วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567
26 ก.ย. 2567 12:26 | 777 view
@pracha
ส.ค.ส่งออกโต7% รับอานิสงส์สินค้าเกษตรพุ่งแรง
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคม 2567 มีมูลค่า 26,182.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (939,521 ล้านบาท) ขยายตัว7.0% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำและยุทธปัจจัย การส่งออกขยายตัวที่ 6.6% การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาโดยขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวสูง ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมก็เติบโตได้ดี และการส่งออกไทย 8 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว 4.2% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 4.3%
“ปัจจัยสนับสนุนจากสภาพภูมิอากาศที่ผันผวนในหลายประเทศ ประกอบกับการฟื้นตัวของภาคบริการในตลาดสำคัญ ส่งผลให้เกิดความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปเริ่มกลับมาฟื้นตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น กระตุ้นความต้องการสินค้าจากไทย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกจากค่าระวางเรือที่ลดลง โดยเฉพาะเส้นทางการขนส่งไปยังสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ผู้ส่งออกมีต้นทุนลดลงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคา” นายพูนพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนสิงหาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 939,521 ล้านบาท ขยายตัว 13.0% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 941,019 ล้านบาท ขยายตัว 15.0% ดุลการค้า ขาดดุล 1,497 ล้านบาท ภาพรวม 8 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 7,068,821 ล้านบาท ขยายตัว 9.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 7,378,253 ล้านบาท ขยายตัว 10.5% ดุลการค้า 8 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 309,432 ล้านบาท
สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัว17.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 17.1%โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 5.2% (YoY) โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าการขยายตัวของการส่งออกทั้งปีไว้ที่ 1-2% โดยการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2567 จะเติบโตต่อเนื่องปัจจัยบวกที่สำคัญมาจากแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ซึ่งจะกระตุ้นการบริโภคในตลาดโลก และความต้องการสินค้าเกษตรไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรักษาความมั่นคงทางอาหารของประเทศคู่ค้า และสภาพภูมิอากาศที่ผันผวนทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตในหลายประเทศ แนวโน้มการชะลอตัวของอัตราค่าระวางเรือขนส่งสินค้าจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ ส่วนปัจจัยที่อาจกระทบต่อการส่งออกไทยในระยะถัดไป อาทิ ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความไม่แน่นอนสูง ค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัญหาอุทกภัยในประเทศที่อาจส่งผลต่อปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตร
ขณะเดียวกัน นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันที่ 25 ก.ย.2567 ที่ระดับ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งแข็งค่าขึ้นมาก จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 32.85 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามการอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดย Conference Board เดือนกันยายน ออกมาแย่กว่าคาดและสะท้อนความกังวลภาวะตลาดแรงงานของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังว่า เฟดอาจต้องเร่งลดดอกเบี้ยมากกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังถูกกดดันจากการกลับมาแข็งค่าขึ้นของบรรดาสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะ เงินยูโร (EUR) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) นอกจากนี้ เงินบาทยังคงได้แรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำยังคงสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ (All-Time High) ส่วนแนวโน้มของค่าเงิน ประเมินว่า โมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทนั้นมีกำลังมากกว่าที่ประเมินไว้ ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นเงินบาทแข็งค่าขึ้นทดสอบโซนแนวรับสำคัญ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นทะลุโซนดังกล่าวได้จริง จะเปิดโอกาสให้เงินบาทสามารถแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องไปยังโซน 32.00-32.25 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก
ด้าน นางสาวพิมพ์พันธ์ เจริญขวัญผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาเงินบาทผันผวนมากขึ้น โดยปรับแข็งค่าขึ้น 3.8%ตั้งแต่ต้นปี และปรับแข็งค่าเร็วอยู่ในกลุ่มนำสกุลภูมิภาคในไตรมาส 3 และ ธปท. ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติเพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเศรษฐกิจจริง
ข่าว
22 พ.ย. 2567 16:42 93 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:47 67 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:45 71 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:42 73 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:39 71 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:35 68 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 13:50 76 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 12:09 126 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 11:53 97 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 11:36 95 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 10:57 97 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 10:20 130 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 09:52 144 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 09:31 133 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 09:25 128 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 09:22 129 views