×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันพุธที่ 2 เมษายน 2568

?>

PMDD ภาวะอารมณ์สลายอย่างรุนแรง ก่อนมีประจำเดือน

 10 ม.ค. 2567 10:40 | 8374 view

 @thanthai

Facebook X Share

นอกจากอาการปวดท้องช่วงมีประจำเดือน อาการอารมณ์แปรปรวน 1 วัน 1000 อารมณ์ ก็คือเรื่องจริงที่ผู้หญิงหลาย ๆ คนกำลังเผชิญในทุกครั้ง ที่กำลังมีประจำเดือนบางคนอยากร้องไห้ตลอดเวลา ควบคุมอารมณ์ตนไม่ได้ มีการระเบิดอารมณ์ จนเกิดวลีในหมู่มวลมนุษย์แฟนว่า ถ้าเมื่อไรที่แฟนเป็นเมนส์ต้องเตรียมพร้อมรับมือดุจออกรบ แต่รู้ไหมว่าภาวะอารมณ์เหล่านี้อาจมีความรุนแรงและอันตราย วันนี้พามาทำความรู้จัก PMDD ภาวะอารมณ์สลายอย่างรุนแรงก่อนมีประจำเดือน

 

PMDD  คืออะไร ?

PMDD หรือชื่อเต็ม ๆ เรียกว่า (Premenstrual Dysphoric Disorder) เป็นชื่อเรียกกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน มักทำให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย สภาพจิตใจ และการควบคุมอารมณ์ โดยอาการมักเริ่มก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1–2 สัปดาห์ และอาการมักหายไปภายใน 2–3 วันหลังประจำเดือนมา

PMDD จัดเป็นอาการขั้นรุนแรงของ PMS (Premenstrual Syndrome) ซึ่ง PMS ก็คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน ซึ่งทำให้เกิดอาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม PMS พบได้มากถึงร้อยละ 85 ในผู้หญิงที่มีประจำเดือน ต้องแยกให้ออกถ้าเหวี่ยงวีน อารมณ์แปรปรวนในระดับที่ควบคุมได้ ถือว่าเป็น PMD ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นอาการนี้ แต่ถ้าข้ามขั้นมาที่ PMDD เมื่อไร ก็คือเริ่มอันตราย PMDD เป็นอาการที่พบได้น้อย โดยพบเพียง 3–8% ของผู้หญิงที่มีประจำเดือน เช่น หงุดหงิด เครียดอย่างรุนแรง ควบคุมอารมณ์ตนไม่ได้ มีการระเบิดอารมณ์ จนเกิดผลกระทบกับชีวิตประจำวันของผู้เกิดอาการและผู้คนรอบข้างเป็นอย่างมาก 

 

PMDD มีอาการอย่างไร ?

PMDD จะเกิดอาการทางร่างกายคล้ายกับ PMD ก็คือ ท้องอืด ปวดเกร็งท้อง ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง คัดตึงเต้านม อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหารหรือรู้สึกหิวมากกว่าปกติ 

แต่อาการที่เด่นชัดของ PMDD ก็คือการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งมักจะเกิดอาการดังนี้คือ

  • อารมณ์แปรปรวนรุนแรง
  • ร้องไห้ง่าย รู้สึกสิ้นหวัง และท้อแท้
  • วิตกกังวล หงุดหงิด โมโหร้าย ฉุนเฉียว
  • เบื่อหน่าย ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง เฉยชาต่อการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ
  • ไม่มีสมาธิ
  • มีความคิดฆ่าตัวตาย

 

โดยทั่วไป ผู้ที่เป็น PMDD มักมีอาการช่วง 6 วันก่อนมีประจำเดือน และอาการจะรุนแรงที่สุดประมาณ 2 วันก่อนมีประจำเดือน นอกจากนี้ ระยะเวลาของการเกิดอาการ PMDD อาจแตกต่างกันไป บางคนอาจมีอาการเพียงไม่กี่วันและดีขึ้น แต่บางคนอาจมีอาการยาวนานได้ถึง 2 สัปดาห์

 

สาเหตุของอาการ PMDD ?

สาเหตุของ PMDD ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีอาการ PMDD มักมีอาการของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล จึงสันนิษฐานว่า การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่และประจำเดือนอาจส่งผลให้สภาวะอารมณ์แปรปรวนมากกว่าปกติ จึงทำให้อาการของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลรุนแรงขึ้นนอกจากนั้นยังมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกว่า อาจมีปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดได้ดังนี้ 

1. พันธุกรรม คนที่เป็น PMS รุนแรง หรือ PMDD พบยีน ESR1 (Estrogen Receptor Alpha) ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพันธุกรรม

2. ความแปรปรวนของฮอร์โมนเพศหญิง คนที่เป็น PMS รุนแรงหรือ PMDD หากรังไข่หยุดทำงาน จะไม่มีการแปรปรวนของฮอร์โมน เช่น กินยาคุม โดนตัดรังไข่สองข้าง หรือได้รับยาหยุดการทำงานของรังไข่ อาการจะหายไป แต่เมื่อเสริมฮอร์โมนอาการทั้งหมดจะกลับคืนมา

3. อุปนิสัยและสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า คนยากจน การศึกษาน้อย สูบบุหรี่ เครียดง่าย เป็นมากกว่า

4. สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) การแปรปรวนของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ลดสารสื่อประสาทโอปิออยด์ (Opioid), กาบา (GABA), เบตาเอ็นดอร์ฟิน (Beta Endorphin) และเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งก่อให้เกิดความวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า 

5. มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจมาก่อน หรือเป็นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า

 

PMDD รักษาอย่างไร

ขั้นแรงต้องประเมินก่อนว่าอาการเข้าขั้นรุนแรงหรือไม่ หากอาการของ PMDD รุนแรงและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษา โดยแพทย์จะสอบถามอาการ ตรวจร่างกาย และตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยอาการและตัดสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)  ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคซึมเศร้า และโรคแพนิค 

 

การปรับพฤติกรรมบางอย่างอาจช่วยให้อาการ PMDD ดีขึ้นได้ เช่น

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและอาหารประเภทโปรตีนที่ไม่มีไขมัน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดมัน ปลา ธัญพืชขัดสีน้อย และถั่วชนิดต่าง ๆ 

-ควรลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มและหวานจัด และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละ 30 นาที จะช่วยปรับสภาวะอารมณ์ให้ดีขึ้น

-รู้จักจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น นั่งสมาธิ ฝึกการหายใจ เล่นโยคะ และพูดคุยกับเพื่อน 

หากอาการ PMDD ไม่ดีขึ้นหลังปรับพฤติกรรม การรับประทานยาอาจช่วยบรรเทาอาการได้ ซึ่งยาที่นำมาใช้รักษา PMDD เช่น

-ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ทั่วไป เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดเกร็งท้อง และคัดตึงเต้านม 

-ยาต้านเศร้ากลุ่มหลักที่ใช้ในการรักษา PMDD คือยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (SSRI) เช่น ยาไซตาโลแพรม (Citalopram) ยาเอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) และยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) สำหรับยาต้านเศร้าอื่น ๆ ที่นำมาใช้ เช่น ยาบิวสไปโรน (Buspirone) และยาดูล็อกซีทีน (Duloxetine) ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง ทั้งนี้ การใช้ยาต้านเศร้าควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

-ยาคุมกำเนิด ซึ่งช่วยยับยั้งการตกไข่ และอาจช่วยลดการเกิดอาการ PMDD 

 

อาการเหวี่ยงวีน หรืออารมณ์แปรปรวนช่วงเป็นประจำเดือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ สิ่งสำคัญคืออยากให้คนรอบข้างเข้าใจ แต่ที่สำคัญคือต้องหมั่นตรวจเช็คสภาพอารมณ์และร่างกายของตนเองว่าเข้าขั้นที่จะกระทบชีวิตของตนเองหรือไม่ เพราะหากมีอาการผิดปกติ การรีบปรึกษาแพทย์คือทางออกที่ดีที่สุด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.pobpad.com/

https://thestandard.co/pmdd-answer-how-servere-of-your-menstruation/

https://nursesoulciety.com/2021/12/26/syndrome-pms-pmdd-before-menstruation/

https://www.rama.mahidol.ac.th

 

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

DSI รับคดีนอมินีตึกถล่มเป็นคดีพิเศษ

2 เม.ย. 2568 15:49 30 views

ข่าว

รถไฟไฮสปีดไทย–จีน เสริมแกร่งโครงสร้าง มาตรฐานต้านแผ่นดินไหว

2 เม.ย. 2568 15:47 38 views

ข่าว

นายกฯเปิดทำเนียบรัฐบาล ต้อนรับนายกฯ เนปาลเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบ 66 ปี

2 เม.ย. 2568 13:56 69 views

ข่าว

ไทย-เนปาล ยกระดับความร่วมมือ ลงนาม 8 ฉบับ

2 เม.ย. 2568 13:56 43 views

ข่าว

‘สุริยะ’เผยไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 ‘โคราช-หนองคาย’ ได้มาตรฐานสากล

2 เม.ย. 2568 13:39 74 views

ข่าว

กรมโยธาฯ สรุปตรวจอาคารหลังแผ่นดินไหว 3,375 แห่ง ระงับใช้ 34 อาคาร

2 เม.ย. 2568 13:32 137 views

ข่าว

‘100 องค์กร’ฮึ่ม! ยื่นสอบฟันจริยธรรม‘นายกฯ’ ปมลุกลี้ลุกลนดันกม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ

2 เม.ย. 2568 13:32 84 views

ข่าว

กกร. ถกมาตรการภาษีสหรัฐฯ

2 เม.ย. 2568 13:20 53 views

ข่าว

“หัวใจนักสู้...ต้องได้รับการดูแล”

2 เม.ย. 2568 12:59 79 views

ข่าว

ไอทีดี-ซีอาร์อีซีนัมเบอร์เทน แถลงการณ์ฉบับ 2 ปมอาคาร สตง. ถล่มจากแผ่นดินไหว

2 เม.ย. 2568 12:53 91 views

ข่าว

‘ผบ.ทร.’สั่งเช็คด่วนโครงสร้าง‘ตึก บก.พลาธิการทหารเรือ’ ผู้รับเหมารายเดียวกับ‘ตึก สตง.’ถล่ม

2 เม.ย. 2568 12:21 70 views

ข่าว

'ภูมิธรรม'ย้ำ'นายกฯ'สั่งใครผิดฟันไม่เลี้ยง ปมตึกสตง.ถล่ม

2 เม.ย. 2568 12:06 76 views

ข่าว

ยังมีความหวัง! นายกฯรุดให้กำลังใจญาติเหยื่อตึก สตง.ถล่ม

2 เม.ย. 2568 11:37 69 views

ข่าว

น้ำท่วม'กรีซ'เสียหายหนัก กระแสน้ำพัดรถยนต์จมใต้กองโคลน

2 เม.ย. 2568 11:34 78 views

ข่าว

อ่วมหนัก! ยอดดับแผ่นดินไหวใน'เมียนมา'พุ่งแตะ 2,719 ราย

2 เม.ย. 2568 11:19 78 views

ข่าว

'กรมสมเด็จพระเทพฯ'ทรงปล่อยโค-พันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ

2 เม.ย. 2568 10:52 74 views