วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2568
14 ก.ค. 2568 09:47 | 104 view
@pracha
ปมภาษีสหรัฐฯป่วนตลาดหุ้น นักลงทุนต่างชาติขาย 7.96 หมื่นล้าน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) สรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตามกลุ่มนักลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-11 กรกฎาคม 2568 พบว่าสถาบันในประเทศขายสุทธิ 14,315.03 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์(โบรกเกอร์) ขายสุทธิ 13,033.46 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 79,620.59 ล้านบาท นักลงทุนในประเทศ(รายย่อย) ซื้อสุทธิ 106,969.08 ล้านบาท
เฉพาะช่วงวันที่ 1-11 กรกฎาคม 2568 พบว่าสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2,949.62 ล้านบาท โบรกเกอร์ขายสุทธิ 520.04 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 927.83 ล้านบาท รายย่อยขายสุทธิ 1,501.76 ล้านบาท
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวผันผวน แต่กลับมาปิดสูงกว่าระดับปิดสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ดัชนีหุ้นไทยขยับขึ้นเล็กน้อยช่วงต้นสัปดาห์ จากคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนของไทยยังคงติดลบต่อเนื่อง แม้จะมีปัจจัยกดดันจากประเด็นที่สหรัฐฯ เตรียมออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) มายังไทยและมาเลเซียก็ตาม
อย่างไรก็ดีดัชนีหุ้นไทยร่วงลงแรงในเวลาต่อมาจนถึงช่วงกลางสัปดาห์ หลังมีรายงานข่าวว่าสหรัฐฯ ยืนยันเรียกเก็บภาษีตอบโต้ (reciprocal tariffs) ต่อสินค้าไทยในอัตราเดิมที่ 36% ซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เกิดแรงขายทำกำไรหุ้นหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ดัชนีหุ้นไทยไม่ได้ร่วงลงแรงมากนัก เนื่องจากตลาดมองว่าสหรัฐฯ ยังเปิดช่องให้มีการเจรจาเพื่อต่อรองเพิ่มเติม สะท้อนจากการเลื่อนช่วงบังคับใช้ภาษีดังกล่าวจากเดิม 9 กรกฎาคม เป็น 1 สิงหาคม
ดัชนีหุ้นไทยกลับมาดีดตัวขึ้นอีกครั้งช่วงท้ายสัปดาห์ แรงหนุนจากแรงซื้อหุ้นบริษัทด้านพลังงานรายใหญ่แห่งหนึ่งจากข่าวการเตรียมงบลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม รวมถึงแรงซื้อหุ้นบิ๊กแคปก่อนการทยอยประกาศงบไตรมาส 2/2568 ทั้งนี้นักลงทุนยังคงติดตามประเด็นนโยบายภาษีของสหรัฐฯอย่างใกล้ชิด
แนวโน้มสัปดาห์นี้ (14-18 กรกฎาคม 2568) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,110 และ 1,100 จุด แนวต้านอยู่ที่ 1,130 และ 1,145 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลประกอบการไตรมาส 2/2568 ของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ไทย โดยเฉพาะกลุ่มแบงก์ ประเด็นเกี่ยวกับมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ รวมถึงทิศทางเงินทุนต่างชาติ
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก และข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านเดือนมิถุนายนรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมของญี่ปุ่นและยูโรโซน ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนของญี่ปุ่นและยูโรโซน ตลอดจนตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2568 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนมิถุนายนของจีน อาทิ ตัวเลขส่งออก ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
ข่าว
14 ก.ค. 2568 15:44 26 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 15:41 27 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 15:04 40 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 14:58 57 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 14:51 64 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 14:46 60 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 14:44 54 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 14:35 64 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 14:10 45 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 13:53 48 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 13:48 66 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 13:35 54 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 13:16 89 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 13:10 112 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 13:06 122 views
ข่าว
14 ก.ค. 2568 12:55 52 views