×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life สุขภาพและความงาม ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน แฟชั่น โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567

?>

จิตแพทย์แนะวิธีดูเด็ก หลังเหตุกระทบกระเทือนจิตใจ เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค PTSD

 8 ต.ค. 2567 14:31 | 696 view

 @pracha

Facebook X Share

จิตแพทย์ แนะ ครอบครัว เป็นส่วนสำคัญในการดูแลจิตใจและความรู้สึก สังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก หลังลูกน้อยได้รับเหตุกระทบกระเทือนจิตใจ ก่อนส่งผลระยะยาวทางสุขภาพจิตเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค PTSD หรือ ความผิดปกติที่เกิดหลังจากได้รับความเครียดสะเทือนใจ ส่งผลให้เด็กมีความหวาดกลัว หวาดระแวง มีพฤติกรรมแปลกแยกมีพัฒนาการต่างจากเด็กในวัยเดียวกัน และเมื่อเติบโตขึ้นเด็กเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า” ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยจิตเวชประมาณ 7 ล้านราย

8 ต.ค. 2567 – พญ.ปรานี ปวีณชนา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคจิตเวชประมาณ 7 ล้านคน ซึ่งผู้ป่วยจิตเวชมีทุกเพศทุกวัย อาการและพฤติกรรมของคนไข้     แต่ละกลุ่มโรคมีความแตกต่างกัน คนไข้ที่ป่วยบางรายไม่รู้เลยว่าตัวเองป่วยเป็นจิตเวช ดังนั้นสิ่งที่สำคัญมาก คือ “ความรัก การเอาใจใส่ ดูแลความรู้สึก หมั่นสังเกตพฤติกรรม ของคนในครอบครัว” โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง หากเกิดเหตุการณ์ร้ายหรือเหตุการณ์รุนแรงมากระทบจิตใจ และเด็กไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่หรือบำบัดสภาพจิตใจอย่างถูกต้อง จะส่งผลระยะยาวจนกลายเป็น โรค PTSD

ทั้งนี้ โรค PTSD (Posttraumatic Stress Disorder: PTSD) คือ อาการทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เกิดจาก ภาวะผิดปกติทางจิตใจที่เกิดภายหลังจากการพบเหตุการณ์รุนแรง สะเทือนใจ เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย ประสบอุบัติเหตุ การรอดชีวิตจากภัยพิบัติ หรือถูกบูลลี่จากเพื่อนๆ ส่งผลให้เด็กมีสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ หวาดกลัว หวาดระแวง รู้สึกแปลกแยก ไม่สดใสร่าเริง เมื่อเด็กป่วยเป็นโรค “PTSD” จะส่งผลระยะยาวในการดำเนินชีวิตในอนาคต สำหรับอาการของโรค PTSD จะเกิดขึ้นภายหลังได้รับการกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งควรมีการดูแลสภาพจิตใจเด็กอย่างต่อเนื่อง เพราะอาการทางจิตเวชอาจไม่ได้เกิดขึ้นทันที ควรติดตามอาการเป็นระยะ ๆ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และหลังจากนั้น แม้จะผ่านเหตุการณ์นั้น ๆ ไปแล้ว 5-10 ปี เด็กก็อาจจะมีอาการ PTSD เกิดขึ้นในภายหลังได้ โดยภาวะหลังประสบเหตุการณ์รุนแรงจะมีอาการตามมาได้ 3 กลุ่ม

กลุ่มอาการหลอน (Re-experience) นึกถึงภาพบาดแผลเรื่องราวกระทบกระเทือนจิตใจซ้ำ ๆ ห้ามไม่ได้ เกิดฝันร้ายต่าง ๆ รู้สึกเหมือนตัวเองถูกดึงกลับไปในเหตุการณ์นั้นอีก (Flashback)

กลุ่มอาการเร้า (Hyperarousal) กลุ่มอาการที่เรารับรู้ภัยคุกคามต่อชีวิต ทำให้เรามีปฏิกิริยาทางร่างกายที่จะหลบหนี มีอาการกระสับกระส่าย มีความคิด ความจำไม่ดี สติแตก นอนไม่หลับ ลุกลี้ลุกลน ระแวง

กลุ่มอาการหลบ (Avoidance) เมื่อเจออะไรก็ตามที่เหมือนกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น จะหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้เสมือนเขากลับไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก

พญ.ปรานี ให้ข้อมูลต่อว่า เมื่อเด็กหรือคนในครอบครัวได้รับการกระทบกระเทือนด้านจิตใจอย่างรุนแรง พ่อแม่และคนในครอบครัวมีส่วนสำคัญมากในการดูแลรักษาสภาพจิตใจของผู้ประสบเหตุให้กลับมาสู่ภาวะปกติได้ โดยมีวิธีที่ทุกคนสามารถช่วยเหลือดูแลสภาพจิตใจ ดังต่อไปนี้

รับฟังปัญหาและให้กำลังใจ รับฟังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่บังคับ ในเด็กเล็กจะไม่สามารถสื่อสารบอกความรู้สึกโดยตรงได้ แนะนำให้ใช้วิธีการเล่นวาดรูป ระบายสี เพื่ออธิบายความรู้สึก รับฟังและคอยให้กำลังใจ ให้ความมั่นใจว่าเหตุการณ์ร้ายเหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก

ให้ลูกใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ พยายามให้ลูกได้ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ทั้งการเรียนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างที่เคยทำก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในช่วงแรก และต้องใช้เวลาปรับตัวสักพัก ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องขอความร่วมมือจากคุณครู ผู้รับเลี้ยงเด็ก และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในชีวิตของเด็ก และควรพูดคุยปรึกษาส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับอาการของเด็กอยู่เสมอ

หาวิธีสร้างความมั่นใจให้กับลูก สนับสนุนให้ลูกได้ลองตัดสินใจด้วยตนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูก นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตำหนิลูก หากลูกมีพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่ถดถอย เช่น ฝันร้าย หวาดระแวง พูดน้อยลง เก็บตัวไม่สุงสิงกับใคร เพราะการฟื้นฟูสภาพจิตใจ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เราไม่สามารถกำหนดได้เลยว่า อาการเหล่านั้นจะหายไปเมื่อไหร่ บางรายอาจหายเป็นปกติ แต่บางรายฝังใจ มีอาการต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ หรือตลอดชีวิต

เข้ารับความช่วยเหลือจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ การบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็กที่มีอาการของโรค PTSD ให้ดีขึ้นได้ โดยแพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม CBT หรือ Cognitive Behavioral Therapy จะช่วยให้เด็กเข้าใจความคิดและความรู้สึกของตัวเองและปรับทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น

พญ.ปรานี กล่าวปิดท้ายว่า ปัจจุบันมีคนไทยที่ป่วยด้วยโรคจิตเวชจำนวนมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าป่วย บางรายรู้แต่ไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย และที่สำคัญผู้ป่วยบางรายยังสับสนในอาการป่วยทางจิตเวชบางโรคและเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคทั่วไป โรคจิตเวช คือกลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกิจวัตรต่าง ๆ หรือเกิดความทุกข์ทรมาน ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองป่วย หรือบางคนรู้แต่ไม่มาพบแพทย์ ทำให้อาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต ตัวอย่างโรคจิตเวชที่พบบ่อยในปัจจุบัน เช่น

1. โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่ายเป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชอบทำคิดว่าตัวเองไร้ค่าเป็นภาระ มีพฤติกรรมการกินการนอนเปลี่ยนไป เหนื่อยเพลีย ไม่อยากทำอะไร ไม่มีสมาธิในการทำงาน บางรายอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้าแต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัว ทำอะไรก็ไม่มีความสุขและไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ความสำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการของความรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นอยากตาย พยายามฆ่าตัวตาย

2. โรคสมาธิสั้น (Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder; ADHD)  เกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ มีอาการ 3 แบบ คือ ขาดสมาธิ (Inattention), ซน ไม่นิ่ง (Hyperactivity) และใจร้อน (impatiently) โดยอาการมักเป็นในหลายสถานการณ์ เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน เป็นต้น สาเหตุของโรคส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นโรค เด็กจะมีโอกาสมากขึ้น 4-5 เท่า และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น มารดามีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ได้รับสารตะกั่ว สูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา การรักษา ต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น การกินยา การปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมให้ความรู้ผู้ปกครองและครูเพื่อให้การช่วยเหลือเด็ก และมารับการรักษาต่อเนื่อง

แม้ “โรคจิตเวช” เป็นโรคที่มาจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ มีสารสื่อประสาททำงานไม่อยู่ในสมดุล คนไข้หรือคนรอบข้างต้องหมั่นสังเกตอาการ  เช่น อารมณ์ เศร้า หงุดหงิด เบื่อหน่าย ท้อแท้ โกรธง่าย หรือหดหู่มากกว่าปกติ แนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อรับการประเมินและทำการรักษา เนื่องจากแต่ละคนจะมีภูมิคุ้มกันทางใจที่แตกต่างกัน ซึ่งการสังเกตคนที่ดูอารมณ์ดี ยิ้มแย้มสดใสตลอดเวลา ก็ไม่ได้หมายความว่าคน ๆ นั้นจะต้องสุขภาพจิตดีเสมอไป เราจะต้องเข้าใจให้ลึกถึงความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อประเมินว่าคนไหนมีสุขภาพจิตที่ดีหรือไม่ดี

 

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

กกล.ผาเมือง เร่งฟื้นฟู! ช่วยชาวแม่สาย ทำความสะอาดบ้านเรือน

25 ต.ค. 2567 16:39 63 views

ข่าว

ตำรวจแถลงจับ 'นัตตี้' ยูทูบเบอร์ดังพร้อมแม่ ตุ๋นเหยื่อเทรดหุ้น 2 พันล้าน หนีกบดานอินโดฯ

25 ต.ค. 2567 16:37 16 views

ข่าว

ทีมยิงปืน ทบ. ลุยศึก AARM 2024 ที่ฟิลิปปินส์

25 ต.ค. 2567 16:34 63 views

ข่าว

ผบ.ทบ. มอบนโยบาย ยึดหลักราชการ ร.6-พระราชปณิธาน ร.10

25 ต.ค. 2567 16:09 107 views

ข่าว

เปิดผลตรวจ เส้นทางเงิน 3 บอสดารา รับตรงดิไอคอน กันต์ กันตถาวร รับส่วนแบ่ง 4 ปี เกือบ 80 ล้าน บอสมิน รับ 2 ปี 11 ล้าน บอสแซม รับ 2 ปี 3.2 ล้าน

25 ต.ค. 2567 15:59 74 views

ข่าว

ไทยเข้า "ฤดูหนาว" 29 ต.ค. นี้!

25 ต.ค. 2567 15:55 130 views

ข่าว

โพล เผย คนไทยตกเป็นเหยื่อ "แชร์ลูกโซ่" เชื่อง่าย-โลภ-เชื่อคนดัง!

25 ต.ค. 2567 15:43 63 views

ข่าว

คืบหน้า70%! ทช. สร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ แก้ไขปัญหา 'คอขวด-การจราจรติดขัด'

25 ต.ค. 2567 15:10 86 views

ข่าว

ภูมิธรรมตรวจเยี่ยมกองทัพเรือ ดูความพร้อมเรือพระราชพิธีที่จะใช้ในขบวนพยุหยาตราฯ

25 ต.ค. 2567 14:32 98 views

ข่าว

‘ภูมิธรรม’ยันชัด‘เกาะกูด’ของไทย เล็งดึง‘สภาพัฒน์-กฤษฎีกา’ร่วมแบ่งขุมทรัพย์ใต้ทะเล

25 ต.ค. 2567 14:26 103 views

ข่าว

สวิงสเตทชี้ชะตา! ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024

25 ต.ค. 2567 13:49 103 views

ข่าว

‘อังคณา’ชวน‘นายกฯ’ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปาก‘เหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต’

25 ต.ค. 2567 13:07 102 views

ข่าว

‘พิชัย’ติง‘ผู้ว่าฯธปท.’จ้อสื่อนอก ปมไม่มีนโยบายลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง

25 ต.ค. 2567 13:01 108 views

ข่าว

เตรียมลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568 คลังเปิดรอบใหม่

25 ต.ค. 2567 12:36 170 views

ข่าว

พะยูนอันดามันวิกฤต! เกยตื้น 8 ตัวในเดือนตุลาคม

25 ต.ค. 2567 11:54 101 views

ข่าว

'จตุพร' ซัด 20 ปีตากใบรัฐซ่อนผิด ต้นเหตุยุค 'ทักษิณ' ลูกขอโทษขาดจริงใจ หวั่นไฟใต้ปะทุรุนแรง

25 ต.ค. 2567 11:49 123 views