วันพุธที่ 2 เมษายน 2568
4 ส.ค. 2566 20:23 | 7863 view
@admin
จับตาปรากฎการณ์ เอลนีโญ เตรียมรับมือภัยแล้ง ส่งผลให้อุณหภูมิร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ คาดการณ์ว่าจะลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. ปี 2567 ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอาหาร เพราะอาจจะทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง เอลนีโญ ปรากฎการภัยแล้งที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ "เอลนีโญ" เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นการแปรปรวนของระบบภูมิอากาศที่ทรงพลังที่สุดในโลก ซึ่งเอลนีโญมีชื่อเต็มว่า ENSO ย่อมาจาก El Nino/Southern Oscillation ซึ่งเป็นคำเรียกรวมปรากฏการณ์เอลนีโญ กับความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ เกิดขึ้นครั้งล่าสุดในปี 2561-2562 ที่โลกทำสถิติร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยเชื่อว่าปี 2024 อาจทุบสถิติเดิมเมื่อ 2016 เอลนีโญจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้นทะลุ 1.5 องศาเซลเซียส สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้อันเป็นผลจากปรากฏการณ์นี้ มีทั้งการก่อให้เกิดภาวะแล้งมากกว่าปกติในบางพื้นที่ของเอเชียและออสเตรเลีย คล้ายกับในแอฟริกาที่เอลนีโญจะส่งผลให้แล้งกว่าปกติอยู่แล้ว ส่วนทางตอนใต้ของสหรัฐฯ อาจมีฝนตกมากขึ้น ในฤดูหนาวที่จะถึงปลายปีนี้ ขณะที่ฤดูมรสุมในอินเดียอาจอ่อนกำลังลงกว่าปกติ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะมีผลไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิปี 2024 และหลังจากนั้นผลกระทบจะค่อยๆ ลดลง ประกอบกับข้อมูลจาก National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ที่รายงานว่า พื้นที่ทั่วโลกในปี 2566 ทำลายสถิติอากาศร้อนที่สุดในรอบ 174 ปี โดยอุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นอยู่ที่ +0.87 °C สูงขึ้นมากกว่าปี 2000 ซึ่งอยู่ที่ +0.34 °C เท่านั้น ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะลากยาวไปจนถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก เอลนีโญ ส่งผลให้เกิดภัยแล้งหนัก ฝนขาดช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าทุกปี ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ รวมถึงระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารในมหาสมุทรจะแย่ลง ฝูงปลามีจำนวนลดลง นกชายฝั่งขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ ขณะที่ทางชายฝั่งประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้ จะเกิดพายุฝนอย่างหนัก อาจมีน้ำท่วมและดินถล่มอย่างรุนแรง มีการพยากรณ์อากาศจาก องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมปีนี้ มีโอกาส 60% ที่จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ และภายในสิ้นเดือนกันยายน 2566 มีโอกาสมากถึง 80% ที่จะเกิดเอลนีโญ ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทย ก็มีคำพยากรณ์ออกมาในทิศทางเดียวกัน คือ คาดการณ์ปี 2566 ไทยมีแนวโน้มจะพบปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อน และจะเกิดยาวไปถึงปี 2567 สำหรับประเทศไทยปรากฎการณ์เอลนีโญได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนและอาจลากยาวไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า 2567 ซึ่งส่งผลให้ปริมาณฝนปีนี้น้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ 5 % และจะเกิดฝนจะ ทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายน - กลางเดือนกรกฎาคม และจะทิ้งช่วงอีกครั้งในช่วงเดือนกันยายน ทำให้เกิดพื้นที่แล้งซ้ำซาก ในส่วนของภาคเกษตรกรรมยืนยันว่าปีนี้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกทำนาปีได้ตามปกติ แต่หลังจากนั้นอาจจะต้องให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง ไทยเตรียมพร้อมรับมือ “เอลนีโญ” ปัจจุบันกรมชลประทานได้ส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน เพื่อให้เกษตรกรได้เพาะปลูกแล้ว และจะเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันก่อนน้ำหลากในช่วงกลางเดือนกันยายน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความ เสียหายจากอุทกภัย นอกจากนี้ ได้กำชับให้โครงการชลประทานทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2566 ที่กรมชลประทานกำหนด ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามมาตรการรองรับฤดูฝนปี 2566 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติกำหนด อย่างเคร่งครัด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้มากที่สุด ดังนั้นคนไทยจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับ “ภัยแล้ง” ที่จะมาถึงในปีนี้ โดยการช่วยกันประหยัดทรัพยากรน้ำให้เพียงพอในช่วงวิกฤติภัยแล้ง
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:20 171 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:16 146 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:13 151 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:32 173 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:23 229 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:23 141 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:05 143 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:51 269 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:34 163 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:31 153 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:18 113 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:17 147 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:54 169 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:34 174 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:19 217 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:01 177 views