วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568
3 ก.พ. 2568 14:05 | 93 view
@pracha
'สุรเกียรติ์' ชี้ 6 ปัจจัยเสี่ยงกระทบอนาคตไทย 'ธนินท์'แนะรัฐออกกฎหมายเอื้อพัฒนาประเทศทุกด้าน
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "Future Thailand: The Comprehensive View" ภายในงาน "Chula Thailand Presidents Summit 2025" ว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตของประเทศไทยในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับความปั่นป่วน (Global disruption) 6 ประการ ได้แก่ 1. การเข้ามาของเทคโนโลยี (Technology disruption) 2. การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Demographic disruption) 3. โรคระบาด (Pandemic disruption) 4. สิ่งแวดล้อม (Environmental disruption) 5. อาชีพที่จะหายไป (Jobs disruption) และ 6. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-political disruption)
นายสุรเกียรติ์ กล่าวว่า เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านความท้าทายเหล่านี้ได้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ 10 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การวางจุดยืนทางการเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ โดยตั้งผู้แทนพิเศษเพื่อเจรจากับสหรัฐฯ และร่วมมือกับอาเซียน 2. การเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยี สังคมสูงอายุ โรคระบาด และสิ่งแวดล้อม 3. การก้าวสู่ความยั่งยืนด้วยกรอบ SDGs และ ESG 4) การส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทย 5. การสร้างความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ 6) การพัฒนาความมั่นคงด้านพลังงาน 7. การปฏิรูปการศึกษา 8. การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย 9. การปฏิรูปการทำงานของหน่วยงานรัฐ และ 10. การส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
"ประเทศไทยต้องเป็น "Future Ready Thailand" ที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง มีความยืดหยุ่น และมีความพร้อมในการปฏิรูป โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน"นายสุรเกียรติ์กล่าว
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นเครื่องจักรสำคัญของเศรษฐกิจไทย และรัฐบาลควรมีงบประมาณและเป้าหมายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาของโลก โดยดึงดูดนักศึกษาต่างชาติมาศึกษาในประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย
ทั้งนี้ภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยนั้น เสนอให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โดรน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆ (IoT) มาใช้ในภาคเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในห่วงโซ่อาหาร นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงความจำเป็นในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยี AI และการพัฒนาต่างๆ ต้องการพลังงานมากขึ้น
ทั้งนี้ นายธนินท์ ยังได้ฝากถึงภาคเอกชนให้ช่วยกันคิดหาวิธีเพิ่มรายได้และกำลังซื้อให้กับประชาชน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน
งาน "Chula Thailand Presidents Summit 2025" ถือเป็นเวทีสำคัญที่รวบรวมความคิดเห็นและวิสัยทัศน์จากผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศไทยให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต
ข่าว
3 ก.พ. 2568 16:39 54 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 15:46 75 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 14:21 310 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 14:14 129 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 14:05 94 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 13:26 105 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 13:17 118 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 13:12 84 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 13:10 95 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 10:34 136 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 09:47 139 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 09:35 166 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 09:21 145 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 09:18 176 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 09:18 231 views
ข่าว
3 ก.พ. 2568 09:10 187 views