×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม 2568

?>

รู้ทันโจร! รวมกลโกงออนไลน์ของมิจฉาชีพ และจุดสังเกตที่ต้องรู้

 0 543 : | 1851 view

 @admin

Facebook X Share
ยากที่จะปฏิเสธว่าโลกออนไลน์ และโซเชียลมีเดียนั้นเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบัน ไม่ว่าจะการทำงาน ทำอาชีพเสริม หรือหารักแท้ก็ล้วนแต่เกิดได้ในโลกออนไลน์ทั้งสิ้น แต่ใช่ว่าโลกออนไลน์นั้นจะมีแค่เรื่องราวดีๆ เพราะสิ่งนี้ก็มีด้านมืดอย่าง “คนโกง” และ “มิจฉาชีพ” ที่พร้อมจะมาหลอกเอาเงินของเราได้เช่นกัน  คนไหนรู้ไม่ทัน สังเกตไม่ออกก็อาจจะตกที่นั่งลำบาก ถึงขั้นหมดตัวเลยก็ได้ บทความนี้จึงขอเสนอข้อมูลให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมารู้ทันโจร พร้อมกับรวบรวมกลโกงออนไลน์ของมิจฉาชีพ และจุดสังเกตที่ต้องรู้ เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพกัน!   5 กลโกงออนไลน์ของมิจฉาชีพยอดฮิต พร้อมจุดสังเกต 1.หลอกลวงขายสินค้าออนไลน์  สายช้อปออนไลน์ อาจจะต้องระวังว่าซื้อของ แต่ไม่ได้ของ หลอกโอนเงินแล้วเชิดหนี เพราะไม่มีสินค้าส่งจริง หรือของที่ได้ช่างไม่ตรงปกอย่างรุนแรง เกินจะทำใจไหว หรือโดนโกงจากการรับหิ้วของ พรีออเดอร์ ที่โดนกันมาหนักทุกปี  จุดสังเกตการโกงประเภทนี้ คือ ราคาสินค้าที่ตั้งมักจะถูกเกินจริง ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและตัดสินใจโอนเงิน จากนั้นจะบล็อกการติดต่อทุกช่องทาง หรือมักจะอ้างว่าสินค้าที่เราสั่งไปนั้นตอนนี้ของหมดสต๊อก ถ้ายังอยากได้สินค้านี้อยู่ให้เราโอนเงินค่าส่งไปให้เพิ่มแล้วร้านจะส่งให้ โดยผู้บริโภคแบบเราๆ สามารถเช็กข้อมูลชื่อผู้ขาย เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคารของผู้ขายที่อยู่ในบัญชีคนโกงได้จาก https:www.blacklistseller.com/ ซึ่งหากมีประวัติการโกงระบบจะแสดงรายการทั้งชื่อ-นามสกุล รวมถึงสินค้า และยอดเงินทั้งหมด รวมถึงสามารถลองนำชื่อร้านค้าไปค้นหาบนแพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น ช้อปปี้ (Shopee) ลาซาด้า (Lazada) ฯลฯ เพื่อดูว่ามีตัวตนหรือ ตั้งราคาต่างจากผู้อื่นมากไปหรือไม่ และถ้าหากมีปัญหา ก็สามารถติดต่อ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212” ของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ Electronic Transactions Development Agency (ETDA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ตลอด 24 ชม.    2.หลอกให้ทำงานเสริมผ่านออนไลน์  เป็นข่าวใหญ่โตมามากมายกับกลโกงออนไลน์ประเภทหลอกให้ทำงานประเภท “ทำงานเสริมผ่านออนไลน์” เช่น ภารกิจกดรับออเดอร์สินค้าแบบ Part-time ทำออนไลน์ง่าย ๆ ที่บ้าน รายได้วันละ 200-1,000 บาท งานดูคลิปวิดีโอจากยูทูป (YouTube) หรือทำกิจกรรมออนไลน์อื่นๆ ที่เหล่ามิจฉาชีพสรรหามาออกอุบายเชิญชวนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram LINE หรือแอปพลิเคชันยอดฮิตแบบ Tiktok เป็นต้น  จุดสังเกตการโกงประเภทนี้ มักจะเป็นงานที่ไม่ต้องลงแรงเยอะ และมีข้อแม้ก่อนรับงาน หรือเบิกเงิน เช่น ประกาศรับสมัครด่วนงานดูยูทูป (YouTube) จำนวนไม่กี่คลิป แต่ก่อนจะทำงานได้ ต้องมีค่าเงินประกัน 100 บาท หรือให้กดไลก์ กดแชร์เพจใดๆ เพื่อที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม หรืองานเชิญชวนให้ทำภารกิจกดรับออเดอร์สินค้า พร้อมสมัครสมาชิกในแอปพลิเคชันที่แอดมินมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ แล้วเริ่มโอนเงิน 100 บาท แลกกับการเปิดสิทธิกดรับออเดอร์ เพื่อทำงานรับเงิน เป็นต้น โดยในช่วงแรก แน่นอนว่าผู้เสียหายจะได้เงินกลับคืนมาจริง แต่หลังจากนั้น มิจฉาชีพก็จะออกอุบายเพื่อให้ผู้เสียหายเติมเงินเข้าไปในระบบ หรือโอนเงินเพิ่ม เช่น อ้างว่ายอดเงินในระบบไม่เพียงพอ อ้างว่าเป็นค่าภาษี ค่าดำเนินการ เป็นต้น เมื่อผู้เสียหายรู้ตัวว่าถูกหลอก เหล่ามิจฉาชีพพวกนี้ก็จะหลบหนี และปิดการติดต่อไป   3.รูปแบบของ Call Center  ภัยนี้เป็นอีกภัยที่ต้องอัปเดตข้อมูลเรื่อยๆ เพราะเป็นภัยที่สำคัญมาก มีข้อมูลจากแอปพลิเคชัน “Whoscall” แอปพลิเคชันป้องกันการโกง และภัยจากโทรศัพท์ว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19ในปี 2565 นั้น มีการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงคนในประเทศไทยมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 270 จากปี 2564 ส่วนข้อความ "เอสเอ็มเอส" หลอกลวงยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57 ซึ่งการหลอกลวงลักษณะนี้ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอีก  จุดสังเกตการโกงประเภทนี้ ประการแรกที่สำคัญที่สุด หากเจอแก๊งคอลเซ็นเตอร์ คือ ถ้าเราเกิดเจอเหตุการณ์นี้ขึ้นต้องมี “สติ” และ “รู้ทัน” เพราะมิจฉาชีพพวกนี้ทำงานกันเป็นระบบ มีการกำหนดผู้เสียหายมาแล้วอย่างดี โดยกลุ่มเป้าหมายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ คนยากจน คนตกงาน ผู้ที่มีชีวิตลำบาก อยากมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นในพริบตา และคนมีฐานะ มีเงินเก็บ อยู่กับบ้านเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยตามข่าวสาร รวมทั้งทุกคนสามารถถูกหลอกให้เป็นผู้เสียหายได้ทั้งสิ้น เพราะข้ออ้างที่มิจฉาชีพใช้ มักเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้เสียหายตื่นตระหนก หวาดกลัวที่ต้องเสียเงินจำนวนมาก หรือตื่นเต้นดีใจที่จะได้รับเงิน แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ ที่อาจจะโดนมองข้ามอย่างพัสดุตกค้าง ชวนไปทำงานหารายได้เสริมให้แอปพลิเคชัน TikTok บ้างก็อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ/ธนาคาร และสถาบันการเงิน ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้ก็สร้างความน่าเชื่อถือด้วยการมีระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ เพื่อทำให้ดูเป็นการติดต่อจากองค์กรขนาดใหญ่  เหล่ากลโกงพวกนี้อาจจะทำให้ผู้เสียหายโอนเงินทันที หรือหลงกด Phishing (เทคนิคการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนบุคคลอื่น ๆ) เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือสร้างความเสียหายในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านการเงิน การธนาคารเป็นต้น  เมื่อผู้เสียหายหลงดาวน์โหลด โอนเงิน หรือคลิกที่ลิงก์ประเภท cutt.ly หรือ bit.ly ก็จะพบกับหน้าเว็บไซต์ปลอมของธนาคารซึ่งผู้โจมตีได้เตรียมไว้ เมื่อผู้เสียหายเข้าไปล็อกอิน ผู้โจมตีก็จะได้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้เสียหายไปในทันที   4.หลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแชร์หน้าจอ แก๊งคอลเซนเตอร์เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมุกที่เหล่ามิจฉาชีพใช้เข้าถึงผู้เสียหายนั้นแสนจะแพรวพราวขึ้นทุกวัน ถ้ารู้ไม่ทันอาจเสียเงิน แถมเจ็บใจเพราะตามคืนยากอีกด้วย  จุดสังเกตการณ์โกงประเภทนี้ คือ จะให้ผู้เสียหายโอนเงินให้คนร้ายโดยตรง โดยผู้เสียหายจะต้องกดลิงก์เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมในโทรศัพท์ เพื่อให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลและควบคุมโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย และเมื่อสามารถรู้รหัสผ่านในการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารแล้ว คนร้ายก็จะสามารถทำการถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของผู้เสียหายจนหมด ซึ่งคนร้ายจะสามารถเขียนแอปพลิเคชันให้มีลักษณะคล้ายกับของหน่วยงานราชการหรือองค์กรต่าง ๆ มากที่สุดเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ  ขั้นตอนการหลอกลวงของคนร้ายนั้นมักจะเริ่มต้นด้วยการแอบอ้างว่าเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชนชั้นนำ ติดต่อมาเพื่ออำนวยความสะดวก หรือเพื่อให้ผู้เสียหายทำการโหลดแอปพลิเคชันเพื่อรับโปรโมชันพิเศษใดๆ อาจมีการทำหน้าเว็บไซต์ปลอมให้ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งถ้าหากผู้เสียหายหลงเชื่อติดตั้งโปรแกรม และกดอนุญาตให้คนร้ายควบคุมโทรศัพท์ของตน ก็จะเสมือนว่าคนร้ายนั้นถือโทรศัพท์ของผู้เสียหายอยู่ จากนั้นคนร้ายก็จะใช้อุบายต่าง ๆ ในการหลอกเอาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เสียหาย โดยเฉพาะรหัส PIN ในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันการเงิน หรือหลอกให้ผู้เสียหายทำการชำระเงินจำนวนน้อย ๆ ผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร เพื่อดูว่าผู้เสียหายใช้รหัส PIN อะไร ในการทำการโอนเงิน เมื่อคนร้ายทราบรหัส PIN แล้ว จากนั้นจะบอกให้ผู้เสียหายคว่ำหน้าจอโทรศัพท์ไว้ หรือขึ้นป็อปอัพจากแอปพลิเคชันของคนร้ายเพื่อบังหน้าจอไว้ หลังจากนั้นคนร้ายก็จะนำรหัส PIN ที่ได้ไปใช้งานกับแอปพลิเคชันธนาคารเพื่อถอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหายจนหมดบัญชี 8 แอปพลิเคชันที่ควรระวัง เพราะสามารถเข้าถึงมือถือ และควบคุมได้จากระยะไกล ผู้ใช้ทั่วไปควรศึกษาอย่างดี หรือปรึกษาผู้รู้ก่อนจะดาวน์โหลด มีดังนี้
  1. TeamViewer Quick Support
  2. LogMeIn
  3. Chrome Remote Desktop
  4. Inkwire + Assist
  5. AirMore: File Transfer
6 .AnyDesk Remote
  1. RealVNC
  2. RemoDroid
การใช้งานแอปพลิเคชันทั้ง 8 นี้ก็จะคล้ายคลึงกัน คือ พัฒนามาเพื่อการควบคุมอุปกรณ์โทรศัพท์จากระยะไกล เพียงแค่ส่งตัวเลขจากในเครื่องของเราไปให้คนอื่น บุคลนั้นก็สามารถควบคุมเครื่องโทรศัพท์ของเราได้แล้ว ดังนั้นการจะให้ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลสำคัญกับใครสักคน ต้องมีสติ และคิดให้รอบคอบอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัย  
  1. ปลอม หรือแฮ็กบัญชีโซเชียลคนที่รู้จัก แล้วมาหลอกขอยืมเงิน 
ปัจจุบันมิจฉาชีพได้พัฒนาจากการสวมรอยเป็นองค์กรรัฐ และเอกชนชั้นนำ มาอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่านั้น คือ การปลอมบัญชีโซเชียลมีเดียเป็นคนรู้จัก หรือคนใกล้ตัว ที่เราอาจจะไม่ได้เห็นหน้า เห็นตามานาน ซึ่งเป็นการสุ่มเบอร์โทร สุ่มบัญชีออนไลน์ แล้วชวนคุยทางโทรศัพท์ หรือคุยแชทออนไลน์จนเราตายใจ  ถ้าเพื่อนทักแชทมาขอยืมเงิน ขอให้เราคิดให้รอบด้าน ลองชั่งใจก่อน อย่าพึ่งรีบเชื่อว่าเป็นเจ้าตัวที่ติดต่อมา เพราะบางครั้ง มิจฉาชีพที่ทำงานแบบมืออาชีพอาจสวมรอยมาก็ได้ ดังนั้นควรตรวจสอบว่าเป็นจริงตามที่กล่าหรือไม่ก่อนกดโอนเงิน  จุดสังเกตการโกงประเภทนี้ คือ เป็นบัญชีสมัครใหม่ หรือบัญชีเก่า แต่ให้เหตุผลว่าเผลอลบไป ซึ่งจุดสังเกตคือ มักจะเป็นโปรไฟล์ที่สร้างขึ้นไม่นานมาเพิ่มเราเป็นเพื่อนใหม่  มิจฉาชีพประเภทนี้ มักจะใช้บัญชีของคนที่เรารู้จัก รับรู้ความเป็นไปอย่างดี หรือบัญชีของเพื่อน หรือคนรู้จักเก่าแก่ ที่ไม่ค่อยได้เจอกันมาเป็นเวลานาน โดยจะแกล้งแชท Line หรือ Messenger หรือโทรมาคุยถามไถ่ก่อน เพราะมีจุดประสงค์ให้ผู้เสียหายนั้นบอกชื่อ ก่อนทำทีตามน้ำ สวมรอยเป็นบุคคลที่ผู้เสียหายรู้จัก และแจ้งว่ามือถือหาย เบอร์โทรมีปัญหาใดๆ ให้ผู้เสียหายบันทึกเบอร์ใหม่ หรือจำบัญชีที่ทักมานี้ไว้แทน จากนั้นจะทิ้งระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งระยะเวลาตติดต่อกลับก็อาจเร็วกว่านี้ได้ หรือเร่งด่วนให้โอนเงินทันที ด้วยกลอุบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่บ้านมีปัญหา ต้องจ่ายค่าสินค้าด่วน มีอาการเจ็บป่วย หรือเรื่องใดๆ ที่ต้องใช้เงินเร่งด่วน และผู้เสียหายก็มักจะหลงเชื่อไปเพราะการโทรกลับมาครั้งนี้นั้นเป็นเบอร์ที่ใช่ เสียงที่คุ้นเคย เรื่องที่แชทมาช่างคุ้นตา  ดังนั้นวิธีป้องกันอย่างง่าย คือ ต้องเช็คกับคนรู้จัก และคนใกล้ตัวทันทีว่าได้เกิดเหตุการณ์เร่งด่วนตามนี้จริงไหม หรือคนรู้จักของเราคนนี้เป็นคนที่มีตัวตน และสถานการณ์ตามนั้นหรือไม่ ขอให้เราๆ มีสติ คิด วิเคราะห์ ชั่งใจก่อนอย่างเพิ่งรีบเชื่อว่าเป็นเจ้าตัว เพราะบางครั้ง มิจฉาชีพแบบมืออาชีพอาจสวมรอยมาก็ได้   แนะนำ 3 เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านภัยจากโลกออนไลน์เพิ่มเติม   1.ศูนย์ PCT Police Cyber Taskforce ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเพจ Facebook นี้ เป็นแฟนเพจโดยตรงของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร) หรือ Police Cyber Taskforce (PCT) ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ PCT  นั้นมีชุดทำงานที่เป็นการรวมเจ้าหน้าที่เฉพาะทางมากมาย เพื่อมาช่วยเหลือประชาชนในด้านปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ ช่องทางติดต่อ: https:www.facebook.com/PCTPOLICE/?locale=th_TH  
  1. https:www.blacklistseller.com
เว็บ Blacklistseller เป็นศูนย์กลางการตรวจสอบการฉ้อโกงออนไลน์ เช็กชื่อและเลขบัญชีก่อนซื้อขายเพื่อป้องกันการโดนโกง เพียงใส่เลขบัญชีธนาคาร ชื่อ-นามสกุล หรือเลขบัตรประชาชนก็เช็กได้แล้วว่าใครคือมิจฉาชีพ และใครที่เคยโดนโกงก็สามารถเข้ามาแจ้งได้ที่เว็บนี้ได้ โดยเราสามารถเข้าไปเช็กข้อมูลชื่อผู้ขาย เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคารของผู้ขายที่อยู่ในบัญชีคนโกงได้จากเว็บไซต์นี้  ช่องทางติดต่อ: https:www.blacklistseller.com   3.ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ เมื่อพบปัญหาซื้อขายออนไลน์ เว็บไซต์ผิดกฎหมาย ภัยคุกคามออนไลน์ หรือข้อสงสัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ก็สามารถเข้ามาแจ้งกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC (Online Complaint Center) ได้   ช่องทางติดต่อ: โทรศัพท์ : สายด่วน 1212 อีเมล : [email protected] โทรสาร : 02-127-5789 เว็บไซต์ : www.1212ETDA.com ไลน์ :    QR Code  หรือ @1212etda เฟซบุ๊ก : facebook.com/1212ETDA    ในปัจจุบันมิจฉาชีพได้พยายามเข้าหาเหยื่อทุกวิธี  โดยทั้ง 5 กลโกงที่เราเสนอไป ก็เป็นวิธีที่หลงกลได้ง่าย เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว ก็ต้องสังเกต และหาข้อมูลเพิ่มเติมเสมอ เพราะทั้งธนาคาร และหน่วยงานรัฐ และเอกชนที่มีตัวตนใดๆ ไม่มีนโยบาย และอยู่ภายใต้ข้อกฎหมายห้ามส่ง SMS ติดต่อทาง LINE หรือ Facebook Messenger เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญแต่อย่างใด ดังนั้นเราทุกคนต้องอย่าหลงเชื่อ กรอก หรือบอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ เช่น เลขบัตรประชาชน เลขบัตรเครดิต วันเดือนปีเกิด รหัส ATM Password รวมถึงรหัส OTP ในการทำธุรกรรมการเงิน กับคนที่เราไม่รู้จักโดยเด็ดขาด

  #TV5HD

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

เตือนภัยผ่านมือถือทั่วไทย! Cell Broadcast จ่อใช้งานกลางปี 68

17 พ.ค. 2568 11:53 2 views

ข่าว

"ชมวิถีชาวเล ยลเสน่ห์มานิ 2025" พม. ชูชาติพันธุ์ไทยอย่างเท่าเทียม

17 พ.ค. 2568 11:48 14 views

ข่าว

สินค้าเกษตรไทยยังได้รับความนิยม สร้างรายได้ต่อเนื่อง เผย มูลค่าส่งออกตลาดโลก -อาเซียน ปี68 (ม.ค.-มี.ค.)พุ่งกว่าแสนล้านบาท 

17 พ.ค. 2568 10:58 36 views

ข่าว

รัฐบาลคุมเข้มมาตรการปล่อยบั้งไฟใกล้รัศมีสนามบิน ประเพณีและความปลอดภัยต้องควบคู่กัน

17 พ.ค. 2568 10:50 30 views

ข่าว

กรมธุรกิจพลังงานเผยแนวโน้มพลังงาน เบนซินชะลอตัว EV มาแรง

17 พ.ค. 2568 10:12 44 views

ข่าว

สธ.เผยเหตุแพทย์ชาวใต้ไม่มีสิทธิ์จับสลากปีนี้

17 พ.ค. 2568 09:59 57 views

ข่าว

ตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง  พศ.จ่อออกกฎคุมเข้มเงินวัด 

17 พ.ค. 2568 09:56 78 views

ข่าว

กองทัพบกไทยกระชับสัมพันธ์มิตรประเทศในเวที LANPAC 2025

16 พ.ค. 2568 20:02 236 views

ข่าว

“พราน 21” คุมเข้มพื้นที่ ตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด จับกุมผู้ต้องหาพร้อมของกลางยาบ้า พื้นที่ อ.นาแห้ว และ อ.ปากชม จ.เลย 

16 พ.ค. 2568 16:43 172 views

ข่าว

รอง ผบ.ทบ. ตรวจเยี่ยมพื้นที่ชายแดนรอยต่อไทย – มาเลเซีย พร้อมให้กำลังใจทหาร บก.ควบคุมสุริโยทัย ในพื้นที่ จ.นราธิวาส

16 พ.ค. 2568 16:39 182 views

ข่าว

ฝากขัง 15 ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง. ถล่ม ผัดแรกค้านประกัน

16 พ.ค. 2568 15:28 154 views

ข่าว

อนาคตสื่อไทยยุค AI ไม่ใช่แค่รอด แต่ต้องรุ่ง

16 พ.ค. 2568 15:19 281 views

ข่าว

พ่อแม่เยี่ยมทหารกองประจำการ ปมร้องถูกบังคับขับแกร็บ

16 พ.ค. 2568 15:16 184 views

ข่าว

พบระเบิดขว้างกลางเมือง EOD เก็บกู้ระเบิดได้ทัน

16 พ.ค. 2568 14:35 453 views

ข่าว

จับแล้ว “บอสบัญชา” หัวหน้าแก๊งหลอกลงทุน ETR

16 พ.ค. 2568 14:32 179 views

ข่าว

17 ผู้ต้องหาคดีตึก สตง. ถล่ม เข้ามอบตัวแล้ว

16 พ.ค. 2568 14:20 180 views