วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568
11 ก.พ. 2568 12:07 | 101 view
@pracha
'นิกร ฟันธง! แก้รธน.ม.256 ผ่านยากถึงยากมาก มั่นใจมีคนยื่นศาล รธน.ตีความแน่ เสี่ยงผิดจริยธรรม
11 ก.พ.2568- ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะอดีตเลขานุการคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ในวันที่ 13-14 ก.พ.ว่า โอกาสที่จะผ่านน่าจะยาก เพราะยังมีปัญหาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับจำนวนครั้งในการออกเสียงประชามติ ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันจนมีผู้ไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยการเพิ่มมาตรา 256/1 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ฉะนั้นจะต้องประชามติสอบถามประชาชนก่อน จนทำให้ที่ประชุมรัฐสภาที่เคยพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256/1 ต้องชะลอไป แต่ครั้งนี้ก็ยังมีปัญหาการพิจารณาว่า รัฐสภาสามารถพิจารณาได้หรือไม่ เพราะยังไม่มีการจัดการออกเสียงประชามติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงมติของสมาชิกรัฐสภา หากสมาชิกรัฐสภาลงมติก็อาจถือว่าเข้าข่ายมีความผิดทันที เพราะกระทำการขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ และตนเองก็มั่นใจว่า ในประเด็นนี้ จะต้องมีผู้ยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน
นายนิกร ยังกล่าวถึงกรณีที่อาจจะมีผู้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก โดยเห็นว่า มีความเป็นไปได้เพราะทราบว่าที่จะมีการเสนอ แต่ใครจะผู้เสนอ เพราะวุฒิสภา ก็ไม่มีเหตุผลที่จะยื่น เพราะหากไม่ลงคะแนนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ถือว่า จบปัญหา หรือพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน ก็ไม่มีเหตุผลที่จะยื่น เพราะเป็นผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง ดังนั้นตนจึงยังเชื่อว่า จะมีผู้ที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังไม่ทราบว่า ใครจะเป็นผู้ยื่น แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีประเด็น หากพิจารณาเสร็จแล้วสมาชิกรัฐสภาที่ลงมติไปแล้วก็สุ่มเสี่ยงที่ผิดจริยธรรมได้
นายนิกร กล่าวถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของพรรคประชาชนว่า พรรคชาติไทยพัฒนา จะไม่ลงมติให้ เนื่องจาก มีการแก้นัยยะสำคัญในมาตรา 256 (8) ที่ไปเปิดช่องให้สามารถแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ได้ ซึ่งขัดกับหลักการของพรรคร่วมรัฐบาล ที่จะไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ที่พรรคชาติไทยพัฒนา จะไม่ลงมติให้แน่นอน และหลักการการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรคประชาชนเสนอในร่างแก้ไข ในวาระแรกที่ให้ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง โดยไม่ต้องอาศัยเสียงวุฒิสภา 1 ใน 3 ซึ่งตนเองไม่เห็นด้วย เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายแม่ ต้องไม่สามารถแก้ไขได้ง่าย แต่จะถึงขั้นแก้ไขไม่ได้เหมือนปัจจุบันคงไม่ได้ รวมถึงยังมีปัญหาทางการเมืองเกี่ยวกับที่มาของ ส.ส.ร.200 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% ที่ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าจะมีการเมืองเข้ามาควบคุมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นตนจึงมั่นใจว่า การแก้ไขครั้งธรรมนูญครั้งนี้ยากถึงยากมาก
ส่วนหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่าน ต้องจัดการออกเสียงประชามตินั้น นายนิกร กล่าวว่า ว่า ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ก็ยังรอการพิจารณา ซึ่งคาดว่า อย่างน้อยคือในช่วงก.ค.นี้ ถ้าระหว่างมีการพิจารณารัฐธรรมนูญจะต้องก็จะต้องใช้กฎหมายเดิม ซึ่งเป็นระบบเสียงข้างมาก 2 ชั้น หรือ Double Majority ซึ่งมีกลไกทางเทคนิคเยอะแยะ ความเห็นของตนคือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เสี่ยงเข้ามาเพื่อที่จะลองว่าเผื่อจะทำได้ ตนก็อยากถามว่าถ้าเผื่อทำไม่ได้บ้าง เพราะถ้าสมมติผ่านเท่ากับว่าประชาชนอยากได้รัฐธรรมนูญใหม่ วุฒิสภาเขาจะสนับสนุน หากไม่สนับสนุนเขาจะตอบประชาชนลำบาก เพราะไม่ใช่เชิงกฎหมายแต่เป็นเชิงการเมือง เพราะถ้าผ่านเท่ากับว่าประชาชนอยากได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วุฒิสภาก็ต้องสนับสนุน แต่ตรงนี้ไม่มี เขาไม่ผูกพันเลย จึงเป็นเรื่องยากที่จะผ่าน ดังนั้นตนก็จะรอดูการประชุมว่าจะจบลงอย่างไร.
ข่าว
11 ก.พ. 2568 14:46 118 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 14:40 378 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 14:33 83 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 14:28 131 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 14:26 105 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 14:26 94 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 13:51 118 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 13:47 133 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 13:28 108 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 13:11 154 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 12:29 104 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 12:11 131 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 12:07 102 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 11:32 110 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 11:21 175 views
ข่าว
11 ก.พ. 2568 11:13 182 views