วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2568
17 ก.พ. 2568 09:48 | 1347 view
@pracha
คลัง-คมนาคม ร่วมตั้งคกก.กองทุนรถไฟฟ้า20บาท คาดใช้เงินกองทุน2แสนล้านบาท
นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม จะร่วมกันตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งทำหน้าที่ พิจารณาว่าจะใช้รายได้โครงการรถไฟฟ้าสายสีใดบ้างมาสำรอง เงินของกองทุนโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล
นายธิบดี กล่าวว่ากรณีที่บริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานในการเดินรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ตกลงที่จะขายสัญญาสัมปทานทั้งหมดให้แก่รัฐบาล จะทำให้การทำโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทง่ายขึ้น โดยรัฐจะใช้โครงการรถไฟฟ้าเป็นสินทรัพย์ ในการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ เพื่อให้เงินทุนจากนักลงทุนที่เข้าลงลงทุนในตราสารทางการเงินฉบับนี้ ซึ่งประเมินว่าจะต้องมีเงินทุนราว 2 แสนล้านบาท เพื่อมาจ่ายค่าซื้อสัมปทานให้กับเอกชนเจ้าของสัมปทานเดิม
นายธิบดี กล่าวต่อว่าแต่ในกรณีที่เอกชนเจ้าของสัมปทาน ไม่ยอมขายสัมปทานคืนให้กับรัฐ ก็อาจจะต้องมีการเจรจาเพื่อขอแก้ไขสัญญาสัมปทาน เพื่อให้รัฐสามารถทำโครงการ20บาทตลอดสายได้ และจะต้องมีการคำนวณว่าจะต้องจ่ายชดเชยให้บริษัทเอกชนเจ้าของสัมปทานเดือนละเท่าไหร่ และต้องจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในโครงการนี้ ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินทุนต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท
“การเจรจาเพื่อขอซื้อสัมปทานจากภาคเอกชนไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากภาคเอกชนและภาครัฐ อาจมีมุมมองในแง่ของการไหลเวียนของเงินในแต่ละโครงการที่แตกต่างกัน ซึ่งภาคเอกชนอาจมองการไหลเวียนของเงินสูง ขณะที่ภาครัฐอาจมองที่ต่ำกว่า”นายธิบดี กล่าว
รายงานข่าวระบุว่า โครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เป็นนโยบายที่เป็นเรือธง นโยบายหนึ่งของพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาระรายจ่ายของคนในเมืองและปริมณฑล
รายงานข่าวระบุว่าปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่บริหารโดยบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศ ภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่อยู่ใจกลางเมือง
ขณะที่ข้อมูลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า โครงการรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว อีก 5 โครงการ ได้แก่
1. โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ช่วงหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ มูลค่าเงินลงทุนรวม 8.23 หมื่นล้านบาท
2.โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มูลค่าเงินลงทุนรวม 6.29 หมื่นล้านบาท
3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มูลค่าเงินลงทุน 2.78 หมื่นล้านบาท และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่- คูคต มูลค่าเงินลงทุน 5.83 หมื่นล้านบาท
4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มูลค่าเงินลงทุนรวม 5.18 หมื่นล้านบาท
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี เงินลงทุนรวม 5.34 หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวระบุว่าส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างคือ สายสีม่วง เตาปูน-ราษฎรบูรณะ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมชู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี และ รฟม.ยังมีแผนที่จะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัดอีกหลายจังหวัด เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก เป็นต้น
ข่าว
23 มี.ค. 2568 17:41 198 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 16:31 192 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 16:26 193 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 14:38 254 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 14:30 188 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 11:06 220 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 11:01 348 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 10:59 215 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 10:54 240 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 10:46 195 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 10:43 199 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 10:29 275 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 10:20 308 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 10:09 242 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 10:03 235 views
ข่าว
23 มี.ค. 2568 09:41 280 views