วันพุธที่ 2 เมษายน 2568
4 ส.ค. 2566 20:23 | 4574 view
@admin
เสาร์ไม่หยุด อาทิตย์ไม่ท้อ ดึกดื่นยังทำงานต่อ ยาว ๆ ไปเลยยังไหว คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่หรือเปล่า ? การปลูกฝังมารุ่นต่อรุ่นว่าต้องขยัน ต้องทำงานให้หนัก เพื่ออนาคตจะได้ไม่ลำบาก อาจเป็นกับดักที่ทำให้เราเผลอเสพติดการทำงานหามรุ่งหามค่ำ และตกอยู่ในภาวะ Toxic Productivity โดยไม่รู้ตัว ทำความรู้จัก Toxic Productivity Toxic Productivity หรือภาวะคลั่งไคล้ความ Productive ต้องการที่จะทำงานตลอดเวลาจนเสียสุขภาพ เพื่อให้ตัวเองรู้สึก Productive สูงสุด ทั้ง ๆ ที่อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องทำเช่นนั้นเลยด้วยซ้ำ อาจจะรู้สึกว่ายิ่งยุ่ง ยิ่งทำอะไรเยอะ ๆ จะดูเป็นคนที่เก่งและประสบความสำเร็จ ต้องบอกว่าความขยันเกินไป อยากพัฒนาตัวเองตลอดเวลา กำลังกลายเป็นกับดักความโปรดักทีฟที่คนรุ่นใหม่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าร่างกายและจิตใจจะเหนื่อยล้า หรือบอบช้ำมากแค่ไหน ก็ต้องทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้ เพื่อที่ว่าตัวเองจะได้ไม่หลุดกรอบของการเป็น “มนุษย์โปรดักทีฟ” ทั้งหมดทั้งมวลก็มาจากค่านิยมที่ปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหม่ต้องไฟแรง จนต้องรีบเติบโต ต้องพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดพัก รวมถึงวัฒนธรรมการทำงานที่เอาแต่เชิดชูการโหมงานหนัก ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนเป็น Toxic Productivity แบบไม่รู้ตัว Check list คุณกำลังกลายเป็น Toxic Productivity หรือยัง? 1.เป็นคนทำงานหนักเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา หรือความไม่สบายใจบางอย่าง พยายามทำงานหนักเพื่อให้ลืมช่วงเวลาที่ไม่อยากนึกถึง ใช้ความสำเร็จจากการทำงานเติมเต็มความไม่สบายใจ 2.มองว่าคุณค่าตัวเองขึ้นอยู่กับเนื้องาน รู้สึกว่าตัวเองจะมีค่าก็ต่อเมื่อได้สร้างผลงานดีๆ ที่มีประสิทธิภาพ 3.พร้อมทำงานทุกเมื่อ ร่างกายและสมองไม่มีกลไกปิดสวิตช์การทำงาน คอยมอนิเตอร์งานอยู่ตลอด เช่น เช็กไลน์ เช็กอีเมล ตลอดเวลาแม้กระทั่งวันหยุด หรือนอกเวลางาน เพราะกลัวจะพลาดอะไรไป และที่สำคัญคือเมื่อคุณเริ่มมีคำถามหรือความรู้สึกแบบนี้ซ้ำ ๆ เช่น
วิธีออกจากกับดักความเป็น Toxic Productivity 1.หัดยอมรับซะว่า เรากำลังทำงานหนักเกินไป ถ้าการทำงานเยอะเกินไปเริ่มกระทบกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ และชีวิตด้านอื่น ๆ แปลว่านั่นอาจจะเริ่มเกิดปัญหาและผลกระทบต่อชีวิตถ้ายังปล่อยไว้แบบนี้ต่อไป อย่าลืมว่าชีวิตไม่ได้มีแค่การทำงานอย่างเดียว แต่มีมิติอื่น ๆ อีกด้วย 2.เลิกถามตัวเองว่า ‘ตอนนี้เราควรจะหาอะไรทำดี? ถ้าทำงานเสร็จ เราพักได้ไม่ผิด เราสมควรที่จะมอบรางวัลชิ้นใหญ่ให้กับตัวเองด้วยการพักผ่อน ไม่ใช่คิดต่อไปว่า เราควรจะหาอะไรทำ 3.โฟกัสคุณภาพงานมากกว่าชั่วโมงการทำงาน ลองปรับโฟกัสจากการต้องทำงานที่เยอะ ให้ได้เวลาที่เต็มที่ ให้มากที่สุดกว่าคนอื่น ๆ เป็นโฟกัสที่ทำชิ้นงานให้ได้มาตราฐานและมีคุณภาพที่สุดแทน เสร็จแล้วก็พักสักหน่อยเพื่อเติมพลังในวันถัดไป อาจทำให้ความรู้สึกหนักและกดดันเบาลง สรุปง่ายๆ คือความแตกต่างระหว่าง Productivity กับ Toxic productivity อยู่ที่เรารักษา ‘สมดุล’ ของงานกับชีวิตได้หรือเปล่า
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:20 182 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:16 149 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 16:13 154 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:32 176 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:23 233 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:23 144 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 14:05 147 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:51 278 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:34 167 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:31 156 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:18 116 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 13:17 150 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:54 173 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:34 177 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:19 220 views
ข่าว
1 เม.ย. 2568 12:01 180 views