วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567
19 พ.ย. 2567 08:44 | 356 view
@pracha
จับตานายกฯนั่งหัวโต๊ะเป็นปธ.บอร์ดกระตุ้น ศก.ถกแจกหมื่น-แก้หนี้-ของขวัญปีใหม่ วันนี้
วานนี้ 18 พฤศจิกายน นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ขยายตัว 3% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2.2% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ที่ 1.2% ขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจไทยรวม 9 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 2.3%
นายดนุชา กล่าวอีกว่า โดยมีปัจจัยสำคัญด้านการใช้จ่าย ได้แก่ การอุปโภคบริโภครัฐบาลขยายตัวในเกณฑ์สูงที่ 6.3% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 25.9% และเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 แม้การลงทุนภาคเอกชนลดลงติดลบ 2.5% แต่การลงทุนรวมยังขยายตัว 5.2% การส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐขยายตัวที่ 8.9% ขณะที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.4% ซึ่งชะลอตัวจากไตรมาสก่อนและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.4% ชะลอลงจาก 4.9% ในไตรมาสก่อน
“ส่วนด้านการผลิตอยู่ในแนวโน้มขยายตัวเกือบทุกสาขา ได้แก่ สาขาก่อสร้างที่ฟื้นตัวกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ที่ 15.5% สาขาการขนส่งขยายตัว 9% สาขาการขนส่งขายปลีกขยายตัว 3.5% สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัว 8.4% ส่วนสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 0.1% แต่เป็นการขยายตัวแบบชะลอตัวจากไตรมาสก่อน ขณะที่สาขาเกษตรกรรมลดลงต่อเนื่องติดลบ 0.5% แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว 2.6% ปรับตัวดีขึ้นจาก 1.9% ปีก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 2.5% ของจีดีพี ส่วนไตรมาสที่ 4 ปี 2567 คาดว่าแนวโน้มจะดีต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3” นายดนุชากล่าว
นายดนุชา กล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2568 คาดว่าจะขยายตัว 2.3-3.3% มีค่ากลางอยู่ที่ 2.8% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1.การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ 2.การขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ 3.การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว และ 4.การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในเรื่องเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งยังต้องติดตามนโยบายการค้าของสหรัฐ หลังจากนายโดนัล ทรัมป์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปด้วย
“ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3% และ 2.8% ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐขยายตัว 2.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.3-1.3% ต่อปี และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.6% ของจีดีพี” นายดนุชากล่าว
นายดนุชา กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2567 และปี 2568 ควรให้ความสำคัญ 1.การขับเคลื่อนภาคการส่งออกให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือผลกระทบจากการยกระดับมาตรการกีดกันทางการค้าที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น 2.การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม 3.การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชน 4.การดูแลเกษตรกรและสนับสนุนการปรับตัวในการผลิตภาคเกษตร และ 5.การให้ความช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาด้านการเข้าถึงสภาพคล่องเนื่องจากคุณภาพสินเชื่อปรับลดลงต่อเนื่อง
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะประชุมวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ โดยกระทรวงการคลังเตรียมเสนอแพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจรายปี เริ่มตั้งแต่ของขวัญปีใหม่ช่วงสิ้นปีนี้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีหน้า เสนอโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ระยะถัดไป มาตรการแก้หนี้ภาคประชาชน ตลอดจนมาตรการของขวัญปีใหม่ในปลายปีนี้ ทั้งนี้ ยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงต่างๆ ด้วย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ราคาตั๋วเครื่องบินที่อาจจะมีราคาสูงในช่วงวันที่ 27-28 ธันวาคม 2567 และวันที่ 1-2 มกราคม 2568 เนื่องด้วยมีการเดินทางโดยสารเครื่องบินเพิ่มมากขึ้น และจำนวนอากาศยานที่สายการบินทุกสายมีอยู่ยังมีจำนวนน้อยกว่าช่วงก่อนโควิดอยู่ที่ 76 ลำ คิดเป็น 25% ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโดยสารด้วยเครื่องบินโดยตรง จึงมอบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ติดตามค่าโดยสารอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงปลายปีและเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ รวมถึง ให้หารือร่วมกับสายการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเที่ยวบินให้เพียงพอกับความต้องการเดินทาง และแก้ราคาตั๋วแพงช่วงวันหยุดยาวด้วย
“สมาคมสายการบินประเทศไทยจะมีเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้น 247 เที่ยวบิน ที่นั่งเพิ่ม 48,244 ที่นั่ง จำนวนนี้มีตั๋วราคาไม่สูงรวมอยู่ด้วย และเดินทางวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ถึง 5 มกราคม 2568 โดยตั๋วเที่ยวบินพิเศษที่เพิ่มจะเข้าสู่ระบบการขายตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน ขณะที่การบินไทยจะปรับชนิดอากาศยานให้มีที่นั่งมากขึ้นในบางวัน ในเส้นทางภูเก็ต กระบี่ เชียงใหม่ และเชียงราย เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม 2568 จะทำให้มีจำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวถึง 25,144 ที่นั่ง ดังนั้น จึงมีที่นั่งเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง” นายสุริยะกล่าว
ข่าว
23 พ.ย. 2567 17:35 120 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 16:48 115 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 16:26 126 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 16:01 136 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 15:29 143 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 15:07 123 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 15:01 157 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 14:58 145 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:36 143 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:28 157 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:26 175 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:23 169 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:20 164 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:04 146 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 11:01 169 views
ข่าว
23 พ.ย. 2567 10:49 183 views