×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2568

?>

อนุสรณ์เสนอไทยโมเดลแก้เกมสงครามภาษี

 14 ก.ค. 2568 10:03 | 93 view

 @pracha

Facebook X Share

"อนุสรณ์ ธรรมใจ"  เสนอไทยโมเดลแก้เกมสงครามภาษี เปิดตลาดสินค้าแข่งขันได้เพิ่มแลกลดภาษีเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้สหรัฐฯแบบมีกลยุทธ์ ลดผลกระทบเกษตรกรรายย่อยปลูกข้าวโพดและเลี้ยงปศุสัตว์ผลกระทบภาษี 36% สูงกว่าหลายประเทศในเอเชีย หวั่นกระทบการลงทุนและการย้ายฐานเพิ่มการแข่งขัน เพิ่มผลประโยชน์ผู้บริโภค มุ่งเป้าบรรเทาผลกระทบเอสเอ็มอีและแรงงาน

13 ก.ค.  2568  รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่เผชิญสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (Worst Case Scenario) จากกำแพงภาษีทรัมป์ เกมเจรจาต่อรองทางการค้ายังไม่จบ ได้มีการเลื่อนเส้นตายไปวันที่ 1 ส.ค. รัฐบาลทรัมป์ใช้กลยุทธ์บีบให้ “ไทย” มีข้อเสนอที่สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์และต้องการให้ “ไทย” เปิดเสรีเปิดตลาดสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯมากยิ่งขึ้น ต้องการให้ยกเลิกมาตรการกีดกันการค้าทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาษี รวมทั้ง ระบบโควต้าเพื่อปกป้องผู้ผลิตภายใน โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เราไม่ควรเปิดตลาดสินค้าทุกประเภทด้วยอัตราภาษี 0% แบบเวียดนามเพื่อแลกกับการลดภาษีตอบโต้ทางการค้า หากเราต้องการจะทำแบบเวียดนามโมเดล เราก็อาจทำได้ยากภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองของไทย เพราะกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมภายในและกลุ่มแรงงานก็จะกดดันไม่ให้รัฐบาลเปิดตลาดและเรียกร้องให้มีมาตรการปกป้อง แต่สถานการณ์แบบนี้ไม่เกิดขึ้นในเวียดนาม เพราะเวียดนามเป็นรัฐสังคมนิยมที่ใช้ระบบการวางแผนจากส่วนกลางผสมเศรษฐกิจแบบตลาด

รัฐบาลทรัมป์ใช้กลยุทธ์การเจรจาแบบทวิภาคีและการเจรจาที่สหรัฐฯใช้ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหนือกว่าในการบีบให้คู่เจรจาเสนอผลประโยชน์ที่ดีที่สุดให้ พร้อมขู่และกดดันและเลื่อนเส้นตายไป เรื่อย ๆ จนประเทศคู่เจรจามีข้อเสนอที่พอใจ ยุทธศาสตร์การเจรจาของไทยจึงไม่ใช่ยอมเปิดตลาดสินค้าทุกประเภทให้สหรัฐฯเพื่อแลกกับการลดภาษี ต้องดูผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อระบบเศรษฐกิจและกลุ่มผลประโยชน์ทุกกลุ่ม ควรใช้วิธียอมเปิดตลาดสินค้าเฉพาะบางประเภทที่เราพอแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ หรือ เป็นสินค้าไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ส่วนสินค้าประเภทที่ยังแข่งขันไม่ได้ ต้องมีมาตรการช่วยเหลือและระบบสนับสนุนให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น ผลิตภาพสูงขึ้น แล้วจึงค่อยเปิดตลาด การเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้สหรัฐฯโดยเฉพาะสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและมีกลยุทธ์ ลดผลกระทบเกษตรกรรายย่อยปลูกข้าวโพดและเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีต้นทุนการผลิตสูง รัฐต้องหาวิธีลดต้นทุนให้กับผู้ผลิตเพื่อให้แข่งขันได้จากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เสนอไทยโมเดลแก้เกมสงครามภาษี ด้วยการเปิดตลาดเพิ่มในสินค้าที่แข่งขันได้แลกลดภาษี ทีมเจรจาของไทยต้องพยายามลดภาษีจากระดับ 36% ให้ได้ภายในวันที่ 1 ส.ค. ซึ่งเป็นเส้นตายหากเจออัตราภาษีที่สูงกว่าหลายประเทศในเอเชียมาก ผลกระทบของอัตราภาษีนำเข้าจะทำให้ภาคส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องไปถึงปีหน้า หดตัวลึกในสินค้าหลายรายการ นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบการลงทุนของต่างชาติและอาจทำให้เกิดการย้ายฐานไปยังประเทศอื่นที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า การเปิดเสรีเพิ่มเติมให้กับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯเพื่อแลกกับการลดภาษีตอบโต้ทางการค้า เป็นสิ่งที่ต้องมองในเชิงยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระยะยาวด้วย และจะทำอย่างไรให้ “สินค้าไทย” แข่งขันได้ในระยะยาวเมื่อมีการเปิดเสรีเต็มที่ด้วยอัตราภาษี 0% เมื่อเสนอเงื่อนไขนี้ให้สหรัฐฯแล้ว ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกันต่อประเทศอื่นๆซึ่งจะนำมาสู่ประโยชน์ของผู้บริโภค โดยผู้ผลิตภายในสามารถปรับตัวหากดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และ มีระบบสนับสนุนในการเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุน แปรรูปเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งทางด้านแบรนด์และการตลาด

รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต่อว่า เมื่อเทียบเคียงกับ ผลกระทบการตัดสิทธิ GSP ของอียูต่อสินค้าส่งออกของไทยในยุค คสช กับ ภาษีทรัมป์ 36% ตอนไทยถูกตัดจีเอสพี ทำให้ สินค้าไทยหลายรายการแทบหายไปจากตลาดอียูเพราะสินค้าจากประเทศคู่แข่งได้สิทธิประโยชน์ในระดับ 18-15% ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย ดร. ภัทรพงษ์ มาลาวัลย์ นักวิจัย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ (DEIIT) ได้ศึกษา “การปรับตัวของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทยหลังการถอน GSP ของอียูและสหรัฐฯช่วงปี พ.ศ. 2015-2018” โดยได้วิเคราะห์ว่า การที่สหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐอเมริกา (US) ถอนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) โดยประกาศยกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้าของไทยในปี 2015 และบังคับใช้ในปี 2018 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งสินค้าเกษตรแปรรูปหลายประเภท โดยสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1.สินค้าเกษตรประเภทสินค้าขั้นต้น (commodity) เช่น มันสำปะหลัง อาหารทะเลสดแช่แข็ง ได้ค่อย ๆ หายไปจากตลาด EU และ สหรัฐ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านราคาหลังหมดสิทธิ GSP ได้ ไทยจึงหันไปเน้นตลาดทางเลือก เช่น จีนและประเทศในเอเชียแทน 2. สินค้าเกษตรไทยปรับตัวโดยเน้นตลาด niche และสินค้าพรีเมียม เช่น organic, plant-based, functional food ซึ่งสินค้าแปรรูปที่มีมูลค่าสูงสามารถรักษาตลาด EU-สหรัฐฯ ได้ เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้แปรรูป อาหารพร้อมทาน เครื่องดื่มสุขภาพ 3. แม้จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคาจากภาษีนำเข้า 12–24% หลังหมด GSP มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและแปรรูปของไทยไป EU และสหรัฐฯ ยังคงเติบโตในระยะยาว

รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต่อว่า บทวิเคราะห์ของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) พบว่า กรณีที่ไทยโดนตัด GSP ของอียูและสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมานั้นเมื่อเทียบกับภาษีทรัมป์ผลกระทบมีความแตกต่างกันแต่ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อเทียบกับเวียดนามและฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ยังคงได้ GSP+ จาก EU และเน้นส่งออกสับปะรดกระป๋องในราคาถูกแทนที่ไทย ทำให้ได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นในกลุ่มราคากลาง–ล่าง ขณะที่ เวียดนามมี FTA กับ EU (EVFTA) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020 ส่งผลให้สินค้าหลายชนิดได้สิทธิพิเศษทางภาษีเต็มที่ ทำให้เวียดนามรุกตลาดอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและแปรรูปจากเวียดนามไป EU เพิ่มจาก 1.6 พันล้านยูโร (2014) เป็น 3.8 พันล้านยูโร (2024) เมื่อเทียบกับภาษีทรัมป์แล้ว เมื่อไทยถูกจัดเก็บภาษีนำเข้าสูงขึ้นจากมาตรการภาษีทรัมป์ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูปบางรายการ ผลกระทบจะมากกว่าการถูกตัด GSP อย่างไรก็ตาม ไทยปรับตัวด้วยการส่งออกสินค้าเกษตรพรีเมียมเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะ อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารสุขภาพและเครื่องดื่มพิเศษ เช่น functional beverages หรือ plant-based drinks ยังคงมีสินค้า commodity หรือผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่เหลืออยู่ในตลาดสหรัฐฯ เช่น สับปะรดกระป๋อง และ อาหารทะเลสดแช่แข็ง ซี่งเป็นไปได้สูงว่าจะหายไปจากตลาดสหรัฐ ไทยมีการปลูกสับปะรดโรงงานเพื่อส่งออกมากกว่า 90% ของการผลิตทั้งหมด ทำให้พื้นที่เพาะปลูกและจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ด้วยราคาตกต่ำและการแข่งขันที่รุนแรงจากฟิลิปปินส์

บทวิเคราะห์ของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) ยังได้ประเมินอีกว่า หากไทยเจอกับอัตราภาษี 36% กลุ่มสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มส่งออกลดลงอย่างมากหรือขยายตัวติดลบในตลาดสหรัฐ ได้แก่ มะพร้าวแห้งและน้ำมันมะพร้าว แข่งขันด้านราคากับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ซึ่งมี FTA กับสหรัฐฯ และได้ GSP สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด เป็น commodity ที่ราคาถูก ต้นทุนสูงขึ้นทันทีเมื่อเจอภาษี > 20% ทำให้ไม่สามารถแข่งกับฟิลิปปินส์ได้ ข้าวหอมมะลิ แม้มีแบรนด์ แต่หากโดนภาษีนำเข้า 36% จะทำให้ผู้ซื้อหันไปยังเวียดนามหรืออินเดีย อาหารทะเลแปรรูปราคากลาง เช่น ปลาทูน่ากระป๋องเกรดทั่วไป หากโดนภาษีสูงจะเสียเปรียบต่อเอกวาดอร์/ฟิลิปปินส์ น้ำผลไม้ผสม (ราคาต่ำ) ไม่ใช่ตลาด niche และผู้บริโภคอเมริกันมีทางเลือกในประเทศหรือนำเข้าจากเม็กซิโกและบราซิล

รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต่อว่า โดยหลักการแล้วการเปิดเสรีก็จะเพิ่มการแข่งขัน ลดอำนาจผูกขาดของผู้ผลิตภายในได้ กดดันให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวเพิ่มผลิตภาพ การเปิดเสรีเพิ่มขึ้นจะโอนย้ายผลประโยชน์จากผู้ผลิตมายังผู้บริโภคมากขึ้น ระยะยาวจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม หากเป็นการเปิดเสรีที่เป็นธรรม การเปิดเสรีอาจสร้างความไม่สมดุลของเศรษฐกิจภายในประเทศได้ หากภาคการผลิตภายในและภาคแรงงานไม่สามารถปรับตัวได้ดีพอ หรือ อาจกระทบความมั่นคงทางเศรษฐกิจหากภาคผลิตในบางอุตสาหกรรมไม่สามารถแข่งขันได้เลยและล่มสลายไปทั้งหมด ทำให้ไม่เหลือผู้ผลิตภายในอยู่ ต้องอาศัยการนำเข้าอย่างเดียว เช่นนี้ก็ไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาวเช่นเดียวกัน การเปิดตลาดเพิ่มเติมเพื่อแลกกับการลดภาษีของสหรัฐฯจึงต้องมีมาตรการมุ่งเป้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเอสเอ็มอีและแรงงานด้วย คาดว่า ในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องจนถึงปีหน้า หากประเทศเจอกำแพงภาษีในอัตราที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งมากๆ อาจทำให้มีเอสเอ็มอีปิดกิจการเพิ่มขึ้นพร้อมกับแรงงานที่อาจถูกปลดออกจากงาน การลดกำลังการผลิตจากการชะลอตัวของภาคส่งออก และ การขยายตัวติดลบของอุตสาหกรรมหรือภาคการบริการที่ต้องพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯเป็นหลัก จะส่งผลให้มีสูญเสียตำแหน่งงาน ภาคส่งออกและห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่เกี่ยวข้องมีบทบาทสำคัญต่อการจ้างงาน แรงงานที่ถูกลดชั่วโมงการทำงานและว่างงาน จะส่งผลต่อภาคการบริโภคให้ชะลอตัวลงแรง ทำให้กิจการหรือธุรกิจภายในอย่างเช่น ภาคการค้าภายในประเทศ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ ได้รับผลกระทบไปด้วย

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

หัวหน้าทีมไทยแลนด์ ระบุยังไม่สามารถคาดเดาผลการเจรจากับสหรัฐจะจบลงอย่างไร

14 ก.ค. 2568 14:58 47 views

ข่าว

“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” นับถอยหลัง 80 วัน ปรับขึ้นค่าขยะ จาก 20 เป็น 60 บาทต่อเดือน เริ่มตุลาคมนี้

14 ก.ค. 2568 14:51 54 views

ข่าว

พิชัยเผยไทยเตรียมส่งข้อเสนอเจรจาภาษี 0% เพิ่มสินค้าบางรายการ

14 ก.ค. 2568 14:46 46 views

ข่าว

'จตุพร' ถกภาครัฐ-เอกชนติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา

14 ก.ค. 2568 14:44 39 views

ข่าว

สุชาติยืนยันเร่งออกกฎหมายคุ้มครองพุทธศาสนา คาด 3-4 เดือนชัดเจน

14 ก.ค. 2568 14:35 56 views

ข่าว

ทบ. เร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคเหนือ พร้อมจัดกำลังทหารช่างเข้าปรับพื้นที่ ป้องกันน้ำหลากในระยะยาว

14 ก.ค. 2568 13:53 43 views

ข่าว

ฝนถล่มเวียงแก่น เชียงราย ดินสไลด์กลางดึก หินต้นไม้ขวางถนนสายหลักขึ้นภูชี้ฟ้า รถยนต์ยังผ่านไม่ได้

14 ก.ค. 2568 13:48 62 views

ข่าว

NCT Dream เปิดตัวอัลบั้มชุดที่ 5 'Go Back To The Future' เผยท่าเต้นสุดโหด

14 ก.ค. 2568 13:35 48 views

ข่าว

ภูมิธรรมแบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทย

14 ก.ค. 2568 13:16 83 views

ข่าว

ศบ.ทก. ยันไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงทุกฝ่าย หลังพบนักท่องเที่ยวทำร้ายทหารกัมพูชา

14 ก.ค. 2568 13:10 103 views

ข่าว

‘อนุทิน’ลั่น!คว้าชัย‘ศรีสะเกษ’ เหน็บ‘เพื่อไทย’มี สส.7 คน แต่ไร้ตำแหน่ง

14 ก.ค. 2568 13:06 113 views

ข่าว

"ภูมิธรรม" สั่ง "อ.กรมที่ดิน" ชี้แจงภายใน 7 วัน เหตุใดไม่ทำตามคำสั่งศาลฯ ปมที่ดินเขากระโดง 

14 ก.ค. 2568 12:55 49 views

ข่าว

ประธานศาลรธน. ชี้นายกฯ ขอขยายเวลาชี้แจงได้อย่างน้อย 1 ครั้ง ปัดตอบกรอบเวลาวินิจฉัย

14 ก.ค. 2568 12:52 69 views

ข่าว

เลขาฯ นายกฯ ขอเวลาแจงศาลรัฐธรรมนูญ ปมคลิป "ฮุนเซน" ยันมีพยานพร้อม

14 ก.ค. 2568 12:47 75 views

ข่าว

’ภูมิธรรม‘ ยืนยันนายกฯขอขยายเวลาส่งคำร้องแก้ข้อกล่าวหาไปอีก 15 วัน

14 ก.ค. 2568 12:29 59 views

ข่าว

ตร.ไซเบอร์นำสำนวนคดีคลิปเสียงฮุนเซน-นายกฯ ยื่นอัยการสูงสุดพิจารณาตั้งคณะ

14 ก.ค. 2568 11:49 101 views