×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2568

?>

‘ญี่ปุ่น’ห้ามพ่อแม่ตั้งชื่อแปลกๆให้ลูก หลังพบปัญหาอ่านลำบาก-ทำเอกสารทะเบียนยาก

 30 พ.ค. 2568 09:10 | 1495 view

 @pracha

Facebook X Share

‘ญี่ปุ่น’ห้ามพ่อแม่ตั้งชื่อแปลกๆให้ลูก หลังพบปัญหาอ่านลำบาก-ทำเอกสารทะเบียนยาก

สำนักข่าว CNN สหรัฐอเมริกา รายงานข่าว Japan cracks down on ‘sparkly’ names for babies like Pikachu or Nike ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎใหม่เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2568 เพื่อแก้ไขปัญหาพ่อแม่รุ่นใหม่ที่นิยมตั้งชื่อลูกในลักษณะที่แปลกไปจากการตั้งชื่อแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคยกันมา สืบเนื่องจากระยะหลังๆ พบการตั้งชื่อลูกในแนวทางนี้มากขึ้น อาทิ ไนกี้ (Nike) ปิกาจู (Pikachu) พุดดิ้ง (Pudding) เป็นต้น ซึ่งแม้จะยังมีไม่มากนัก แต่ก็พบปัญหาเมื่อเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานที่ราชการ ไม่รู้จะออกเสียงชื่อเหล่านั้นอย่างไร

แนวทางใหม่ของรัฐบาลแดนซามูไร ต้องการหยุดยั้งการตั้งชื่อในแนวทางดังกล่าว ซึ่งถูกเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “คิระคิระ” ที่แปลว่า “ส่องประกายแวววาว (Sparkly or Shiny)” กลายเป็นข้อถกเถียงในสังคมญี่ปุ่น โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล มองว่าการตั้งชื่อทำนองนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นปัจเจกบุคคลและไม่เป็นอันตราย ดังนั้นรัฐก็ไม่ควรเข้ามาควบคุม แต่ฝ่ายที่เห็นด้วยก็ให้เหตุผลว่า การตั้งชื่อแปลกๆ นั้นทำให้เด็กตกเป็นเป้าถูกกลั่นแกล้งรังแก (Bully) รวมถึงสร้างความยุ่งยากในการทำเอกสารต่างๆ เช่น การจดทะเบียน การทำธุรกรรมทางการเงิน

ภาษาญี่ปุ่นใช้ระบบการเขียนสามระบบ ได้แก่ คันจิ ซึ่งใช้ตัวอักษรจีนเป็นพื้นฐาน และระบบสัทศาสตร์อีกสองระบบ ชื่อมักจะเขียนด้วยคันจิ ซึ่งปัญหาเกิดขึ้นจากเรื่องนี้ เนื่องจากตัวอักษรจีนเหล่านี้ผสมกับภาษาญี่ปุ่นที่มีอยู่แล้ว จึงทำให้ตัวอักษรคันจิแต่ละตัวสามารถออกเสียงได้หลายแบบ โดยบางตัวสามารถออกเสียงได้ถึง 10 แบบหรือมากกว่านั้น ซึ่งผู้ใช้ภาษาจะถอดรหัสการออกเสียงที่ถูกต้อง โดยอาศัยเบาะแสในบริบทและตัวอักษรอื่นๆ ในประโยคหรือวลี

การตั้งชื่อลูกแบบคิระคิระ เริ่มปรากฏในทศวรรษ 1980 (ปี 2523 – 2532) พ่อแม่มักจะเลือกชื่อตามเสียงที่ออกเสียง เช่น ต้องการให้ชื่อของลูกฟังดูเหมือน "ปิกาจู" และเลือกตัวอักษรคันจิที่ออกเสียงคล้ายกัน แต่ปัญหาคือ ตัวอักษรเหล่านี้มักจะไม่ออกเสียงแบบนั้น ทำให้ครูหรือพยาบาลไม่สามารถถอดรหัสชื่อลูกได้อย่างถูกต้องเพียงแค่ดูจากตัวคันจิที่เขียนไว้ นอกจากนั้น บางคนมองว่าพ่อแม่ชาวอเมริกันมักจะเลือกชื่อที่สะกดแปลกๆ มากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เช่น “แอชลีย์” จะใช้ Ashleigh แทน Ashley หรือ “เคทลิน” จะใช้ Catelynn แทน Caitlin

กฎหมายใหม่ของญี่ปุ่นมีจุดมุ่งหมายเพื่อจำกัดสิ่งนี้ โดยอนุญาตให้ใช้เฉพาะการออกเสียงตัวอักษรคันจิที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเท่านั้น ผู้ปกครองจะต้องรวมการอ่านเสียงของชื่อทารกไว้ในทะเบียนราษฎร์ และหากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่พบว่าเสียงอ่านของชื่อไม่ตรงกับการออกเสียงโดยทั่วไป พวกเขาอาจปฏิเสธรับรองการตั้งชื่อนั้นหรือขอเอกสารเพิ่มเติม

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กฎการตั้งชื่อที่เข้มงวดก่อให้เกิดการถกเถียงในสังคมญี่ปุ่น โดนแดนซามูไรยังคงบังคับให้คู่สมรสใช้ชื่อสกุลเดียวกันตามกฎหมาย ไม่เหมือนกับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ที่ยกเลิกประเพณีนี้ไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ภรรยาจะใช้นามสกุลของสามี เนื่องจากการแต่งงานของเพศเดียวกันยังไม่ถูกกฎหมายในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม กำลังเกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎเกี่ยวกับนามสกุล โดยมีผู้สนับสนุนสิทธิสตรีและผู้ที่พยายามรักษาความหลากหลายของนามสกุลญี่ปุ่นในประเทศที่ชื่อไม่กี่ชื่อเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

การตั้งชื่อจริงเปิดโอกาสให้ทดลองใช้มากขึ้น อย่างน้อยก็จนกว่าจะมีกฎเกณฑ์ล่าสุดออกมา โดยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มีผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ได้รับชื่อแปลกๆ ตามผลการศึกษาในปี 2565 ซึ่งวิเคราะห์ชื่อทารกที่ตีพิมพ์ในจดหมายข่าวท้องถิ่นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา กระแสดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การแสวงหา "เอกลักษณ์และความเป็นอิสระ" ในญี่ปุ่น ซึ่งยังเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่นๆ ของชีวิตชาวญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นด้วย เช่น โครงสร้างครอบครัวและค่านิยมทางสังคม

รายงานข่าวยังกล่าวอีกว่า ญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศเดียวที่เห็นแนวโน้มชื่อทารกที่แปลกประหลาดเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่างในสหรัฐฯ การศึกษาในปี 2559 พบว่า พ่อแม่ชาวอเมริกันเลือกชื่อที่แปลกประหลาดมากขึ้นระหว่างปี 2547 -2558 ซึ่งชี้ให้เห็นถึง "ความเป็นปัจเจกที่เพิ่มมากขึ้น" ในวัฒนธรรมดังกล่าว เช่นเดียวกับที่ประเทศจีน การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและการเลื่อนตำแหน่งทางสังคมทำให้ทุกวันนี้ผู้คนให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกและความเป็นอิสระมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ โดยผลวิจัยในปี 2561 ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการที่พ่อแม่เลือกชื่อลูกด้วยตัวอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลการศึกษาในจีนยังพบด้วยว่า เด็กผู้หญิงชาวจีนมีแนวโน้มที่จะได้รับชื่อที่แปลกกว่าเด็กผู้ชาย ซึ่งอาจสะท้อนถึง "ความคาดหวัง" ที่แตกต่างกันของพ่อแม่ ซึ่งดูคล้ายกับข้อค้นพบในงานวิจัยของญี่ปุ่น ที่พบว่า มีการตั้งชื่อเด็กผู้หญิงมีแบบคิระคิระมากขึ้น ซึ่งอาจบ่งบอกว่าพ่อแม่ชาวญี่ปุ่นมีความหวังที่มากขึ้นที่จะให้ลูกสาวมีเอกลักษณ์และเป็นอิสระมากกว่าลูกชาย

แต่ในหลายประเทศก็มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับชื่อที่ยอมรับได้ กรณีของสหรัฐฯ กฎเกณฑ์นี้มักจะกำหนดโดยรัฐบาลระดับมลรัฐ เช่น ในรัฐแคลิฟอร์เนียจะอนุญาตให้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษได้เพียง 26 ตัวเท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสั้นๆ เมื่ออีลอน มัสก์ (Elon Musk) และไกรมส์ (Grimes) ตั้งชื่อลูกของพวกเขาว่า “X Æ A-12” ในที่สุดพวกเขาก็เปลี่ยนชื่อเล็กน้อยเป็น “X Æ A-Xii”

ในเยอรมนี เจ้าหน้าที่อาจลบชื่อเด็กออกได้หากพบว่าชื่อนั้นไม่เหมาะสมหรืออาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก ตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากฝ่ายบริหารเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ระบุว่า ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่เคยห้ามผู้ปกครองใช้คำว่า “Borussia” ซึ่งหมายถึงทีมฟุตบอล หรือ “Gastritis” โดยให้เหตุผลว่าชื่อดังกล่าว “อาจเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพของตัวเด็ก”

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

กรมบังคับคดี ร่วมงานมหกรรมการเงินหาดใหญ่ MONEY EXPO 2025 เดินหน้าจัดงานไกล่เกลี่ยหนี้ ช่วยประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเป็นธรรม

4 ก.ค. 2568 13:31 26 views

ข่าว

‘ฉันทวิชญ์’ รมช.พาณิชย์ รัฐมนตรีอายุน้อยสุดในครม. เริ่มงานวันแรก

4 ก.ค. 2568 13:25 27 views

ข่าว

อินโดนีเซียระงับค้นหา 30 ผู้สูญหาย หลังเรือเฟอร์รี่ล่มใกล้บาหลี ดับแล้ว 6 ราย

4 ก.ค. 2568 12:49 17 views

ข่าว

"ดร.เอ้"ไขก๊อกพ้นปชป. ตั้งพรรคไทยก้าวใหม่ ดีล"คุณหญิงกัลยา"ร่วมพรรค

4 ก.ค. 2568 12:28 52 views

ข่าว

‘ภูมิธรรม’นำ 2 รมช.มหาดไทย เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช หลังเข้ารับตำแหน่ง

4 ก.ค. 2568 12:01 43 views

ข่าว

"ทหารช่าง" เร่งทำงาน 24 ชม. โครงการป้องกันน้ำท่วมแม่สายคืบไปแล้ว 90%

4 ก.ค. 2568 11:39 57 views

ข่าว

อิ๊งค์ อ้อนผู้บริหารวธ. ฝากตัวทำงาน ดัน ‘วัฒนธรรม’ ซอฟต์พาวเวอร์

4 ก.ค. 2568 11:29 68 views

ข่าว

'ตุรกี'อ่วม! ไฟป่ารุนแรงคร่า 2 ชีวิต ประชาชนอพยพหนีตาย

4 ก.ค. 2568 11:08 59 views

ข่าว

แม่ทัพภาคที่ 2 นำถวายพระพุทธรูปหยกงามให้วัดป่าอีสานเขียว – ย้ำชาวบ้านเช็กข่าวจากแหล่งเชื่อถือได้!

4 ก.ค. 2568 10:40 63 views

ข่าว

กรมควบคุมโรคเผย ปี 68 ติดเชื้อ HIV พุ่งทะลุครึ่งล้าน ป่วยรายใหม่กว่า 1.3 หมื่นคน

4 ก.ค. 2568 10:26 84 views

ข่าว

'คุณหญิงกัลยา'เตรียมผุด'พรรคไทยก้าวใหม่' ตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ ดึงบิ๊กเนม ปชป. ร่วมวงเพียบ

4 ก.ค. 2568 10:23 54 views

ข่าว

Cell Broadcast เตือนภัยน้ำล้นตลิ่งแม่สาย

4 ก.ค. 2568 10:09 62 views

ข่าว

หุ้นเอเชียผันผวน นักลงทุนจับตาเดดไลน์ภาษีศุลกากรสหรัฐฯ 9 ก.ค.

4 ก.ค. 2568 10:03 58 views

ข่าว

"คุณไม่มีวันเดินเดียวดาย" ลิเวอร์พูลเตรียมโอนเงิน 14.5 ล้านปอนด์ 2 ปีที่เหลือสัญญาของโชต้าให้กับครอบครัว

4 ก.ค. 2568 09:52 219 views

ข่าว

“เหี้ย” สัตว์ป่าคุ้มครองรุ่นใหม่! เปิดราคา 500 บาทต่อตัว เพาะพันธุ์ต้องขออนุญาต

4 ก.ค. 2568 09:41 95 views

ข่าว

ผลศึกษาพบ'ฝุ่นPM'เพิ่มความเสี่ยง'มะเร็งปอด' แม้ในคนไม่สูบบุหรี่

4 ก.ค. 2568 09:38 63 views