วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567
10 ม.ค. 2567 14:43 | 6933 view
@thanthai
อาการออทิสติกเทียมเป็นอย่างไร ?
อาการออทิสติกเทียม หรือพฤติกรรมคล้ายออทิสติก เป็นอาการที่เด็กไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการเท่าที่ควร ทำให้พัฒนาการต่าง ๆ ล่าช้า ไม่เป็นไปตามวัย หากเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน โดยลักษณะอาการจะคล้ายกับ “โรคออทิสติก” ซึ่งจะแสดงอาการเด่นชัดโดยเฉพาะด้านสังคมและภาษา อาการของเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียมจะเริ่มสังเกตได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในช่วงอายุ 2 ปี
ลักษณะอาการ ออทิสติกเทียม เป็นอย่างไร ?
1.เรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร
2.พูดเป็นภาษาต่างดาว พูดซ้ำ ๆ พูดเลียนแบบโดยไม่เข้าใจความหมาย การเล่นไม่สมวัย
3.พฤติกรรมทำอะไรซ้ำ ๆ เป็นแบบแผน ไม่ยืดหยุ่น สนใจบางอย่างแบบหมกมุ่น
4.เรียกหับบ้างไม่หันบ้าง มองหน้าสบตาได้แต่ไม่นาน สนใจจอต่าง ๆ มากกว่าบุคคล
5.พูดซ้ำ พูดตาม พูดเหมือนทำนองเพลง ท่องเนื้อเพลง ตัวอักษรต่าง ๆ ได้แต่ไม่เข้าใจความหมาย
6.เล่นของเล่นในรูปแบบเดิม ๆ ชอบเล่นคนเดียว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวัยเดียวกัน
อาการแบบไหนคือใช่ออทิสติกเทียม Vs ออทิสติกแท้ ?
อาการของออทิสติกเทียมอาจมีบางอาการที่คล้ายกับออทิสติกแท้ และบางอาการในเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แต่เราสามารถสังเกต ‘อาการที่เข้าข่ายออทิสติกเทียม’ ได้ดังนี้
1.เด็กมีความสนใจกับเด็กวัยเดียวกันน้อย และเล่นกับผู้อื่นไม่เป็น เพราะไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดูหรือคนอื่น
2.เด็กจะไม่สบตาเวลาพูดคุย ไม่สนใจเวลาคนมาพูดด้วยตรง ๆ ไม่มีความสนใจร่วมกับผู้อื่น
3.เด็กไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ มักแสดงออกด้วยการโวยวาย และอาละวาดแทน
4.ไม่พูด พูดช้า พูดภาษาการ์ตูน หรือพูดตามโดยไม่เข้าใจความหมาย
5.เด็กจะติดอุปกรณ์สื่อสาร เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน โดยไม่สนใจกิจกรรมอื่น
6.เด็กมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเด็กวัยเดียวกัน เช่น ร้องไห้งอแงโดยไม่มีเหตุผล หรือมีพฤติกรรมรุนแรงเวลาไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
เลี้ยงลูกแบบไหนเสี่ยงออทิสติกเทียม ?
สิ่งที่ป้องกันได้ก่อนสายเกินแก้คือการเลี้ยงดูลูกในช่วง 3 ปีแรก ให้พี่พัฒนาการที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกลาว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะออทิสติกเทียม นั่นก็คือ
1.ใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงลูก เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต ให้เป็นผู้ช่วยดูแลลูกเพื่อให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ จะได้ไม่กวนเวลาทำงาน ลูกจึงได้รับการสื่อสารทางเดียว เล่นคนเดียว ไม่มีโอกาสได้ฝึกพูดตอบโต้กับใคร ทำให้ทักษะการสื่อสารไม่ถูกกระตุ้น
2.พ่อแม่รู้ใจ ทำให้ลูกแทบทุกอย่าง โดยไม่มีการฝึกให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตนเองเมื่อถึงวัย รู้ใจที่แค่ลูกมีสีหน้าอยากดื่มน้ำก็เอาน้ำให้ทันทีโดยที่ลูกไม่พูดบอก ทำให้เด็ก ๆ ไม่ได้รับการเรียนรู้
3.พ่อแม่ไม่ปล่อยให้ลูกทำอะไรหรือเรียนรู้ด้วยตัวเอง มักมีคำพูดติดปาก เช่น "ห้ามแตะนะ" "อย่าไปนะ" "ไม่ได้นะ" "เดี๋ยวแม่ทำให้" สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่นี้ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในอนาคต
4.พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาพูดคุยเล่นกับลูก เท่ากับการตัดโอกาสในการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและการสร้างปฏิสัมพันธ์ของเด็ก
5.พ่อแม่ไม่ค่อยให้ลูกออกไปเล่นนอกบ้าน ทำให้ลูกไม่รู้จักการอยู่ร่วมในสังคมกับเพื่อนวัยเดียวกัน
เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เสี่ยง ออทิสติกเทียม
1.งดสื่อหน้าจอทุกชนิดในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี หากอายุมากกว่า 2 ปี ให้ดูจอได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และควรเป็นการดูร่วมกันกับผู้ดูแล โดยแบ่งระยะเวลาการดูเป็นช่วง ๆ ทั้งนี้ต้องไม่ใช้จอเป็นเงื่อนไขให้เด็กทำอะไร เช่น ดูจอได้ระหว่างกินข้าว
เล่นกับเด็กให้มากขึ้น
2.พูดคุยโต้ตอบแบบ Two-way Communication พูดคุยกับเด็กและเว้นจังหวะให้เด็กโต้ตอบ
3.ฝึกให้เด็กมองหน้าสบตาเวลาพูดด้วย
4.การเล่นบทบาทสมมติ เช่น เป็นคุณครู คุณหมอ เชฟ เป็นต้น
5. ให้เด็กหมั่นออกกำลังกาย เช่น จักรยานขาไถ เล่นสนามเด็กเล่น
ฝึกกิจกรรมบำบัดเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ และปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม
6.เปิดโอกาสให้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน เพื่อเรียนรู้ที่จะเข้าสังคม
เพราะการเรียนลูกในช่วงแรกของเด็กสำคัญมาก การรักลูกเป็นสิ่งที่ดี แต่รักมากไปก็ทำร้ายลูก และการปล่อยปะละเลยเพื่อให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองมากเกินไปก็อาจกลายเป็นพ่อแม่รังแกฉัน นอกจากจะไม่กระตุ้นให้มีพัฒนาการตามวัยแล้วนั้น ยังทำให้ลูกมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ที่ช้ากว่าเดิม เด็กปกติ ก็อาจกลายเป็นเด็กไม่ปกติหรือ “ออทิสติกเทียม”ได้ ดังนั้นรักลูกต้องเลี้ยงให้ถูกทาง เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรงสมวัยของลูกรัก
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.growingsmart-ot.com
https://www.vimut.com/article/virtual-autism-symptoms
ข่าว
21 พ.ย. 2567 18:01 51 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 17:59 67 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 16:08 66 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 14:38 88 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 14:23 78 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 13:26 90 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 13:24 94 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 13:20 49 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 12:40 109 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 12:17 93 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:57 103 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:54 92 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 11:45 131 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:56 127 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:54 154 views
ข่าว
21 พ.ย. 2567 10:33 117 views