเงิน และทำให้คนธรรมดาสามารถมีเงินใช้อย่างไม่ขาดมือ เพราะการแบ่งรายได้ของคุณออกเป็น 6 หมวดนี้ จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณจัดสรรเงินอย่างสมดุล และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
1.ทฤษฎีเงิน 6 โหล เสริมสร้างนิสัยการออม
โดยการแบ่งรายได้ออกเป็นโหลต่างๆ และแบ่งเปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่มีลงโหลแต่ละใบ ทำให้เกิดการออมเงิน และเก็บเงินแยกออกมาไว้เพื่อเป้าหมายในอนาคต สิ่งนี้จะช่วยสร้างนิสัยการออม และสร้างความมั่งคั่ง
ระบบ JARS หรือ ทฤษฎีเงิน 6 โหล เป็นการเก็บเงินที่จะกระตุ้นให้ผู้คนที่ใช้จัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่าย เพราะจะเห็นได้ว่าโหลรายได้ หรือโหลที่ 1 เน้นไปที่การจัดสรรรายได้ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและเป้าหมายทางการเงินอื่นๆ ให้เป็นเปอร์เซ็นต์ และเงินคงที่ตลอดทั้งเดือน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยหยุดพฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัว
ทฤษฎีเงิน 6 โหล ยังเน้นความสำคัญของการลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายได้แบบ Passive Income เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือธุรกิจ ซึ่งสามารถสร้างสินทรัพย์ หรือเงินเพิ่มเติมที่สามารถสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้
ทฤษฎีเงิน 6 โหล ทำให้หลีกเลี่ยงการตัดสินใจใช้จ่ายแบบหุนหันพลันแล่น หรือใช้จ่ายตามอารมณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพทางการเงินของคุณเอง การเก็บเงินด้วยทฤษฎีเงิน 6 โหล ต้องยึดตามเปอร์เซ็นต์ที่จัดสรรไว้ ออมแบบมีระเบียบวินัย และความสม่ำเสมอ
ข่าว
21 พ.ย. 2567 16:08 30 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 14:38 53 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 14:23 41 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 13:26 58 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 13:24 63 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 13:20 36 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 12:40 79 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 12:17 65 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:57 71 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:54 59 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:45 94 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:56 92 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:54 115 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:33 86 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:26 93 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 09:57 86 views