×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2568

?>

4 ขั้นตอนเกษียณแบบไม่ลำบาก ฉบับคนเริ่มต้นวางแผนทางการเงินช้า

 0 543 : | 960 view

 @admin

Facebook X Share
     พอพูดถึงคำว่าเงินเกษียณภาพแรกที่ปรากฏในสื่อก็คือเงินจำนวนหลายล้าน บางที่ก็บอกว่าต้องมี 10 ล้าน ถึงจะเกษียณไม่ลำบาก บางที่ก็บอกว่าต้องมี 30 ล้าน ถึงจะอยู่ได้ ยังไม่นับรวมค่าเงินเฟ้อ  พอเห็นตัวเลขเหล่านี้หลายคนอาจท้อใจ และคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเงินมากขนาดนั้น จนเป็นที่มาของวลีติดตลกว่า พร้อมเกษียณมีเงินใช้จนตาย แต่ต้องตายพรุ่งนี้ ซึ่งก็ถูกใจชาวโซเชียลกันยกใหญ่  ซึ่งการขาดความรู้ทางการเงินและกลัวเรื่องตัวเลขเงินเกษียณเป็นสาเหตุหนึ่งที่กลายเป็นการออมเงินช้า หรือไม่ออมเลย ทำให้ผู้สูงอายุกว่า 41.4% มีเงินออมต่ำกว่า 5 หมื่นบาท และรอพึ่งรัฐสวัสดิการจากรัฐบาลที่มีเพียง 600 บาทต่อเดือนเท่านั้น   4 ขั้นตอนเกษียณแบบไม่ลำบาก แม้เริ่มต้นช้า ข้อมูลจาก aomMONEY ได้สรุปข้อมูลการวางแผนทางการเงินสำหรับคนที่เริ่มต้นช้า จากสัมนาหลักสูตรเงินทองต้องวางแผน  โดย ดร. อัจฉรา โยมสินธุ์ วิทยากรด้านการเงิน และอดีตหัวหน้าภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ ม.กรุงเทพ  ไว้ว่า  . 40 แล้วยังไม่เริ่มวางแผนทางการเงินฟังดูอาจช้า แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย เพราะ "ตายแล้ว...แต่ยังใช้เงินไม่หมด" กับ "สุดสลด...เงินหมด แต่ยังไม่ตาย" แบบหลังน่าจะน่ากลัวกว่า   ขั้นตอนที่ 1 ถามตัวเองให้ได้ว่าต้องการชีวิตแบบไหน แผนเกษียณ คือแผนเฉพาะบุคคล แผนแบบที่เราต้องการตอบโจทย์ตามไลฟ์สไตล์ของเรา ดังนั้นการวางแผนเกษียณเราต้องถามตัวเองว่าหลังเกษียณแล้วเราอยากจะใช้ชีวิตแบบไหนกันแน่? แล้วตั้งเป้าหมายตามนั้น สามารถคำนวณเพื่อประเมินจำนวนเงินคร่าวๆ ที่เราจะใช้หลังเกษียณ . สูตรที่ 1 : คำนวณจากรายได้ก่อนเกษียณ ให้คำนวณดูว่า 1 ปีก่อนเกษียณ เรามี “รายได้” เดือนละเท่าไร โดยค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ ก็คาดว่าจะใช้ประมาณ 70% ของตัวเลขนั้น เช่น ตอนอายุ 59 รายได้เดือนละ 50,000 บาท ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ 70 % ของรายได้ คิดเป็นเงินประมาณเดือนละ 35,000 บาท . สูตรที่ 2 : คิดจากรายจ่ายก่อนเกษียณ ให้คำนวณดูว่าในช่วง 1 ปีก่อนเกษียณ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไร หลังเกษียณคาดว่าจะใช้ประมาณ 70% ของตัวเลขนั้น เช่น ตอนอายุ 59 มีรายจ่ายเดือนละ 35,000 บาท ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ = ประมาณเดือนละ 24,500 บาท . สามารถเลือกได้ทั้งสองสูตร หลังจากนั้นให้เอาตัวเลขค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ ไปคูณ 300 อย่างเช่นนำสูตร ที่ 1 ไปคูณ 300 จะได้ผลลัพธ์คือ 35,000 x 300 = 10.5 ล้านบาท นี่คือเงินก้อนที่เราต้องมีเพื่อใช้ชีวิตเกษียณ ซึ่งตัวเลข 300 นี้ มาจากจำนวนเดือนที่คาดว่า เราจะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ . ขั้นตอนที่ 2 ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้  พอเจอตัวเลขหลายคนอาจจะตกใจและท้อรอเพียงวันที่ถูกรางวัลที่ 1 เพื่อจบปัญหาแต่ต้องบอกว่าอย่าพึ่งตกใจว่าเราต้องมีเงินก้อนทีเดียว  10 ล้าน เราไม่ได้ถอนเงินออกมาใช้ทีเดียวทั้งหมด แต่ค่อยๆ ทยอยถอนออกมาใช้ต่างหาก นั่นแปลว่าเรายังมีโอกาสทำให้เงินงอกเงินขึ้นมาได้  สิ่งสำคัญคือ “อัตราผลตอบแทน” ถ้าเรามีความรู้ในการลงทุนเราจะทำให้วางเงินไว้ถูกที่ เงินก็จะเติบโตได้มากขึ้น . ซึ่งการลงทุนที่ ดร.อัจฉรา แนะนำสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็คือให้ออมเงินเต็มอัตรา 15% เพราะเป็นการลงทุนง่ายที่สุด แทบไม่ต้องทำอะไรเลย แม้ว่าปัจจุบันผลตอบแทนอาจจะไม่ถึง 5% แต่เมื่อมองระยะยาวแล้วก็ถือว่าคุ้มค่า หรืออย่างน้อยก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ทันที . หรือถ้าใครรู้สึกว่าเป้าหมายเกษียณดูไกลเกินเอื้อมสามารถทำได้ 2 วิธีคือ  “ขยายระยะเวลาทำงานให้ยาวขึ้น” เพื่อให้มีเวลาสะสมเงินมากขึ้น หรือ “ปรับลดเป้าหมาย” จากที่ตั้งเป้าใช้เงินเดือนละ 50,000 ก็เหลือ 30,000 บาท ให้เหมาะสมกับตัวเรา . ขั้นตอนที่ 3 ทำงบดุลชีวิต  สิ่งที่จะทำให้รู้สถานะทางการเงินที่ชัดเจนคือต้องแจกแจง “สินทรัพย์” และ “หนี้สิน” ตามรายละเอียดดังนี้ . สินทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท - สินทรัพย์สภาพคล่อง มีไว้เพื่อรักษาความปกติสุขในชีวิต เช่น เงินสำรอง ควรมี 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ฝาก-ถอนได้ทันที -สินทรัพย์ใช้ส่วนตัว มีไว้เพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น รถ บ้าน โทรศัพท์มือถือ  -สินทรัพย์ลงทุน มีไว้เพื่ออนาคต เป็นส่วนหนึ่งของเงินที่จะใช้ 300 เดือนหลังเกษียณ . หนี้สิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือหนี้ระยะสั้น (อายุหนี้ไม่เกิน 1 ปี) และหนี้ระยะยาว ซึ่งรวมแล้วไม่ควรเกิน 50% ของสินทรัพย์ทั้งหมด เช่น ถ้ามีสินทรัพย์ 2 ล้าน ก็ควรมีหนี้ไม่เกิน 1 ล้าน . ถ้าเรามีสินทรัพย์รวม มากกว่าหนี้สินรวม แปลว่าเรามีความมั่งคั่ง (รวย) ถ้าเรามีหนี้สิน มากกว่าสินทรัพย์รวม แปลว่าเรามีความมั่งคั่งติดลบ เสี่ยงล้มละลาย (จน) . ขั้นตอนที่ 4 ทำบัญชีรายรับรายจ่าย  สิ่งที่จะช่วยให้เรามีเงินออมเหลือเพิ่มขึ้น ก็คือการทำ “งบสแกนกรรม” หรือการบันทึกรายได้-รายจ่ายแต่ละเดือนนั่นเอง เพื่อสำรวจค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตว่าอะไรจำเป็นมาก จำเป็นน้อย  . ค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.ค่าใช้จ่ายจำเป็น ส่วนนี้คือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่ง “เงินออม” ก็ควรเป็นค่าใช้จ่ายรายการแรกของแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน รวมถึง “ค่าใช้จ่ายผ่อนหนี้” รวมแล้วไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ 2.ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยมักจะเกิดจากความต้องการ (Want) มากกว่าความจำเป็น (Need) ดังนั้นถ้าปรับลดได้ก็มีโอกาสเพิ่มเงินเก็บได้มากขึ้น 3.ค่าใช้จ่ายอบายมุข ข้อนี้ ควรรีบลดละเลิกโดยเร็วที่สุด ถ้าอยากมีชีวิตเกษียณที่มั่นคง มั่งคง ไม่จน . สิ่งที่จะทำให้คนล้มเหลวในการวางแผนเกษียณ ไม่ใช่การมีเงินน้อย แต่คือการไม่เริ่มทำเสียที ดังนั้นแผนเกษียณไม่มีคำว่าสาย มีแต่คำว่าต้องทำทันที เพื่อชีวิตอิสระที่ออกแบบได้ในบั้นปลายชีวิต   ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ AomMoney https:bit.ly/3CzENnK https:bit.ly/3jT4sQZ

  #TV5HD

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา เผยโครงการ "เที่ยวไทยคนละครึ่ง" เตรียมเปิดลงทะเบียนอีกครั้งใน 1-2 วันนี้ ย้ำไม่จำกัดจำนวนสิทธิ์

8 ก.ค. 2568 13:26 50 views

ข่าว

‘รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย’ดีเดย์ราคาเดียว 1 ตุลาคม นี้

8 ก.ค. 2568 13:22 43 views

ข่าว

‘สาวอดีตคนสนิท สว.’ ยื่นร้องจริยธรรม ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

8 ก.ค. 2568 12:24 74 views

ข่าว

"ไปต่อไม่ไหว" ครม.เห็นชอบ ถอนร่างฯพรบ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์

8 ก.ค. 2568 12:15 58 views

ข่าว

นฤมล หนีบ "ลินธิภรณ์- เทวัญ" เข้ากระทรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนปฏิบัติหน้าที่

8 ก.ค. 2568 12:05 54 views

ข่าว

"อิ๊งค์" เข้า ครม. ชี้แจงประเด็นร้อนการเมือง-วัฒนธรรม ปมกัมพูชาสอดไส้ชุดไทยขึ้นทะเบียนมรดกโลก

8 ก.ค. 2568 11:46 115 views

ข่าว

'กรณ์'ชี้ไทยเจอภาษีสหรัฐฯ 36% เลวร้ายที่สุด จี้รัฐบาลทบทวนงบ 69 รับมือวิกฤตเศรษฐกิจ

8 ก.ค. 2568 11:33 55 views

ข่าว

โอกาสใหม่เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น! รพ.จุฬาฯ นำเทคนิค HGNS รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับสำเร็จ เพิ่มทางเลือกผู้ป่วยในไทย

8 ก.ค. 2568 11:32 63 views

ข่าว

‘พิชัย’ เชื่อปิดดีลภาษีสหรัฐฯ ได้ก่อน 1 ส.ค. ต่ำกว่า 36% ยันมีแผนสำรอง

8 ก.ค. 2568 11:27 58 views

ข่าว

‘ภูมิธรรม’ อ้างโยก 2 อธิบดี เพราะทำงานไม่สนองปราบยาเสพติด

8 ก.ค. 2568 11:06 138 views

ข่าว

ปอศ. ทลายแก๊ง "ป่วยทิพย์" เคลมประกันโควิด

8 ก.ค. 2568 11:01 80 views

ข่าว

ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ เผยแต่งตั้งนายพลวาระปี 2568 ไม่เลื่อน แม้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่

8 ก.ค. 2568 10:43 69 views

ข่าว

“สุริยะ" มอบ ”ศึกษิษฏ์“  สั่งการธนาคารที่ดิน ช่วยประชาชนมีที่ทำกิน

8 ก.ค. 2568 10:34 67 views

ข่าว

เชียงใหม่! ผู้ป่วยไข้เลือดออกพุ่ง 3 เท่าตัว สสจ.เตือนเฝ้าระวัง 5 อำเภอเสี่ยง

8 ก.ค. 2568 10:21 64 views

ข่าว

รมว.แรงงาน เผยเตรียมชง ครม. ขยายเวลาแรงงานเมียนมาอยู่ในไทยต่ออีก 6 เดือน

8 ก.ค. 2568 10:05 170 views

ข่าว

ราคาทองวันนี้ 8 ก.ค. 68 

8 ก.ค. 2568 10:01 90 views