วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567
21 พ.ย. 2567 09:13 | 93 view
@pracha
ผ่า‘เงินหมื่น’!อดีตรมว.คลังฟันเปรี้ยง แจกเงินอายุเกิน 60 ปีผิดกฎหมาย
21 พฤศจิกายน 2567 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” หัวข้อ “แจกเงินอายุเกิน 60 ปีผิดกฎหมาย” ระบุว่า...แจกเงินอายุเกิน 60 ปีผิดกฎหมาย ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ 1/2567 ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ให้กับผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมประมาณ 4 ล้านคน ใช้งบประมาณ 40,000 ล้านบาท ผมมีความเห็นว่าเป็นการผิดกฎหมาย ฝ่าฝืน พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ
1.มาตรการนี้เป็นโครงการต่างหากจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตในรูปข้างล่าง สื่อรอยเตอรส์รายงานข่าวว่า รัฐมนตรีคลังจะแจกเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 จำนวน 4 ล้านคน แต่ขอให้ผู้อ่านสังเกตว่า รัฐบาลเองไม่กล้าใช้คำว่า ดิจิทัลวอลเล็ต กลับเรียกเป็น โครงการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ในทางกฎหมาย นี่ไม่ใช่โครงการดิจิทัลวอลเล็ตตามที่หาเสียงไว้ แต่เฉไฉไปเป็นโครงการแจกเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความนิยม
2.โครงการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 เน้นกลุ่มเปราะบาง แต่เฟส 2 ไม่ใช่แจกกลุ่มเปราะบาง แต่แจกกลุ่มเปรอะไปหมด
สังคมพอจะรับการแจกเงินในเฟส 1 ได้ เพราะแจกแก่กลุ่มผู้เปราะบาง แต่การแจกในเฟส 2 ไม่ได้แจกแก่กลุ่มผู้เปราะบาง แต่แจกแก่กลุ่มผู้มีอันจะกิน โดยมีการเปลี่ยนแปลงนิยามให้หลวมโพรก ทั้งด้านรายได้ ด้านทรัพย์สิน และด้านคุณสมบัติอื่น
#ด้านจำกัดฐานะรายได้ หลักเกณฑ์เดิม
+ บุคคล: รายได้ต่อปี ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
+ และครอบครัว: รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
#ด้านจำกัดฐานะรายได้ หลักเกณฑ์ใหม่
รายได้บุคคลต่อปี ขยายมหาศาลเป็นไม่เกิน 840,000 บาท โดยรายได้ครอบครัวอาจจะมากกว่านี้อีกเท่าไหร่ก็ได้ ไม่จำกัด
#ด้านจำกัดฐานะทรัพย์สิน หลักเกณฑ์เดิม
$$ มีทรัพย์สินทางการเงินได้แก่ เงินฝาก สลาก พันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ
+ บุคคล: ไม่เกิน 100,000 บาท
+ และครอบครัว : เฉลี่ยต่อคนไม่เกิน 100,000 บาท
#ด้านจำกัดฐานะทรัพย์สิน หลักเกณฑ์ใหม่
$$ มีเงินฝาก ขยายอย่างเกินเหตุ เป็นไม่เกิน 500,000 บาท
#ด้านจำกัดความสามารถในการกู้ หลักเกณฑ์เดิม
+ ถ้ามีเครดิตกู้บ้าน ต้องไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และถ้ามีกู้รถ ต้องไม่เกิน 1 ล้านบาท
+ ต้องยังไม่มีฐานะพอที่จะมีบัตรเครดิต
#ด้านจำกัดความสามารถในการกู้ หลักเกณฑ์ใหม่
+ มีเครดิตสามารถกู้เงินอยู่แล้ว เท่าไหร่ก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด
+ มีฐานะดี ขอบัตรเครดิตกี่ใบก็ได้ มีวงเงินที่จะใช้บัตรเครดิตเท่าไหร่ก็ได้
#ด้านคุณสมบัติอื่น หลักเกณฑ์เดิม
+ ไม่แจกแก่ข้าราชการ/ พนักงานราชการ/ พนักงาน/ ลูกจ้าง/ เจ้าหน้าที่/ ผู้ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานของรัฐ
+ ไม่แจกแก่ผู้รับบำเหน็จรายเดือน/ ผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
+ ไม่แจกแก่ ข้าราชการการเมือง สส. สว.
#ด้านคุณสมบัติอื่น หลักเกณฑ์ใหม่
ไม่มีข้อห้ามเช่นเดิมเลย
ทั้งนี้ วงเงินรายได้ 840,000 บาท/ปีนั้น นำมาจากหลักเกณฑ์ดิจิทัลวอลเล็ต แต่เป็นการอ้างข้ามสายพันธุ์ ทั้งที่การแจกเฟส 2 ไม่มีอะไรเป็นดิจิทัลเลย
นอกจากนี้ การเปลี่ยนมาแจกเป็นเงินสด ก็ควบคุมเงื่อนไขการใช้เงินไม่ได้เหมือนดิจิทัล จึงไม่มีเหตุผลที่จะแจกเงินนอกเหนือไปจากกลุ่มเปราะบาง
3.การแจกเงินแก่กลุ่มผู้มีอันจะกิน ฝ่าฝืนกฎหมาย
ถึงแม้หลักเกณฑ์ที่แถลงอ้างว่า ผู้รับเงิน 10,000 บาท เฟส 2 เป็นกลุ่มเปราะบาง แต่ในข้อเท็จจริง ไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง กลับเป็นกลุ่มที่มีฐานะช่วยตัวเองได้อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องแจกเงินแก่ผู้ที่มีอันจะกินอยู่แล้ว
นอกจากนี้ การแจกเงินทำนองนี้ ไม่ว่างในเฟส 1 หรือเฟส 2 มีผลในทางเศรษฐกิจเป็นการใช้เงิน ที่จะกู้หนี้สาธารณะเพิ่ม เนื่องจากรัฐบาลวางแผนงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องไปอีกหลายปี และการแจกเงินดังกล่าว มีผลให้งบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นการกู้หนี้สาธารณะมาแจกเงินโดยปริยาย
4.ฝ่าฝืน พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ
มาตรา 6 รัฐต้องดำเนินนโยบายการคลัง การจัดทํางบประมาณ การจัดหารายได้ การใช้จ่าย การบริหารการเงินการคลัง และการก่อหนี้ อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ตามหลักการรักษาเสถียรภาพและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และหลักความเป็นธรรมในสังคม และต้องรักษาวินัยการเงินการคลังตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด
มาตรา 7 การกู้เงิน การลงทุน การตรากฎหมาย การออกกฎ หรือการดําเนินการใด ๆ ของรัฐที่มีผลผูกพันทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ต้องพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
มาตรา 9 คณะรัฐมนตรีต้องรักษาวินัยในกิจการที่เกี่ยวกับเงินแผ่นดินตามพระราชบัญญัตินี้อย่างเคร่งครัด
ในการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายการคลัง การจัดทํางบประมาณ การจัดหารายได้ การใช้จ่าย การบริหารการเงินการคลัง และการก่อหนี้ คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาประโยชน์ที่รัฐหรือประชาชนจะได้รับ ความคุ้มค่า และภาระการเงินการคลังที่เกิดขึ้นแก่รัฐ รวมถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐอย่างรอบคอบ
คณะรัฐมนตรีต้องไม่บริหารราชการแผ่นดินโดยมุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
ผมจึงมีความเห็นว่า มาตรการแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ที่ไม่ได้แจกให้แก่กลุ่มเปราะบางอย่างแท้จริงเหมือนอย่างเฟส 1 เป็นการก่อหนี้สาธารณะที่ไม่คุ้มค่าและไม่จำเป็น และมีผลกระทบเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
นอกจากนี้ มีผลเป็นการมุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
อนึ่ง ผมได้รับฟังรัฐมนตรีคลัง (นายพิชัย ชุณหวิชร) ปรารภต่อสื่อว่า พื้นที่ทางการคลังเหลือน้อยแล้วจากการมีหนี้สาธารณะจำนวนสูง แต่ท่านกล่าวเตือนเช่นนี้ คงจะลืมเตือนตัวเอง
ท่านคงลืมไปว่า ประเทศเรามีปัญหาในเชิงโครงสร้างอีกหลายด้าน รัฐบาลจำเป็นจะต้องใช้จ่ายอีกมากเพื่อแสวงหาเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่
การเอาเงินมาแจกเปรอะเพื่อสร้างความนิยม ทำให้ไม่เหลือกระสุนเพื่อใช้ยามจำเป็น
ข่าว
21 พ.ย. 2567 13:26 31 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 13:24 28 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 12:40 48 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 12:17 33 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:57 37 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:54 36 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:45 65 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:56 68 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:54 64 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:33 63 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:26 71 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 09:57 62 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 09:19 82 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 09:15 104 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 09:13 94 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 09:11 78 views