×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Olympic Games Paris 2024บทความ ไลฟ์สไตล์ สุขภาพ การเงิน โชคชะตาและความเชื่อ สัมภาษณ์&บทความ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567

?>

พรรคเพื่อไทย...จำเป็น จึงจำใจ ? หรือ สมยอม จึงสมใจ ?

 19 ก.ย. 2566 09:38 | 863 view

 @varin

Facebook X Share

ที่มาของวาทกรรม ว่าด้วย “ความจำเป็น” และ “ความจำใจ”
“ จากคะแนน (ขั้วรัฐบาลเดิม) 10 พรรค ถ้ารวมเป็นพรรคเดียวได้ 188 เสียง เป็นอันดับ 1 พรรคก้าวไกล 151 เสียง เป็นอันดับ 2 พรรคเพื่อไทย 141 เสียง เป็นอันดับ 3 เราถึงรณรงค์แลนด์สไลด์ สิ่งที่เราได้รับมามันไม่ถึงเป้า ต้องรับสภาพ หาวิธีการดำเนินการให้ดีที่สุด ”
นี่คือส่วนหนึ่งของคำสัมภาษณ์ คุณหมอชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. แบบแบ่งเขต จ.น่าน เขต 2 ที่ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยในขณะนั้น ทำนองเดียวกันกับที่ คุณแพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี คนที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนว่า 


“ เพราะรัฐธรรมนูญปี 2560 มีเรื่องของ ส.ว.อยู่ เราเคยผ่านจุดนี้มาก่อน ในตอนนั้นถึงแม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้ง เราก็ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้…แต่ครั้งนี้ แน่นอนว่าพรรคเพื่อไทยมีต้นทุนที่จะต้องจ่าย นั่นคือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชน เราขอน้อมรับ และต้องขอโทษ ที่ทำให้หลายคนรู้สึกผิดหวังหรือเสียใจ ”
เพื่ออธิบายถึงสาเหตุ ว่าเนื่องจากผลของการเลือกตั้ง ที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนอย่างเพียงพอ ตามเป้าหมายที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งไว้ คือไม่น้อยกว่า 310 เสียง ประกอบกับเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 272 ที่บัญญัติให้ ส.ว. มีอำนาจในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ ส.ส. ด้วย ส่งผลให้จำนวนเสียงสนับสนุน ต้องขยับจากไม่น้อยกว่า 251 เสียง หรือเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร เป็นไม่น้อยกว่า 376 เสียง หรือเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา

 

แม้ว่าเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม แกนนำของพรรคเพื่อไทย เคยประกาศจุดยืนหนักแน่น สนับสนุนพรรคก้าวไกลให้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และร่วมลงนาม เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ใน “ข้อตกลงร่วม (MoU) ในการจัดตั้งรัฐบาล

” 8 พรรค 315 เสียง รวมถึงให้คำมั่นสัญญาในหลายโอกาสต่อมา ว่าจะจับมือกันไปจนชั่วฟ้าดินสลาย “ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เรา (พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล) จะอยู่ด้วยกันตลอดไป เพื่อตั้งรัฐบาลของพี่น้องประชาชนให้ได้ ”


การโหวตสนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ในวันที่ 13 กรกฎาคม นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จ ได้มาเพียง 324 จาก 749 เสียง หย่อนจากกึ่งหนึ่งมาถึง 51 เสียงแล้ว รัฐสภาก็ยังมีมติ ปฏิเสธการยื่นญัตติเพื่อเสนอชื่อนายพิธา ให้รัฐสภาโหวตซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ด้วย
พรรคก้าวไกล ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่าเข้าข่ายออกตัวแรง มาตั้งแต่ทราบผลการเลือกตั้ง แต่กลับต้องมาค้างอยู่ในสถานการณ์ “ กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง ” บวกกับด้วยจุดยืน ท่าที และแนวนโยบาย ที่ทำให้ร่วมงานกับพรรคการเมืองอื่นๆ ที่เหลือไม่ได้เลย จน พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าของ 1 ใน 8 พรรคร่วม กลับลำออกมาเปรียบเทียบว่าเป็น  " นักเรียนเรียนดี ไม่มีเพื่อน ” เป็นเหตุให้ต้องส่งไม้ต่อให้พรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำตั้งรัฐบาล 8 พรรค แทน เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม

 


ก่อนที่คุณหมอชลน่าน จะออกมาชี้แจงให้เห็นถึงแนวทางที่เป็นได้ ภายหลังการพูดคุยกับ 5 พรรคการเมืองของขั้วรัฐบาลเดิม และแกนนำของ ส.ว. ซึ่งแสดงจุดยืนชัดเจน ว่าจะไม่ร่วมกับพรรคก้าวไกล และไม่แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยเงื่อนไขที่เป็นอยู่ในขณะนั้น 8 พรรคร่วมจึงเหลือทางเลือกเพียง 2 ทาง คือ 1) พรรคก้าวไกล ยอมเสียสละออกไป ซึ่งจะทำให้ได้ทั้งเสียงจาก ส.ส. และ ส.ว. มาเติมจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ หรือ 2) ยืนหยัด 8 พรรค แล้วรอให้ ส.ว. หมดอำนาจไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

 


กระทั่งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พรรคเพื่อไทยออกมาแถลงการณ์ ขอถอนตัวจากความร่วมมือกับพรรคก้าวไกล และประกาศจับมือกับพรรคแกนนำของขั้วรัฐบาลเดิม เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ภายใต้คำอธิบายเพื่อแสดงให้ทุกภาคส่วน เห็นถึง “ความจำเป็น” ว่า


“ ขณะนี้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาสำคัญลำดับแรกที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะประชาชนกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ สถานการณ์หนี้สินของครัวเรือน ภาคธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลางได้รับผลกระทบมาแล้วเป็นเวลานาน ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านโครงสร้างและกลไก เพื่อนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศ ให้กลับคืนมาอีกครั้ง พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ตระหนักดีว่าในสถานการณ์ดังกล่าว เราไม่อาจจะทอดเวลาไปมากกว่านี้ หรือจำนนต่อสถานการณ์ขัดแย้ง ที่ประเทศและประชาชนตกอยู่ในวงล้อมที่เสียโอกาสไปทุกขณะ ”

 

ดังนั้น พรรคเพื่อไทยจึงมี “ความจำใจ” ที่ต้องย้ายขั้วมาร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคการเมืองเหล่านี้ ด้วยความตระหนักดีว่า “แม้พรรคเพื่อไทยจะเผชิญกับวาทกรรม หรือคำกล่าวหาที่รุนแรงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เรารับรู้ความขัดแย้งดังกล่าวด้วยใจที่เป็นธรรม และตั้งใจมุ่งสู่เป้าหมายที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง ดังนั้น เป้าหมายหลักในวาระนี้ คือการเข้ามาร่วมรับผิดชอบในวาระประเทศ และวาระของประชาชน”

 

 

ข้อสงสัย สู่ข้อเท็จจริง ว่าหรือนี่จะเป็น “การสมยอม” เพื่อ “ความสมใจ” ?
ปรากฏการณ์ “อ้าวเฮ้ย” และ “แฟนใหม่หน้าคุ้น” ที่เคยเป็นข้อสงสัยของนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่ง ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งด้วยซ้ำ ว่าแท้ที่จริงแล้ว ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้คือ “การละคร” เป็นส่วนหนึ่งของ “บิ๊กดีล” ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับกลุ่มอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยม จะผิดแผนไปบ้าง ที่พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้เยอะ ทำให้พรรคก้าวไกล สามารถชิงสิทธิ์ในการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ก่อน

แต่จนแล้วจนรอด พรรคเพื่อไทยก็หาทางกลับมาร่วมหอลงโลง กับพรรคของ “2 ลุง” (พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร) และ “เสี่ยหนู” (คุณอนุทิน ชาญวีรกูล) ทั้งที่เคยร่วมประกาศ “มีลุง-ไม่มีเรา” และ “ไล่หนู-ตีงูเห่า” มาแล้ว โดยแก้ตัวว่า ทั้งหมดที่กว่าวมา เป็นไป “#เพื่อการโฆษณาเท่านั้น”


การเดินทางกลับบ้านของ คุณทักษิณ ชินวัตร ในเช้าของวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี อาการป่วยอย่างกระทันหัน รวมถึงการได้ย้ายออกจากเรือนจำตั้งแต่คืนแรก ตลอดจนการได้รับพระราชทานอภัยลดโทษอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา ทำให้เกิดการเชื่อมโยง และสันนิษฐานไปในทิศทางเดียวกันว่า คุณทักษิณ คือตัวประกัน และทั้งหมดนี้อาจเป็น “การสมยอม” ของพรรคเพื่อไทย

จุดหักมุมของเรื่องนี้ เห็นจะได้แก่ การตบเท้าโหวตสนับสนุน คุณเศรษฐา ทวีสิน ให้ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ของ ส.ว. สายลุงตู่ กลุ่มที่เคยยึดอำนาจจาก คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และตามเช็คบิลคดีจำนำข้าวของเธอและพรรคพวก อย่างเอาเป็นเอาตาย ขณะที่ ส.ว. สายลุงป้อม รวมถึงตัวลุงป้อม เอง ต่างเก็บตัวเงียบ และงดออกเสียงกันแทบทั้งสิ้น

ความเข้าใจเกี่ยวกับดีลก่อนหน้านี้ มาเผยให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในการจัดแบ่งโควต้ารัฐมนตรี  ระหว่างพรรค 40 เสียง และพรรค 36 เสียง ที่ได้สัดส่วนรัฐมนตรีเท่ากัน แต่พรรค 36 เสียง  ดูเหมือนจะได้กระทรวงที่มีภาษีดีกว่า และเก้าอี้นิ่งกว่ามาก แถมยังเกือบจะได้สัดส่วนพลัส แฝงไว้ในโควต้าของพรรคเพื่อไทยอีกต่างหาก

จนถึงวันแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เป็นอย่างน้อย บางฝ่ายยังคงเชื่อว่าพรรคเพื่อไทย มีความจำเป็นจึงต้องข้ามขั้วมาจับมือกับฝั่งอนุรักษ์นิยม และด้วยความเชื่อเช่นนี้ โดยเฉพาะพรรคก้าวไกล จึงคิดเอาว่าพรรคเพื่อไทย ถูกพรรคร่วมรัฐบาล “จูงแขน” จนเสียความเป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถผลักดันนโยบายต่างๆ ที่ก้าวหน้า ทั้งที่เคยรับปากกับพี่น้องประชาชนในการหาเสียงเลือกตั้งไว้ได้

 

โดยที่พวกเขาไม่รับรู้เลยว่า การจัดทำ “คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา” ที่คุณเศรษฐา แถลงไปเมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา หลักๆ แล้วถูกจัดทำขึ้นโดยพรรคเพื่อไทย และได้รับการตรวจแก้ไขโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลและรัฐมนตรีจากพรรคอื่นๆ เหล่านั้น เพิ่งมีโอกาสได้เห็นมันครั้งแรกในเช้าวันประชุม ครม.นัดพิเศษ และมีเวลาเพียงแค่การแก้ไขรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

นับตั้งแต่การประชุม ครม. นัดแรก คุณเศรษฐา ก็เริ่มด้วยการสั่งรื้อคำสั่ง คสช. และแนวทางการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ของลุงป้อม ตามด้วยการออกคำสั่งแบ่งงานรองนายกฯ ที่นอกจากจะดึงเอากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นสัดส่วนของรัฐมนตรีจากพรรคพลังประชารัฐ มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คุณภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แล้ว ยังดึงเอาสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่เคยอยู่ภายใต้ความดูแลของลุงป้อม ไปไว้ในมืออีกด้วย ทั้งที่ควรจะอยู่ในการกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า 

“เพราะความจำเป็นจึงต้องจำใจ” จึงน่าเชื่อได้ว่าคงเป็นแค่วาทกรรม ถึงวันนี้ คำถามที่เกิดขึ้น คือหรือนี่จะเป็นการสมยอมของพรรคเพื่อไทย เพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่อำนาจได้อีกครั้ง ? และที่น่าสนใจกว่า คืออะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ? และประวัติศาสตร์ของรัฐบาลเพื่อไทย จะกลับมาซ้ำรอยอีกครั้งหรือไม่ ?
 

 

ศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ
ผู้อำนวยการ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
อีเมล [email protected]

 

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

คลื่นลมแรงเรือโดยสารพีพี-กระบี่หยุดบริการชั่วคราว ปิดแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ

20 ก.ย. 2567 14:02 11 views

ข่าว

"นายกฯอิ๊งค์"ล้อมวงเปิดอก รับฟังข้อเสนอ"จิตอาสา-เอกชน-กองทัพ-ปชช."หลังวิกฤตน้ำท่วมเชียงราย

20 ก.ย. 2567 13:58 19 views

ข่าว

ชี้ต.ค.ดอกเบี้ยยังไม่ลด นายแบงก์คาดกนง.รอดู3ปัจจัย

20 ก.ย. 2567 13:23 15 views

ข่าว

"เลขาฯสภาฯ"เผย"บิ๊กป้อม"ส่งใบลาประชุมสภาฯทุกครั้ง

20 ก.ย. 2567 13:22 11 views

ข่าว

‘เพื่อไทย’ไม่แผ่ว!‘ชูศักดิ์’เตรียมยื่นแก้‘พ.ร.ป.พรรคการเมือง’ปัดเอื้อ‘ทักษิณ’

20 ก.ย. 2567 13:19 10 views

ข่าว

'พิชัย' ชวนนักธุรกิจ-นักลงทุนสหราชอาณาจักร ลงทุน "อีอีซี-แลนด์บริดจ์"

20 ก.ย. 2567 11:36 61 views

ข่าว

ฤทธิ์พายุซูลิก ทำน้ำท่วมหลายพื้นที่ของ'มุกดาหาร' จนท.เร่งให้การช่วยเหลือ

20 ก.ย. 2567 11:34 60 views

ข่าว

'นายกฯ' เยี่ยมชมการระดมสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ย้ำอัพเกรดระบบแจ้งเตือนปชช.ได้ข้อมูลจริง

20 ก.ย. 2567 11:30 78 views

ข่าว

สตูลประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ 6 อำเภอ

20 ก.ย. 2567 10:48 65 views

ข่าว

'พายุซูลิก'อ่อนแรงเป็นดีเปรสชั่น นครพนมรอดท่วม น้ำโขงลดพ้นวิกฤต

20 ก.ย. 2567 10:13 77 views

ข่าว

อิสราเอลจับกุมพลเมือง ข้อหารับเงินอิหร่านวางแผนลอบสังหารเนทันยาฮู

20 ก.ย. 2567 10:10 54 views

ข่าว

ดับแล้ว23ราย! พายุบอริสถล่มอิตาลีทำน้ำท่วมหนัก

20 ก.ย. 2567 10:04 70 views

ข่าว

เพื่อไทยย่องเงียบ ยื่นแก้รธน.รายมาตรา 6 ประเด็นร้อน รื้อปมจริยธรรม- ลดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

20 ก.ย. 2567 10:01 100 views

ข่าว

ราคาทองวันนี้ 20 ก.ย. 67

20 ก.ย. 2567 09:50 89 views

ข่าว

ทบ. บูรณาการร่วมทุกภาคส่วนเปิดปฏิบัติการฟื้นฟูแม่สาย พร้อมเตรียมกำลังชุดช่วยเหลือประชาชนรับมือพายุ “ซูลิก”

20 ก.ย. 2567 09:34 84 views

ข่าว

ราคาน้ำมันวันนี้ 20 ก.ย. 67

20 ก.ย. 2567 09:19 91 views