วันที่ 13 กรกฎาคม 2568
7 ก.ค. 2568 12:57 | 64 view
@noonakinth
พลตรี วิทัย ลายถมยา โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ออกมากล่าวถึงลักษณะเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ตลอดแนวมีความยาวโดยประมาณ 798 กม. แบ่งเป็น ตามสันปันน้ำ
524 กม. ตามลำน้ำ 216 กม. และตามเส้นตรงระหว่างหลักเขตแดน 58 กม. เส้นเขตแดนดังกล่าว
สยาม-ฝรั่งเศส ได้มีการปักปันเขตแดนตลอดแนว ตั้งแต่ในอดีต และทั้งสองฝ่ายได้จัดทำหลักฐานแสดงเส้นเขตแดน
การปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ในอดีต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ห้วง ดังนี้
ห้วงแรกเป็นการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ตามอนุสัญญา เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ค.ศ. 1904
และได้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตแดน หรือเรียกว่า แผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส มาตราส่วน 1 : 200,000 จำนวน 5 ระวาง โดยการปักปันเขตแดนในห้วงแรกยังไม่มีการปักหลักเขตแดนร่วมกัน โดยขณะนั้น เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ยังเป็นของสยาม
//ต่อคลิป 2 //
ห้วงที่สองเป็นการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนดินแดนกัน ในสนธิสัญญาระบุไว้ว่า “รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง
เมืองเสียมราฐกับเมืองศรีโสภณให้แก่กรุงฝรั่งเสศ” และ “รัฐบาลฝรั่งเสศยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย
แลเมืองตราษกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม” และได้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตแดน มาตราส่วน 1 : 200,000 ฉบับใหม่อีก จำนวน 5 ระวาง
//ต่อคลิป 3 //
โดยยกเลิกแผนที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดน
ชุดที่ 1 จำนวน 3 ระวาง ในบริเวณที่แลกเปลี่ยนดินแดนกัน แต่ยังเหลืออีก 2 ระวาง รวมแล้วมีแผนที่
แสดงเส้นเขตแดน มาตราส่วน 1 : 200,000 ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนทั้งสองชุดที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือ
จนถึงปัจจุบัน จำนวน 7 ระวาง
//ต่อคลิป 4 //
นอกจากนี้ในการปักปันเขตแดนห้วงที่สอง ได้มีการปักหลักเขตแดน ใช้ต้นไม้หรือเสาไม้เป็นหลักเขตแดน และต่อมา ได้จัดทำเป็นหลักคอนกรีตแทนหลักต้นไม้หรือเสาไม้ดังกล่าว โดยเริ่มจากหลักเขตแดนที่ 1 ตั้งอยู่ที่ อ.ภูสิงห์
จ.ศรีสะเกษ และปักหลักต่อ ๆ ไปทางทิศตะวันตกจนสิ้นสุดที่
หลักเขตแดนที่ 73 อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
จากผลการปักปันเขตแดนในอดีตระหว่างสยามกับฝรั่งเศสทั้งสองห้วงเวลาดังกล่าวเป็นพันธกรณีที่มี
ผลผูกพันระหว่างไทยกับกัมพูชามาจนถึงปัจจุบัน
การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนด้านกัมพูชาในปัจจุบันทำอย่างไร
ในปัจจุบันไทยและกัมพูชายังคงยึดถือเส้นเขตแดนตามพันธกรณีระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส แต่ความจำเป็น
ที่ทั้งสองประเทศต้องการทำให้เส้นเขตแดนมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นอันเนื่องมาจากหลักเดิมสูญหาย
ถูกเคลื่อนย้าย ตั้งอยู่ห่างกันมาก และบางพื้นที่ไม่มีหลักเขตแดน จึงจำเป็นต้องสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
เพื่อให้เส้นเขตแดนมีความชัดเจน รัฐบาลทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 43
//ต่อคลิป 5 //
ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 49 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สามารถสำรวจที่ตั้งหลักได้ครบ 74 หลัก มีความเห็นที่ตั้งหลักตรงกัน 45 หลัก ส่วนอีก 29 หลัก มีความเห็นแตกต่างกัน ผลการสำรวจดังกล่าวได้มีการรับรองขั้นต้นแล้ว
จากคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ไทย-กัมพูชา ในการประชุมครั้งที่ 6 ระหว่าง 14-15 มิ.ย. 68 ณ
กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
โดยใช้ข้อมูลจากการบินถ่ายภาพทางอากาศมาใช้ในการจัดทำแผนที่ทุกชุด และ
แผนที่ดังกล่าวใช้เส้นโครงแผนที่ระบบ Mercator Projection ซึ่งเป็นระบบที่ใช้พื้นผิวของ
รูปทรงกระบอกในการแปลงจากโลกทรงกลมมาเป็นแผนที่แบนราบ สามารถนำมาใช้แสดงลักษณะภูมิประเทศและเส้นเขตแดนระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสม
เส้นเขตแดนบนแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ใช้แสดงขอบเขตอธิปไตยของฝ่ายไทยซึ่งลากสอดคล้อง
ไปตามอนุสัญญาและสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แม้ว่าเส้นเขตแดนบนแผนที่มาตราส่วน
1 : 50,000 ไม่ได้มาจากการสำรวจในภูมิประเทศจริง แต่เส้นจะมีความแม่นยำในระดับดีกว่า 100 เมตร รวมทั้งเป็น การลากตามหลักฐานทางกฎหมายเป็นสำคัญ
//ต่อคลิป 6 //
แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 คืออะไร คือแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส มาตราส่วน 1 : 200,000 จัดทำขึ้นระหว่าง
ปี พ.ศ. 2448-2451 เป็นแผนที่ที่มีความถูกต้องน้อยกว่าแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000
เนื่องจากเป็นแผนที่มาตราส่วนเล็ก และจัดทำโดยการเดินสำรวจภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียว หากวัดระยะ
บนแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ได้ 1 มม. จะเท่ากับระยะ 200 ม. ในภูมิประเทศจริง แผนที่นี้ทำมาจาก
เส้นโครงแผนที่ระบบ Sinusoidal Projection
/ต่อคลิป 7 //
สุดท้ายแล้วจะต้องทำอย่างไรจึงจะมีเส้นเขตแดนที่ชัดเจนและยอมรับร่วมกัน
การหาเส้นเขตแดนที่ชัดเจนแท้จริงในภูมิประเทศนั้น จะต้องลงเดินสำรวจในภูมิประเทศร่วมกัน
ปัจจุบันสามารถนำเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลด้วยแสงเลเซอร์ที่เรียกว่า Light Detection and Ranging
(LiDAR) มาช่วยในการสำรวจภูมิประเทศได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
ทั้งหมดนี้สุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะต้องจัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ตลอดแนวขึ้นมา
ใหม่ในมาตราส่วน 1 : 25,000 และ 1 : 250,000 ซึ่งจะเป็นแผนที่ฉบับใหม่ที่แสดง
เส้นเขตแดนที่มีความละเอียดถูกต้องชัดเจนใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับ
//จบตัด//
ข่าว
13 ก.ค. 2568 11:01 40 views
ข่าว
13 ก.ค. 2568 10:47 51 views
ข่าว
13 ก.ค. 2568 10:44 48 views
ข่าว
13 ก.ค. 2568 10:37 62 views
ข่าว
13 ก.ค. 2568 10:10 61 views
ข่าว
13 ก.ค. 2568 10:07 60 views
ข่าว
13 ก.ค. 2568 10:02 66 views
ข่าว
13 ก.ค. 2568 09:58 69 views
ข่าว
13 ก.ค. 2568 09:54 67 views
ข่าว
12 ก.ค. 2568 20:27 219 views
ข่าว
12 ก.ค. 2568 17:36 162 views
ข่าว
12 ก.ค. 2568 15:46 204 views
ข่าว
12 ก.ค. 2568 14:58 187 views
ข่าว
12 ก.ค. 2568 13:42 198 views
ข่าว
12 ก.ค. 2568 13:38 177 views
ข่าว
12 ก.ค. 2568 13:35 204 views