วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567
6 มิ.ย. 2566 09:33 | 436 view
@kan
โรงพยาบาลศิริราชเผยวิธีเอาตัวรอด เมื่อได้รับสารไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกาย
รู้จักกับไซยาไนด์สารอันตรายที่ใคร ๆ ต่างก็หวาดกลัว หากเกิดเผลอได้รับเข้าสู่ร่างกายจะรู้ได้อย่างไร และจะมีวิธีป้องกันได้มากแค่ไหน วันนี้เรานำข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์มาบอกให้ได้ทราบข้อมูลมากยิ่งขึ้น
ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง สารนี้อยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว แก๊ส เช่น Hydrogen Cyanide, Potassium Cyanide, Sodium Cyanide โดยมีการนำไซยาไนด์มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การสกัดแร่ ผลิตกระดาษ พลาสติก หนังเทียม นอกจากนี้ ไซยาไนด์ยังพบในพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลังดิบ หน่อไม้สด และถั่วบางชนิด สารนี้หากมีการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อันตรายของไซยาไนด์
ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ หากกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่างจะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที แต่ถ้ามีอาหารอยู่เต็มกระเพาะแล้ว จะหน่วงเวลาเสียชีวิตเป็นหน่วยชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ไซยาไนด์จะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าสูดไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไปจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาที
เมื่อถูกสารพิษจะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?
ผู้ป่วยมักจะเริ่มปรากฏมีอาการหลังจากได้ไชยาไนด์ภายในเวลาไม่กี่วินาที เริ่มจากปวดศีรษะ ใจสั่น หน้าแดง หมดสติ ชัก และอาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 10 นาที ในรายที่รุนแรงน้อยกว่าจะกดการทำงานของระบบประสาทและการหายใจ
วิธีป้องกันและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารไชยาไนด์ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องตัน เมื่อสัมผัสกับสารไซยาไนด้ให้รีบลดปริมาณสารไซยาไนด์ให้เร็วที่สุด แล้วรีบมาโรงพยาบาล โดยวิธีปฏิบัติขึ้นอยู่กับวิธีที่สัมผัสกับสารไซยาไนด์
ㆍทางการสูดดม ควรรีบออกจากพื้นที่ หากไม่สามารถออกจากพื้นที่ได้ควรกัมต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ อาจจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน แต่ไม่ควรผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก โดยพยายามไม่ให้ชิ้นส่วนของเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสัมผัสกับผิวหนังของผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ จากนั้นทำความสะอาด ร่างกายด้วยน้ำและสบู่ ทางการรับประทาน ให้รีบล้างปาก ไม่ควรทำการกระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ทางดวงตา หากสวมคอนแทคเลนส์ให้รีบถอดออก แล้วใช้น้ำสะอาดล้างตา 10 – 15 นาที
ทั้งนี้ยังไม่มีวิธีการปฐมพยาบาลอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้สัมผัสไชยาไนด์ ควรรีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในทันที
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 17:03 133 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 16:15 70 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 16:10 64 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 15:39 95 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 15:26 145 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 15:21 136 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 15:18 130 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 14:20 143 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 14:17 138 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 14:15 130 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 14:12 122 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 13:44 119 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 13:40 136 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 11:39 139 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 11:31 149 views
ข่าว
3 ธ.ค. 2567 10:31 327 views