วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567
24 ก.ย. 2567 13:49 | 759 view
@pracha
ค่าบาทแข็งพ่นพิษ หอการค้าฯวอนรัฐจัดการด่วน
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แถลงข่าวขานรับ 10 นโยบายกระทรวงพาณิชย์พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่ภาคธุรกิจไทยแข่งขันได้ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศ 10 นโยบายประกอบด้วยนโยบายลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาสการบริหารให้เกิดความสมดุลระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร และผู้ประกอบการ การแก้ข้อจำกัดของกฎหมายและปรับปรุงข้อกฎหมายที่ล้าสมัย ขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจฐานราก เร่งผลักดันการส่งออกให้ตัวเลขเป็นบวกขึ้น การเร่งเจรจา FTA พานักธุรกิจไทยไปบุกต่างประเทศ การปรับโครงสร้างการส่งออกให้ทันสมัย และการส่งเสริมสินค้ารักษ์โลก ซึ่งหลายมาตรการตรงกับข้อเสนอและแนวทางของหอการค้าไทยที่อยู่ระหว่างดำเนินการควบคู่ไปกับรัฐบาล พร้อมกันนี้อยากให้รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 และ 2568 โดยเฉพาะงบการลงทุนและก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ หอการค้าฯ และเครือข่ายสมาชิกทั่วประเทศพร้อมสนับสนุนและทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงหน่วยงานภาคที่เกี่ยวข้อง อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการคนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น 8-10%อย่างรวดเร็วและรุนแรงในระยะสั้น ปัจจุบันมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00 บาท (+-) ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะสูงขึ้นทำให้การท่องเที่ยวไทยกลายเป็นจุดหมายที่มีราคาสูงนักท่องเที่ยวจะจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เพราะรู้สึกว่าสินค้าและบริการแพงขึ้นและอาจจะเลือกไปยังประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่าและคุ้มค่ามากกว่า
จากที่กล่าวมาเบื้องต้น ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย หากค่าเงินบาทแข็งค่าเฉลี่ย 1% ต่อปี กระทบรายได้ผู้ประกอบการในภาคการส่งออกเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี อาจมีผลกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นกว่า 0.5% ของ GDP ปกติ ค่าเงินบาทที่ผันผวนในปัจจุบันจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยโดยทันที โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร การที่ค่าเงินบาทผันผวนจะส่งผลกระทบใน 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่
1.ขีดความสามารถในการแข่งขัน ค่าเงินบาทที่ผันผวนจะทำให้ลดขีดความสามารถในการส่งออกเป็นมากโดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตที่ใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรและประมงจะปรับสูงขึ้นทันที 10% ส่งผลให้ผู้ผลิตและแปรรูปในไทยอาจต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตาม จะทำให้ลดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เนื่องจากผู้ซื้อจะหันไปหาสินค้าจากประเทศอื่นที่มีราคาถูกกว่า
2.การวางแผนการผลิตและการตลาด หากค่าเงินเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผู้ผลิตและแปรรูปอาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดหรือการผลิตได้ทันเวลา ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ความไม่แน่นอนและเพิ่มความเสี่ยงทางธุรกิจส่งออกเนื่องจากความผันผวนของค่าเงิน ความผันผวนของค่าเงินสร้างความไม่แน่นอนในตลาด การลงทุนและการวางแผนธุรกิจจะยากขึ้น อาจทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าลงทุนในโครงการใหม่หรือขยายตลาด ส่งผลให้ขาดโอกาสในการพัฒนาและเติบโตในอุตสาหกรรมของไทยอย่างเหมาะสม
หอการค้าฯ จึงขอให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ผันผวนอย่างรุนแรงจนเกินไป และดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการปรับตัวให้ทันต่อโลกปัจจุบัน เพื่อหาจุดแข็งและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตนเอง ตลอดจนสร้างความยั่งยืนและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้า โดยมีภาครัฐเป็น Facilitator และต้องหารือร่วมกับเอกชนต่อเนื่อง ทั้งนี้หอการค้าฯ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสินค้าราคาถูก ไม่มีคุณภาพที่ไหลทะลักเข้ามาในประเทศ สร้างความเสียหายต่อผู้บริโภคและส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย โดยประสานความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยในการติดตามดูแลสินค้าไทย-จีน และจัดทำโครงสร้างการค้าที่เป็นธรรมทั้ง 2 ประเทศ เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกลงแบบเร็ว-แรงที่ 0.50% จากอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 5.25-5.50% สู่ 4.75-5.00% หอการค้าฯ เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ควรพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทไม่แข็งค่าจนเกินไป ซึ่งจะเอื้อให้ผู้ประกอบการภาคการส่งออก และภาคท่องเที่ยวและบริการแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น
ข่าว
22 พ.ย. 2567 16:42 108 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:47 83 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:45 87 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:42 91 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:39 87 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 14:35 83 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 13:50 83 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 12:09 141 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 11:53 110 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 11:36 109 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 10:57 110 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 10:20 142 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 09:52 157 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 09:31 145 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 09:25 140 views
ข่าว
22 พ.ย. 2567 09:22 141 views