วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม 2568
17 พ.ค. 2568 12:10 | 60 view
@juthamas
แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์ ถือเป็นคำคล้องจองที่คนมักพูดติดปากกันมา ซึ่งจากคำกล่าวนี้ระบุถึงเหตุการณ์ที่นอกจากจะเป็นตำนานความหลอนแล้วยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงอีกด้วย นั่นคือ วันสระเกศ หรือ วัดสะแก ซึ่งเป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยาและได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ส่วนสำคัญและมีความโดดเด่นคงมิพ้นส่วนของภูเขาทองหรือพระบรมบรรพตที่ตั้งตะหง่านเป็นโบสถ์ของวัด
คลองรอบกรุงและภูเขาทอง วัดสระเกศ ที่มา https://www.silpa-mag.com/culture/article_120821
วัดสระเกศ ถือเป็นวัดที่หากพูดถึงไปแล้วหลาย ๆ คนจะต้องนึกถึงตำนานอันน่าสะพรึงของแร้งวัดสระเกศอย่างแน่นอน โดยเรื่องราวเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ รัชกาลที่ 2 ได้เกิดเหตุการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร “โรคอหิวาตกโรค” หรือ “โรคห่า” ในสมัยนั้นการแพทย์สาธารณสุขยังไม่สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ มีคนเสียชีวิตมากกว่า 30,000 ศพ เนื่องด้วยไม่มีวิธีการจัดการศพที่ดีมากนักศพจำนวนมากจึงถูกนำมากองรวมกัน วัดไม่สามารถเผาหรือฝังได้ทัน ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงใช้วิธีแอบทิ้งศพลงในแม่น้ำ เพราะเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องต่างทิ้งหน้าที่การงานของตนเองเนื่องจากไม่อยากแบกรับภาระการดูแลผู้ป่วยและจัดการศพ
ศพจากการแพร่ระบาดของโรคห่า ที่มา https://board.postjung.com/861349
ในปี 2392 ช่วงฤดูร้อนโรคห่ากลับมาระบาดหนักอีกครั้ง มีจำนวนผู้เสียชีวิตตลอดฤดูมากกว่า 40,000 ศพ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงมีกำหนดวัดที่จะใช้สำหรับการเผาศพ ได้แก่ วัดสระเกศ วัดตีนเลน วัดบางลำพู ซึ่งในแต่ละวันวัดเหล่านี้ต้องจัดการเผาศพวันละเกือบ 700 ศพ ส่วนศพที่เผาไม่ทันก็จะถูกนำมากองรวมกันเป็นกองพะเนินสูงขึ้นมา โดยวัดสระเกศเป็นวัดที่มีศพส่งมาไว้มากที่สุด การดำเนินการเผาไม่อาจทันต่อจำนวนคนได้ ส่งผลให้เหล่าแร้งพากันมาลงทึ้งกินศพที่ถูกทิ้งไว้ ตามบริเวณวัดจึงเต็มไปด้วยแร้งจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการถือไม้ไล่เพื่อควบคุมแต่ก็ไม่สามารถกันพวกแร้งดังกล่าวได้ โดยแร้งจะกัดกินเนื้อของซากศพจนเห็นถึงกระดูกข้างใน จึงเป็นภาพที่สร้างความสยดสยองให้กับผู้ที่ผ่านไปพบเห็น
แร้งเทาหลังขาว ที่มา https://dktnfe.com/web59/?p=1004
ต่อมาในปี 2457 ระบบสุขาภิบาลของไทยถูกพัฒนาขึ้น น้ำที่ถูกนำมาอุปโภคบริโภคมีความสะอาดมากขึ้น ทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์โรคระบาดให้ลดลงได้ การระบาดยังคงมีอยู่ในช่วงฤดูร้อนแต่ความรุนแรงก็มิอาจเทียบเท่ากับในสมัยก่อนได้ ถึงแม้ว่าในอดีตจะมีเรื่องราวกล่าวขานต่อกันมาถึงความน่ากลัวของแร้งวัดสระเกศแต่ปัจจุบันนี้นกแร้งในไทยกลายเป็นสัตว์ที่หาพบเจอได้ยาก มีจำนวนน้อยลงและถูกจัดอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อีกด้วย
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:22 72 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:19 40 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:15 51 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:13 44 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:33 58 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:29 61 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:17 74 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 12:28 63 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 12:08 72 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 11:53 93 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 11:48 59 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:58 83 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:50 67 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:12 99 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 09:59 90 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 09:56 121 views