วันอังคารที่ 22 เมษายน 2568
5 ก.พ. 2568 18:33 | 468 view
@supakitt
นักวิชาการชี้ Regulator ต้องวางบทบาทให้ถูกจุด ไม่ติดกับดักแนวคิด NGO ย้ำชัด ต้องสร้างความสมดุลระหว่างธุรกิจ-ผู้บริโภค ส่งเสริมการแข่งขัน หนุนการเติบโตของอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการชื่อดัง เปิดเผยว่า บทบาทหน้าที่ของ Regulator หรือหน่วยงานกำกับดูแลถือเป็นกลไกสำคัญการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม ควบคู่ไปกับการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดและปกป้องประโยชน์ของประชาชน แต่ปัจจุบันเป็นที่น่ากังวัลว่า บุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ Regulator บางแห่งไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการที่ควรเป็น แต่กลับแสดงบทบาทเสมือน NGO บางกลุ่มที่มุ่งเน้นการต่อต้านและคัดค้านมากกว่าส่งเสริมการพัฒนาผลที่เกิดขึ้นคืออุตสาหกรรมหยุดชะงัก นักลงทุนไม่กล้าขยายธุรกิจ และสุดท้ายเศรษฐกิจของประเทศเสียโอกาสในการเติบโต
“Regulator มีหน้าที่กำกับดูแลเพื่อส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม จำเป็นต้องมีการออกกฎระเบียบต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อมูลทางเศรษฐกิจ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากล ไม่ใช่เพียงการตอบสนองต่อแรงกดดันจากกระแสสังคม” ดร.เสรี ระบุ พร้อมขยายความเพิ่มเติมอีกว่า Regulator ยังต้องปกป้องสิทธิของผู้บริโภค แต่ต้องไม่ทำให้ภาคธุรกิจแบกรับภาระที่ไม่จำเป็นหรือถูกจำกัดศักยภาพในการให้บริการที่ดีขึ้น ที่สำคัญ Regulator ต้องตระหนักว่ากฎระเบียบที่เข้มงวดเกินไปอาจทำให้ประเทศเสียโอกาสในการพัฒนา ในทางกลับกัน นโยบายที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นสามารถช่วยดึงดูดการลงทุนและขับเคลื่อนนวัตกรรมได้
ปัญหาที่เกิดขึ้นหาก Regulator เล่นบท NGO จะส่งผลให้การพัฒนานวัตกรรมของบางธุรกิจได้รับความเสียหายจากการออกกฎเกณฑ์ที่จำกัดการขยายตัวของอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเกิดการกำหนดข้อบังคับที่ล้าสมัย หรือการบังคับใช้กฎระเบียบโดยไม่พิจารณาผลกระทบในระยะยาว เช่น บางประเทศที่มีการควบคุมภาคโทรคมนาคมอย่างเข้มงวดเกินไป ทำให้ต้นทุนของผู้ให้บริการสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าบริการแพงขึ้นและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และยังอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภาพรวม และจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติที่อาจสนใจลงทุนในประเทศนั้น ๆ มองว่าประเทศที่มีกฎระเบียบที่ไม่แน่นอนเป็นความเสี่ยง ส่งผลให้มีการย้ายเงินทุนไปลงทุนในประเทศอื่น ลักษณะนี้มีตัวอย่างให้เห็นในอินเดียที่เคยมีปัญหาด้านนโยบายกำกับดูแลในภาคโทรคมนาคม ซึ่งส่งผลให้บริษัทต่างชาติถอนการลงทุนออกไปและเลือกลงทุนในตลาดที่มีเสถียรภาพกว่า
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ Regulator บางแห่งพยายามควบคุมราคาหรือจำกัดการแข่งขันโดยไม่คำนึงถึงกลไกตลาด ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภคในระยะยาว มีกรณีศึกษาที่ต้องบาลานซ์เรื่องนี้ให้ดีของบางประเทศในยุโรปที่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดเรื่องราคาพลังงาน ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนพลังงานและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.เสรีได้ยกกรณีประเทศที่มี Regulator ที่มีประสิทธิภาพและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อาทิ สหรัฐอเมริกา มีหน่วยงาน Federal Communications Commission (FCC) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของสหรัฐฯ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม เช่น การเปิดตลาด 5G ให้กับผู้ให้บริการหลายรายแข่งขันกันอย่างเสรี ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G หรือถ้ามองประเทศใกล้ตัวเราอย่างสิงคโปร์ มีหน่วยงาน Infocomm Media Development Authority (IMDA) ใช้แนวทางกำกับดูแลที่เรียกว่า “Regulation with Innovation” เป็นการกำกับดูแลที่ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรม เช่น การสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี และการให้ใบอนุญาตแบบยืดหยุ่นเพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ดร.เสรี เน้นย้ำว่า การกำกับดูแลที่สมดุลและมีประสิทธิภาพนั้น Regulator ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากล วางบทบาทเป็นกลาง โปร่งใส ปราศจากแรงกดดันทางการเมืองหรืออุดมการณ์ใด ทำหน้าที่ออกกฎระเบียบที่มีพื้นฐานจากข้อมูล ไม่ใช่แค่ไปตามกระแสทางสังคม แต่ต้องวางแนวทางที่สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ธุรกิจ และประชาชน เพื่อลดข้อขัดแย้ง และนำไปสู่การสร้างแนวทางที่สมดุล
“หากจะทำให้ประเทศไทยขับเคลื่อนไปได้ทันในโลกยุคนี้ Regulator ต้องวางบทบาทให้ถูกจุด ไม่เล่นบทบาทผิดพลาดไปเป็น NGO ซึ่งจะส่งผลเสียต่อประเทศในระยะยาว เพราะการกำกับดูแลที่ดีต้องสร้างสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมการแข่งขัน และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรม” ดร.เสรี กล่าวปิดท้าย
ข่าว
22 เม.ย. 2568 09:29 2 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:46 167 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:40 93 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:37 59 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:35 161 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:21 111 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:20 115 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:13 70 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 16:05 59 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 15:26 209 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 14:59 114 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 14:08 50 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 13:53 197 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 13:36 49 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 13:34 121 views
ข่าว
21 เม.ย. 2568 13:30 110 views