×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2568

?>

“จิรนิติ” เผย 3 ทศวรรษศาลรธน.ยุบพรรคแทบไม่ถ้วน ช่วยไทยรอดวิกฤตทางการเมือง

 24 มิ.ย. 2568 15:44 | 610 view

 @pracha

Facebook X Share

ประธานศาลรธน.เปิดประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญ สถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย ด้าน “จิรนิติ” เผย 3 ทศวรรษศาลผ่านแรงเสียดทาน ยุบพรรคแทบไม่ถ้วน ช่วยไทยรอดวิกฤตทางการเมือง ชี้ยุคประดิษฐ์ ห่วง AI รัฐรุกล้ำสิทธิปชช.

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่โรงแรมสยาม เคมปินสกี้กรุงเทพฯ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการสมาชิกสมาคม และจัดการบรรยายสาธารณะ หัวข้อ “The Courts and the Protection of Human Rights” โดยมี นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและในฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย เป็นประธานเปิดงาน พร้อมมองของที่ระลึกให้กับวิทยากร ซึ่งการจัดการประชุมครั้งนี้ มีประเทศสมาชิกเข้าร่วม ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐทูร์เคีย สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน และการประชุมรูปแบบออนไลน์จากประเทศสมาชิก อื่นๆ ที่ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 21 ประเทศ

จากนั้น นายจิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวบรรยายหัวข้อ “3 ทศวรรษของศาลรัฐธรรมนูญไทย และความท้าทายในทศวรรษหน้า” ว่า ศาลรัฐธรรมนูญมาถึง 3 ทศวรรษแล้ว โดยในช่วงเริ่มต้นการก่อตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี 2541-2549 ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 หน้าที่สำคัญคือการตรวจสอบว่ากฎหมายระดับพระราชบัญญัติขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบมีหลักสำคัญคือหลักนิติธรรม และหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ในทศวรรษแรกก็จะมีคำถามว่ามีศาลรัฐธรรมนูญไปทำไม ดังนั้นในช่วงนั้นเราจึงตั้งคำถามนี้ ซึ่งก็จะเป็นการวางรากฐานคดีรัฐธรรมนูญว่าเป็นคดีประเภทไหน คดีอะไร จะเห็นว่าคำวินิจฉัยในยุคนั้นจะทำความเข้าใจว่าบทบาทหรืออำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญคืออะไร โดยจะวินิจฉัยเฉพาะพระราชบัญญัติที่มีปัญหาเรื่องขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น กฎกระทรวง ข้อบังคับสภาเทศบาลตำบล หรือประกาศธนาคารพาณิชย์ พวกนี้จะไม่ใช่ปัญหากฎหมายที่จะมาสู่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะเป็นปัญหาที่จะไปสู่ศาลปกครอง หรือแม้คำสั่งนายกรัฐมนตรีเราก็จะไม่รับวินิจฉัย ซึ่งในทศวรรษแรกยังไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีข้อกำหนดวิธีพิจารณาของตัวเองไปพลางก่อน

นายจิรนิต กล่าวว่า ต่อมายุคทศวรรษที่ 2 ตั้งแต่ปี 2550 – 2557 ยุคเผชิญวิกฤตการเมือง จะเห็นว่าตอนนั้นก็มีปัญหาทางการเมืองมากมาย ซึ่งเป็นยุคที่เราจะต้องมีส่วนในการพาประเทศฝ่าวิกฤตทางการเมือง เช่น คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากมีรายได้ทางสื่อ หรือคำวินิจฉัยในคดีเสียบบัตรแทนกัน เพื่อโหวตผ่านกฎหมาย ซึ่งการกระทำแบบนี้ทำให้การได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยไม่ใช่วิธีทางรัฐธรรมนูญ หรือ ความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง เพราะโยกย้ายข้าราชการเพื่อให้ญาติของตนมาดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งยุคนั้นก็มีปัญหาทางการเมืองมาก ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรค โดยเฉพาะสมัยนั้นศาลรัฐธรรมนูญมีที่ตั้งอยู่ที่พาหุรัด ก็โดนระเบิด M79 ยิง

ต่อมายุคที่ 3 ยุคขยายบทบาทศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี2560 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มีบทบาทสำคัญที่เข้ามาในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือการพิจารณาคดีร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญ โดยจะพิจารณาเรื่องการกระทำของหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาทางการเมืองมากอยู่เหมือนกัน ยุบพรรคการเมืองไปเยอะพอสมควร ความจริงก่อนหน้านี้ก็มีการยุบพรรคการเมืองแต่ส่วนมากก็เป็นเรื่องของการไม่ทำบัญชีรายชื่อสมาชิก ไม่ทำรายงานการดำเนินการหรือไม่ทำรายงานเกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สินส่งกกต.

ซึ่งในยุคปัจจุบันเรื่องคดีเกี่ยวกับทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้นเช่น คดียุบพรรคการเมืองจากการเสนอชื่อพระราชวงศ์ชั้นสูงมาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะอยู่เหนือการเมือง หรือการที่พรรคการเมืองไปกู้ยืมเงินหัวหน้าพรรค หรือ สมาชิกภาพของ สส.สิ้นสุดลงเมื่อถือหุ้นสื่อ นอกจากนี้มีคดีที่สำคัญแต่คนไม่ค่อยพูดถึงคือประกาศคสช.ที่ให้ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งเรียกบุคคลมารายงานตัว เมื่อสิ้นสุดสถานการณ์ความมั่นคงแล้วย่อมขัดหรือแย้งและรัฐธรรมนูญ

โดยสมัยก่อนไม่ว่าศาลไหนในไทยก็จะไม่แตะต้องคำสั่งของคณะรัฐประหาร แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าคำสั่งของคณะรัฐประหารใช้เฉพาะในเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะต้องรักษาความมั่นคง แต่เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติคำสั่งนี้ก็ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นคำสั่งแรกที่ศาลในประเทศไทยวินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของรัฐประหาร

นายจิรนิติ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีคดีอื่นไม่ว่าจะเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงทำประชามติเสียก่อน ซึ่งคำถามนี้ก็ยังอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ และอยู่ระหว่างการวินิจฉัย และ คดีสำคัญกรณีการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่มีเหตุจูงใจล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า การรณรงค์ดังกล่าวนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง ซึ่งเป็นคำที่คนพูดกันบ่อยๆนั่นคือ “เซาะกร่อนบ่อนทำลาย” นำไปสู่การล้มล้าง ก็ต้องให้เลิกกระทำการอย่างนั้นเสีย ซึ่งพอวินิจฉัยคดีนี้ไป ตนขับรถผ่านสามเหลี่ยมดินแดงทีไรก็คิดทุกทีว่าวินิจฉัยถูกแล้ว เพราะแต่ก่อนถนนเส้นนั้นในช่วงค่ำผ่านไม่ได้ เนื่องจากมีม็อบแล้วมีการขว้างระเบิดกัน ซึ่งหลังจากคำวินิจฉัยนั้นออกมาก็สงบเรียบร้อยดี จะเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญช่วยแก้วิกฤติการเมืองให้กับประเทศไปเยอะทีเดียว

นายจิรนิติ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะก้าวสู่ในทศวรรษที่ 4 ความท้าทายคือจะทำยังไงให้ได้รับความเชื่อมั่นต่อประชาชนและรักษาความเป็นกลางได้เพราะว่า ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทโดยเฉพาะทางการเมือง ซึ่งทางการเมืองพยายามเข้ามาแทรกเข้ามาสู่ศาลรัฐธรรมนูญ พยายามจะเปลี่ยนองค์ประกอบอะไรบ้าง ซึ่งเราคงจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคตรงนี้ และที่สำคัญเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งปัญหาที่จะเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญมันไม่ใช่เรื่อง AI เกี่ยวกับทางวิชาการ แต่ปัญหาคือถ้าเป็น AI ของหน่วยงานของรัฐ แล้วไปคิดเองเออเองเที่ยวละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ถ้าเกิดขึ้นเราจะตั้งรับมันอย่างไร ก็จะมีข้ออ้างว่า AI คิดเอง หน่วยงานของรัฐไม่ได้ทำ เหมือนกับคำวินิจฉัยในต่างประเทศที่AI คิด วาดรูปโครงสร้าง หรือทำสูตรนั้นสูตรนี้ ขึ้นมาแล้วศาลบางประเทศระบุว่า AI ไม่ใช่มนุษย์เพราะฉะนั้นไม่มีลิขสิทธิ แต่ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐแล้วไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แล้วเราจะปฏิเสธได้หรือไม่ว่าเป็นเรื่องที่ AI คิดเอง ทำเอง ไปแทรกแซงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลใช้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องคิดกันต่อไป

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

"นายกฯ" น้อมรับคำสั่งศาล รธน.หยุดปฏิบัติหน้าที่ พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง

1 ก.ค. 2568 16:13 81 views

ข่าว

ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องคลิปเสียงนายกฯสนทนาฮุนเซน มติ 7:2 สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่

1 ก.ค. 2568 13:35 286 views

ข่าว

ทักษิณ ไม่เครียด! ศาลพิจารณาลับ สืบพยานคดี112 นัดแรก สั่งห้ามนำมาเปิดเผย

1 ก.ค. 2568 13:23 103 views

ข่าว

วางแผนปูพรมเร่งค้นหาร่าง 2 ผู้สูญหาย ไฟไหม้โรงงานกระดาษทิชชูสระบุรี

1 ก.ค. 2568 13:21 74 views

ข่าว

แจงเหตุ “เที่ยวไทยคนละครึ่ง” ล่ม เพราะยืนยันตัวตน

1 ก.ค. 2568 13:10 101 views

ข่าว

เคาะค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ 400 บาทครอบคลุม 3 กลุ่ม

1 ก.ค. 2568 13:05 95 views

ข่าว

ครม.ไฟเขียว “คุณสู้ เราช่วย” ระยะ 2

1 ก.ค. 2568 13:02 87 views

ข่าว

"ภราดร"โยนหน้าตา"ครม.อิ๊งค์ 2"ให้สังคมตัดสิน

1 ก.ค. 2568 12:44 109 views

ข่าว

'สุริยะ' เผยเบื้องหลัง 'พงศ์กวิน' นั่งรมว.แรงงาน เพราะ 'อุ๊งอิ๊ง' เห็นผลงานในโซเชียล

1 ก.ค. 2568 12:26 83 views

ข่าว

ครม.เลิกเร็วลุ้นประชุมศาลรธน. "อิ๊งค์"งดจ้อหลังครม. รีบกลับขึ้นตึกไทยฯ เชื่อบิ๊กเล็กคุมกลาโหมได้

1 ก.ค. 2568 11:41 120 views

ข่าว

เวียดนาม ควบรวมจังหวัด จาก 63 เหลือ 34 แห่ง ให้กลไกรัฐคล่องตัว

1 ก.ค. 2568 10:59 125 views

ข่าว

ภูมิธรรมไม่รู้ ‘นายกฯ’ ยังไม่ตั้ง รมว.กห. เชื่อ ‘บิ๊กเล็ก’ เอาอยู่

1 ก.ค. 2568 10:33 107 views

ข่าว

“ทักษิณ”มาแล้ว โผล่ศาลอาญาเช้านี้ สู้คดี 112 วัดใจจะสวนกลับ”ฮุน เซน” หรือไม่

1 ก.ค. 2568 10:22 216 views

ข่าว

"นายกฯ"เผยเป็นพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งครม. เตรียมแผนงานวธ.ไว้แล้ว

1 ก.ค. 2568 10:11 187 views

ข่าว

'เลขาฯครม.'เผยเตรียมนำครม.ใหม่เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ 3 ก.ค. นี้

1 ก.ค. 2568 09:54 94 views

ข่าว

วราวุธยัน "ประภัตร" ไม่งอนยกเก้าอี้ให้ "อนุชา" บ้านใหญ่นครปฐมแทน

1 ก.ค. 2568 09:46 142 views