วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม 2568
17 พ.ค. 2568 11:38 | 63 view
@juthamas
“คานธี กับการทำสัตยาเคราะห์” เมื่อความเงียบดังกว่าปืนและความอดทนคือพลังของการปฏิวัติ
อินเดียในอดีตเคยตกอยู่ในอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ รูปการปกครองในอินเดียในคราแรกเป็นการปกครองผ่านบริษัทการค้าที่ชื่อว่า “East India Company” แต่ภายหลังการปกครองถูกเปลี่ยนเป็นแบบ “British Raj” คือการปกครองที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลของอังกฤษโดยตรงและมีประมุขเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ ซึ่งการปกครองดังกล่าวถือเป็นจุดสูงสุดของการขยายอำนาจของจักรวรรดิอังกฤษในอินเดีย
การอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษทำให้ชาวอินเดียถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการค้า ชาวอินเดียต้องใช้เกลือในการบริโภคและค้าขาย แต่จักรวรรดิอังกฤษนั้นผูกขาดกิจการให้กับพ่อค้าอังกฤษเท่านั้น ส่งผลให้การผลิตเกลือและการค้าขายเกลือเป็นข้อต้องห้ามของชาวอินเดีย อีกทั้งยังต้องซื้อเกลือในราคาที่สูงขึ้นเนื่องจากมีเรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง
เหตุดังกล่าวส่งผลให้ชาวอินเดียเกิดความไม่พอใจในจักรวรรดิอังกฤษ จึงมีบุคคลสำคัญท่านหนึ่งได้ลุกขึ้นมาเป็นแกนนำในการประท้วงคัดค้านการกระทำของอังกฤษ “มหาตมะ คานธี” เป็นนักกฎหมายชาวอินเดียที่จบการศึกษาเนติบัณฑิตจากอังกฤษ โดยแรงจูงใจของคานธีในการต่อต้านนั้นมาจากครั้งหนึ่งที่เขาเคยทำงานอยู่ในแอฟริกาใต้ เขานั้นถูกเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ อีกทั้งแรงงานอินเดียในแอฟริกาใต้ยังถูกกดขี่จากนายทุน ซึ่งเขาถือว่าเป็นการเหยียดหยามเชื้อชาติและลบหลู่เกียรติของชาวอินเดีย เขาจึงรวบรวมชาวอินเดียเพื่อประท้วงด้วยวิธี “สัตยาเคราะห์” หรือ “การต่อต้านเงียบ” ซึ่งเป็นการต่อสู้ทางใจและความเข้มแข็ง ไร้อาวุธและความรุนแรงใด ๆ จากผู้ประท้วง วิธีการนี้ถือว่าเป็นความสำเร็จในการเรียกร้องของชาวอินเดียในแอฟริกาใต้เป็นอย่างมาก ภายหลังคานธีกลับมายังอินเดียและพบว่าจักรวรรดิอังกฤษได้กดขี่ชาวอินเดียในทางกฎหมายอย่างมาก เขาจึงได้เป็นแกนนำของชาวอินเดียในการประท้วงเพื่อเรียกร้องเอกราชให้กับประเทศของตน
คานธีได้ออกเดินทางด้วยเท้าจากเมือง Ahmedabad พร้อมกับชาวอินเดียอีกหลายร้อยคน ไปยังเมือง Dandi ในปี 1930 เมื่อเขาและผู้ติดตามไปถึงก็ได้ทำการหยิบเกลือขึ้นมาหนึ่งกำมือ ซึ่งในทางกฎหมายถือว่าผิดเพราะถือว่านี่คือการผลิตเกลือ ซึ่งเป็นผลชาวอินเดียและคานธีถูกจับกุมในเวลาต่อมาอีกไม่กี่เดือน การถูกจับกุมดังกล่าวเป็นตัวกระตุ้นให้ชาวอินเดียอีกจำนวนมากลุกขึ้นมาทำสัตยาเคราะห์เพื่อเรียกร้องเอกราชให้กับประเทศ
คานธีถูกปล่อยตัวในปีต่อมาเดือนมกราคมและได้ทำสนธิสัญญา “คานธี-เออร์วิน” เพื่อให้คานธียุติการทำสัตยาเคราะห์และลอร์ดเออร์วินผู้เป็นอุปราชอินเดียต้องยอมให้ชาวอินเดียทำนาเกลือได้ รวมไปถึงปล่อยนักโทษที่ได้ทำการสัตยาเคราะห์ทั้งหมด
การเรียกร้องดังกล่าวของผู้ทำสัตยาเคราะห์นั้นไร้ความรุนแรง ไร้อาวุธและมีแค่ใจกับความเข้มแข็งเท่านั้นที่เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องเอกราช ทว่าการกระทำและวิธีการดังกล่าวกลับเป็นตัวกระตุ้นให้จักรวรรดิอังกฤษเกิดความสั่นคลอนในการปกครองและในเวลาต่อมาจึงต้องยอมยกเอกราชให้กับชาวอินเดียในที่สุด
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:22 74 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:19 42 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:15 54 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 14:13 47 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:33 60 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:29 64 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 13:17 76 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 12:28 65 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 12:08 73 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 11:53 95 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 11:48 60 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:58 85 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:50 68 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 10:12 101 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 09:59 91 views
ข่าว
17 พ.ค. 2568 09:56 123 views