วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2567
9 พ.ย. 2567 10:08 | 345 view
@juthamas
นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. ครั้งที่ 49/2567 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2568 แบ่งเป็น 3 กรณี
กรณีที่ 1 ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือกฟผ. ทั้งหมด) รวมค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าปี 2566 (AFGAS)
ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 170.71 สตางค์ต่อหน่วยเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนมกราคม-เมษายน 2568 จำนวน 16.52 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ของกฟผ. 85,236 ล้านบาท (คิดเป็น 131.01 สตางค์ต่อหน่วย)และมูลค่า AFGAS ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ (กฟผ. และ ปตท.) เดือนกันยายน-ธันวาคม 2566 จำนวน 15,083.79 ล้านบาท(คิดเป็น 23.18 สตางค์ต่อหน่วย) รวม 154.19 สตางค์ต่อหน่วย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564-สิงหาคม 2567 คืนทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด เมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มเป็น 5.49 บาทต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่ม 31% จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน
กรณีที่ 2 ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 147.53 สตางค์ต่อหน่วย เรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนมกราคม`เมษายน 2568 จำนวน16.52 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นของ กฟผ. 85,236 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 131.01 สตางค์ต่อหน่วย) กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนคืนทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มเป็น 5.26 บาทต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้น26% จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน ซึ่งจะยังมีภาระ AFGAS ที่รัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติรับภาระไว้ 15,083.79 ล้านบาท
กรณีที่ 3 กรณีตรึงค่า Ft เท่ากับงวดปัจจุบัน (ข้อเสนอ กฟผ.) ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย จะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 จำนวน 16.52 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุน AF คงค้างสะสมได้ 15,094 ล้านบาท (คิดเป็น 23.20 สตางค์ต่อหน่วย) คาดว่า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2568 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ (กฟผ. และ ปตท.)รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 85,226 ล้านบาทเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)เท่ากับ 4.18 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับปัจจุบัน
จากแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นจากงวดก่อนหน้า 3.27 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 33.36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศซึ่งมีต้นทุนราคาถูกมีความพร้อมในการผลิตเพิ่มขึ้น สถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (LNG Spot)ในตลาดโลกลดลงจากงวดก่อนหน้า 0.2 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ปริมาณก๊าซธรรมชาติในแหล่งอ่าวไทยซึ่งมีต้นทุนราคาถูกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มต้นทุนจากปัจจัยนอกเหนือการควบคุมดีขึ้น ส่งผลต่อแรงกดดันต่อการเพิ่มค่าไฟลดลงแต่ปัจจัยที่ยังไม่สามารถทำให้ค่าไฟลดลงได้มาจากภาระหนี้ค่าเชื้อเพลิงสะสม
จากสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าลดลง แต่เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระที่ยังคงสูงอยู่ ส่งผลให้ค่าไฟช่วงต้นปี 2568อาจต้องเพิ่มค่าเอฟทีขึ้นสู่ระดับ 147.53-170.71 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อคืนหนี้คงค้างให้กับ กฟผ. และปตท.ทำให้เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน ที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บงวดมกราคม-เมษายน 2568 เพิ่มเป็น 5.26-5.49 บาทต่อหน่วยหากตรึงค่าเอฟทีไว้ที่ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย โดยทยอยคืนหนี้คงค้างควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อการปรับค่าไฟฟ้าอย่างก้าวกระโดดเพื่อลดภาระประชาชนค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย เท่ากับปัจจุบัน
กพพ.เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานกพพ.ตั้งแต่วันที่ 8-22 พฤศจิกายน 2567ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
ข่าว
12 พ.ย. 2567 17:07 128 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 17:03 98 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 16:53 90 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 16:17 125 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 14:20 128 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 14:16 122 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 14:01 249 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 14:01 150 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 12:35 176 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 12:21 130 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 11:28 138 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 11:19 161 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 10:20 133 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 10:05 203 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 10:04 148 views
ข่าว
12 พ.ย. 2567 09:57 143 views